วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

https://www.youtube.com/watch?v=CxMpf3I4jQI


สัมภาษณ์ สุนี ไชยรส  ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต  เรื่องสิทธิของคนไทยพลัดถิ่น  และบทบาทนศ.วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม  ที่ไปช่วยเรื่องข้อมูลหลักฐานในการพิสูจน์สัญชาติ  เพื่อให้ได้รับสัญชาติไทย

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

มหกรรม ป+ป "ปฏิรูปเศรษฐกิจ : การแก้ไขปัญหาความยากจน แรงงาน และสวัสดิการส...





งานสัมมนา มหกรรม ป+ป ประชาชนปฏิรูปประเทศไทย “เดินหน้าปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง”

ห้องที่ 3 ปฏิรูปเศรษฐกิจ ณ ห้องประชุมออดิเทอเรี่ยม ชั้น 2 อาคาร 15
ประเด็นย่อย : "การแก้ไขปัญหาความยากจน แรงงาน และสวัสดิการสังคม"
นำเสนอโดย อ.สุนี ไชยรส

เมื่อวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559 

รับชมผ่านดาวเทียมระบบ C-Band ความถี่ 3480 H, Symbol Rate 30000 กล่องรับสัญญาณ PSI ช่อง 209, GMM Z ช่อง 252, BIG4 ช่อง 182 , Dynasat ช่อง 203, HiSattel ช่อง 186 , DTV ช่อง 183 และ LeoTech ช่อง 182 และ ชมออนไลน์ที่ www.rsutv.tv

รวมถึง Application ในระบบ Android และ iOS พิมพ์ RSU Wisdom TV

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

มหกรรม ป+ป "ปฏิรูปเศรษฐกิจ : การแก้ไขปัญหาความยากจน แรงงาน และสวัสดิการส...







งานสัมมนา มหกรรม ป+ป ประชาชนปฏิรูปประเทศไทย “เดินหน้าปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง”

ห้องที่ 3 ปฏิรูปเศรษฐกิจ ณ ห้องประชุมออดิเทอเรี่ยม ชั้น 2 อาคาร 15
ประเด็นย่อย : "การแก้ไขปัญหาความยากจน แรงงาน และสวัสดิการสังคม"
นำเสนอโดย อ.สุนี ไชยรส 

เมื่อวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559 

รับชมผ่านดาวเทียมระบบ C-Band ความถี่ 3480 H, Symbol Rate 30000 กล่องรับสัญญาณ PSI ช่อง 209, GMM Z ช่อง 252, BIG4 ช่อง 182 , Dynasat ช่อง 203, HiSattel ช่อง 186 , DTV ช่อง 183 และ LeoTech ช่อง 182 และ ชมออนไลน์ที่ www.rsutv.tv

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ทำไมไม่รับร่างรัฐธรรมมนูญ...สุนี ไชยรส


https://www.facebook.com/profile.php?id=1000008779444822




https://www.facebook.com/100000877944482/videos/1148238485215405/






https://www.facebook.com/100000877944482/videos/1148238485215405/



บางตอนในเวทีขีดเส้นใต้ประชามติ...ทางไทยรัฐทีวีคืน24กค59 สี่ทุ่มถึงเที่ยงคืน...ทัศนะส่วนตัว"ทำไมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ..".ปัญหาใหญ่คือสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ด้อยกว่า รธน.40และ50 ที่ปชช.สามารถใช้สิทธิของเขา ปกป้องตัวเขา และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐด้วยตนเอง รวมทั้งผ่านกลไกองค์กรอิสระ ศาลปกครอง รวมทั้งการเข้าชื่อเสนอกม.โดยปชช. เป็นร่างที่"เพิ่มอำนาจรัฐ ลดอำนาจประชาชน"....แต่ร่างนี้ไปบัญญัติหลวมๆในหน้าที่ของรัฐ และแนวนโยบายของรัฐ เป็นร่างที่"เพิ่มอำนาจรัฐ ลดอำนาจประชาชน" ตัวอย่าง สิทธิชุมชนที่ด้อยกว่าเดิมอย่างมาก ขณะที่กำลังมีความขัดแย้งจากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลทั่วประเทศ ที่มีผลกระทบต่อปชช.มากมาย..และไปตัดมาตราสำคัญ

ทำไมไม่รับร่างรัฐธรรมมนูญ...สุนี ไชยรส


https://www.facebook.com/profile.php?id=1000008779444822




https://www.facebook.com/100000877944482/videos/1148238485215405/






https://www.facebook.com/100000877944482/videos/1148238485215405/



บางตอนในเวทีขีดเส้นใต้ประชามติ...ทางไทยรัฐทีวีคืน24กค59 สี่ทุ่มถึงเที่ยงคืน...ทัศนะส่วนตัว"ทำไมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ..".ปัญหาใหญ่คือสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ด้อยกว่า รธน.40และ50 ที่ปชช.สามารถใช้สิทธิของเขา ปกป้องตัวเขา และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐด้วยตนเอง รวมทั้งผ่านกลไกองค์กรอิสระ ศาลปกครอง รวมทั้งการเข้าชื่อเสนอกม.โดยปชช. เป็นร่างที่"เพิ่มอำนาจรัฐ ลดอำนาจประชาชน"....แต่ร่างนี้ไปบัญญัติหลวมๆในหน้าที่ของรัฐ และแนวนโยบายของรัฐ เป็นร่างที่"เพิ่มอำนาจรัฐ ลดอำนาจประชาชน" ตัวอย่าง สิทธิชุมชนที่ด้อยกว่าเดิมอย่างมาก ขณะที่กำลังมีความขัดแย้งจากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลทั่วประเทศ ที่มีผลกระทบต่อปชช.มากมาย..และไปตัดมาตราสำคัญ


"สิทธิสตรี คือสิทธิประชาชน (๒)"
หนึ่งในข้อเสนอของขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove)คือแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐต้องผูกพันรัฐ และปชช.เข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ ตามรธน.๕๐ หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

ส่วนที่ ๑ บททั่วไป
"มาตรา ๗๕
บทบัญญัติในหมวดนี้เป็นเจตจำนงให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน
ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องชี้แจงต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่าจะดำเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้ง"
แต่ร่าง รธน.ฉบับประชามติ คือ "แนวนโยบายแห่งรัฐ" เป็นเพียงแนวทางในการบริหารราชการ ไม่ผูกพันกับรัฐและรัฐสภา ที่สำคัญคือประชาชนไม่สามารถเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายในหมวดนี้...
ดังนั้น สิทธิต่างๆจำนวนมากที่ถูกตัดออกจากหมวดสิทธิ ใน รธน.๕๐ ที่ปชช.ใช้สิทธิได้ด้วยตนเอง หรือผ่านกลไก/องค์กรอิสระแต่มาอยู่ใน"แนวนโยบายแห่งรัฐ ของร่าง รธน.ฉบับประชามติ" จึงไม่สามารถทดแทนสิิทธิที่ถูกตัดทอนไปได้
สิทธิผู้หญิงคือสิทธิประชาชน.(๑)
....ข้อเสนอของขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(วีมูฟ) ที่จัดเวที ๖ ครั้งทั่วประเทศช่วงร่างรธน. คือขอให้ยืนยันสิทธิตามรธน.๕๐ มาตรา ๔๐
"บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม....
(๖) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ" 
ทำไมต้องตัดทิ้ง??
และวีมูฟได้เสนอเพิ่มเติมคือ "ในคดีที่เกี่ยวกับการถูกล่วงละเมิดทาง?เพศ ความรุนแรงเพราะเหตุแห่งเพศ ตลอดจนป้องกันแก้ไขเยียวยาปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยกระบวนการพิจารณาคดีต้องให้ผู้ถูกกระทำผิดหรือจำเลยมีหน้าที่พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง"...
แต่ในร่าง รธน.ฉบับประชามติ มีเพียงในแนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา ๗๑ที่ไม่มีผลผูกพันใดๆต่อรัฐ และประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตัวเอง หรือเสนอต่อองค์กรอิสระ รวมทั้งไม่สามารถเสนอกฎหมายเข้าชื่อ ...
"รัฐพึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถด ารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และคุ้มครองป้องกันมิให้บุคคลดังกล่าว ถูกใช้ความรุนแรงหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม รวมตลอดทั้งให้การบำบัด ฟื้นฟูและเยียวยา ผู้ถูก
กระทำการดังกล่าว" ....

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

WISDOM FORUM : “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติกับอนาคตการปฏิรูปด้านแรงงาน”...





รายการ WISDOM FORUM : “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติกับอนาคตการปฏิรูปด้านแรงงาน” ตอนที่ 2
แขกรับเชิญ
1.สาวิทย์ แก้วหวาน
เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
2.อาจารย์ สุนี ไชยรส 
ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
3.รศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล 
รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


อ.สุนี ไชยรส เผยความคิดเห็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติกับอนาคตการปฎิรูป...

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สัมภาษณ์สดทางโทรศัพท์ สุนี ไชยรส - กำเนิดสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540 วันที่ ๑๕กค.๔๐





สุนี ไชยรส ในฐานะสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐  เล่าถึงที่มา องค์ประกอบ ส.ส.ร. และกระบวนการร่างที่เปิดกว้างในการถกเถียง และการรับฟังความเห็นของประชาชนอย่างกว้างขวาง ปชช.รู้สึกเป็นเจ้าของ และก่อกระแสธงเขียว กดดันให้รัฐสภาต้องเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมูญ จนมาเป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน ที่ได้รับการยอมรับสูงถึงทุกวันนี้ แม้จะมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง ถ้ามีโอกาสได้ปรับแก้ด้วยกระบวนการที่ดี ก็คงจะดีทีเดียว






วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ผู้หญิงกำหนดอนาคตประเทศไทย เสวนาหัวข้อที่ ๓ เสียงจากผู้หญิงทั่วประเทศ





วีมูฟ จัดเวทีระดับชาติครั้งที่ ๓ วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ  ตอนนี้เป็นตอนที่ ๔ เสียงจากผู้หญิงทุกเครือข่ายทั่วประเทศ รวมทั้งแรงงาน และนักศึกษา

ผู้หญิงกำหนดอนาคตประเทศไทย โดย วีมูฟ







ช่วงแรก ...นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท  เรืองรวี พิชัยกุล ดำเนินการโดย รศ.ดร.นงเยาว์

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ถกแถลงเปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1





งาน "ถกแถลงเปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1" จัดโดย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ International IDEA, โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) และ ขบวนผู้หญิงปฎิรูปประเทศไทย (WeMove) นำโดย รศ. มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อ. ไพโรจน์ พลเพชร จากสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน, ดร. กฤษฎา บุญชัย, อ. สุนี ไชยรส และ พรเพ็ญ คงเกียรติขจร โดยยกประเด็นว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของบุคคลและหน้าที่ของรัฐ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 ที่ สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ถ.แจ้งวัฒนะ จ.นนทบุรี

ภาพ ชาลินี ถิระศุภะ (Chalinee Thirasupa)
#‎ชาลินีถิระศุภะ #‎ChalineeThirasupa #‎NationPhoto






ถกแถลงเปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1





งาน "ถกแถลงเปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1" จัดโดย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ International IDEA, โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) และ ขบวนผู้หญิงปฎิรูปประเทศไทย (WeMove) นำโดย รศ. มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อ. ไพโรจน์ พลเพชร จากสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน, ดร. กฤษฎา บุญชัย, อ. สุนี ไชยรส และ พรเพ็ญ คงเกียรติขจร โดยยกประเด็นว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของบุคคลและหน้าที่ของรัฐ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 ที่ สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ถ.แจ้งวัฒนะ จ.นนทบุรี

ภาพ ชาลินี ถิระศุภะ (Chalinee Thirasupa)
#‎ชาลินีถิระศุภะ #‎ChalineeThirasupa #‎NationPhoto






ถกแถลงเปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1





งาน "ถกแถลงเปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1" จัดโดย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ International IDEA, โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) และ ขบวนผู้หญิงปฎิรูปประเทศไทย (WeMove) นำโดย รศ. มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อ. ไพโรจน์ พลเพชร จากสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน, ดร. กฤษฎา บุญชัย, อ. สุนี ไชยรส และ พรเพ็ญ คงเกียรติขจร โดยยกประเด็นว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของบุคคลและหน้าที่ของรัฐ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 ที่ สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ถ.แจ้งวัฒนะ จ.นนทบุรี

ภาพ ชาลินี ถิระศุภะ (Chalinee Thirasupa)
#‎ชาลินีถิระศุภะ #‎ChalineeThirasupa #‎NationPhoto






วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Wisdom Forum : “การสัมมนารับฟังข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .....

Wisdom Forum : “การสัมมนารับฟังข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .....

Wisdom Forum : “การสัมมนารับฟังข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .....

Wisdom Forum : “การสัมมนารับฟังข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .....

Spring Reports 21/06/59 : 11ปี ฆาตกรรมพระสุพจน์ ความอัปยศในกระบวนการยุติ...







คดีฆาตกรรมพระสุพจน์ สุวโจ พระอนุรักษ์ ซึ่งถูกคนร้ายใช้อาวุธมีคมรุมทำร้ายจนถึงแก่มรณภาพ ที่สวนเมตตาธรรม อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ คดีนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนพิเศษหรือดีเอสไอ.มาเกือบ10ปี แต่ในที่สุด ดีเอสไอ.ได้ยุติคดีด้วยเหตุผลว่า ไม่พบหลักฐานนำไปสู็การจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดีได้ ซึ่งล่าสุดครอบครัวพระสุพจน์ ได้ร้องขอความเป็นธรรมต่อกระทรวงยุติธรรม ขอให้ดีเอสไอ. รื้อคดีขึ้นมาใหม่ ติดตามได้ในรายการสปริงรีพอร์ต 


เสียงประชาชน เปลี่ยนประเทศไทย : แผ่นดินอีสาน : ปัญหาเก่า ความฝันใหม่ (23...









ติดตามขบวนการอีสานใหม่กับภารกิจเดินเท้าทางไกลเพื่อเยี่ยมเยี่ยนถามข่าว และประกาศสิทธิการกำหนดอนาคตแผ่นดินอีสาน เดรทางลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มองปัญหาป่าไม้ที่ดิน กับที่ทางสิทธิชุมชนในร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ ถอดรหัสการเดินเพื่อสิทธิชีวิตคนอีสานบนเส้นทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยกับนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ (ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ)  และนักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน (สุนี ไชยรส)

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สุนี ไชยรส : สิทธิสตรีและสิทธิความหลากหลายทางเพศสภาพ


คลิป....คุณสุนี ไชยรส : สิทธิสตรีและสิทธิความหลากหลายทางเพศสภาพ
เสวนาโต๊ะกลม "เหลียวหลัง แลหน้า พัฒนาการและข้อจำกัดในสิทธิด้านต่างๆ จาก รัฐธรรมนูญ 2540, 2550 และร่างรัฐธรรมนูญฉบับทำประชามติ 7 สิงหาคม 2559"


https://www.youtube.com/watch?v=APcFsTUUzAU
เวทีเสวนา "สิทธิเสรีภาพของพลเมืองในรัฐธรรมนูญ จากพฤษภา'35 ถึง พฤษภา'59: พัฒนาการและข้อจำกัดในสิทธิด้านต่างๆ จาก รัฐธรรมนูญ 2540, 2550 และร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559" วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม 2559 ณ โรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนิน






วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

คารวะรำลึกวีรชนพฤษภา...ปูทางสู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ๒๕๔๐ โดย สุนี ไชยรส(ไทยโพสต์๑๖ พค.๕๙)

คารวะรำลึกวีรชนพฤษภา...ปูทางสู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ๒๕๔๐ (ไทยโพสต์ ๑๖ พ.ค.๕๙
คารวะรำลึกวีรชนพฤษภา...ปูทางสู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ๒๕๔๐
สุนี ไชยรส อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
ในวาระ ๒๔ ปีแห่งการต่อสู้ของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม ๒๕๓๕ ขอสดุดีจิตใจกล้าหาญของวีรชน ผู้พิการและผู้สูญหายที่ยังไม่มีคำตอบจนทุกวันนี้ และขอคารวะรำลึกเจตนารมณ์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่มุ่งสู่การสร้างความเป็นธรรม และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน บนฐานสามประสาน นักศึกษา กรรมกร ชาวนา


ผลยิ่งใหญ่แห่งการเสียสละครั้งนี้สะสมพัฒนาร่วมกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรม กรณี ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ และ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ โดยได้รวมทุกฝ่ายในทุกการต่อสู้มาเข้าร่วมในเหตุการณ์พฤษภา ๒๕๓๕ ผลเป็นรูปธรรมคือ ทำให้เกิดกระแสผลักดันในสังคมไทยอย่างกว้างขวางทั่วประเทศให้เกิดการปฏิรูปการเมืองก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองของประชาชนไทย คือการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่มีตัวแทนจากทุกฝ่ายทั่วประเทศ กำหนดให้มีกระบวนการรับฟังความเห็นอย่างกว้างขวาง ทำให้รัฐธรรมนูญ๒๕๔๐ แม้จะไม่สมบูรณ์ทั้งหมด แต่ได้รับการยอมรับว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ที่ส่งเสริมคุ้มครองหลักการพื้นฐานที่สำคัญที่สุด คือ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพของบุคคลและสิทธิชุมชน และความเสมอภาค
รัฐธรรมนูญ๒๕๔๐ ประชาชนรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของตั้งแต่กระบวนการร่าง จนถึงการผลักดันให้รัฐสภามีมติยอมรับร่างรัฐธรรมนูญ
เมื่อเกิดการรัฐประหารอีกครั้งปี ๒๕๔๙ กระแสเติบโตเรื่องประชาธิปไตย แบบมีส่วนร่วมของประชาชนได้พัฒนาจนไม่อาจย้อนกลับไปเริ่มต้นแบบล้าหลังได้ ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ แม้จะมีปัญหาที่สำคัญถูกวิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเด็น เช่น โครงสร้างการเมืองและที่มาขององค์กรอิสระ แต่ในหมวดสิทธิเสรีภาพ ทั้งสิทธิบุคคลสิทธิชุมชน การกระจายอำนาจ และความเสมอภาค ไม่ได้ลิดรอนหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ กระทั่งมีการพัฒนาบางเรื่องดีขึ้น โดยมีการทำประชามติทั่วประเทศ ที่ให้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนกันมากทีเดียว
วันนี้สังคมไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายว่า ทุกฝ่ายจะสรุปบทเรียนจากอดีต ไม่แก้ปัญหาด้วยการใช้ความรุนแรง และเราจะฝ่าด่านหลังการรัฐประหารปี ๒๕๕๗ ให้ดีที่สุดได้อย่างไร เพื่อนำไปสู่การมีรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด ที่ทุกฝ่ายยอมรับ และเพื่อพัฒนาให้เกิดระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา
เมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญหลากหลายประเด็น ความพยายามที่จะทำให้สังคมไทยยอมรับร่างรัฐธรรมนูญผ่านการประชามติดูเป็นหนทางที่น่าจะดี แต่การมีประชามติเรื่องสำคัญอย่างยิ่งและซับซ้อน เพราะต้องเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบทั้งฉบับครั้งนี้ จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการทำความเข้าใจเนื้อหาทุกหมวด และในภาพรวม และเปิดโอกาสให้มีการถกเถียงในสังคมอย่างกว้างขวางที่สุด เพื่อทำให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่นเท่าที่จะทำได้ และมีโอกาสพัฒนาแก้ไขความขัดแย้งในอนาคต
แต่เป็นที่น่าเสียดาย เมื่อมีการประกาศใช้พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๙ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๙ เพื่อควบคุมดูแลการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ นั้น ปรากฏว่ากฎหมายฉบับนี้มีเนื้อหาขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.๒๕๕๗ อย่างชัดแจ้ง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๑ วรรคสองว่า
"ผู้ใดดําเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย"
ความผิดตามมาตรานี้มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ปรับไม่เกินสองแสนบาท และศาลอาจสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนดไม่เกินห้าปีด้วยก็ได้ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทําความผิดของคณะบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนดสิบปี
หากมีผู้ใดเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นใดก็จำเป็นที่จะต้องมีเสรีภาพในการเสนอข้อเท็จจริงและความคิดเห็นต่อสาธารณะ รวมทั้งเสรีภาพที่จะรณรงค์สนับสนุนหรือคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สาธารณชนได้เรียนรู้เข้าใจข้อดีข้อเสียของร่างรัฐธรรมนูญก่อนร่วมกันลงเสียงประชามติ แต่บทลงโทษที่รุนแรงเช่นนี้ไม่เอื้อประชาชนทุกกลุ่ม นอกจากหน่วยงานของรัฐ
สังคมไทยเริ่มจะเรียนรู้จากการร่างรัฐธรรมนูญหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเหตุการณ์ พฤษภาฯ ๒๕๓๕ ว่า รัฐธรรมนูญต้องไม่อยู่ในมือของนักกฎหมาย หรือใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผลให้เกิดการมี ส.ส.ร. และ ร่าง รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐
สังคมไทยต้องมองรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องผลักดันให้ดีที่สุด สร้างการเรียนรู้ และเปิดพื้นที่ของภาคประชาชนให้มาก อย่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ผลพวงจากพฤษภาประชาธรรม๒๕๓๕ สร้างผลสะเทือนจากที่รัฐธรรมนูญเคยกระจุกตัวอยู่กับวงเล็กๆ ของนักกฎหมายไม่กี่คนกลายเป็นผู้คนหันถกเถียงแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการตื่นตัวและใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นวัฒนธรรมใหม่ ส่วนเรื่องประชามตินั้น เป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าและทำให้ทุกฝ่ายต้องยอมรับจึงจะเป็นขั้นตอนแรกที่เป็นประโยชน์มากที่สุด และทำให้การประชามติมีความชอบธรรม

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

วิเคราะห์รัฐธรรมนูญประเด็นธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม : คุณศรีสุวรรณ ควรขจร





คลิปจากเวทีสภาประชาชนเพื่อการปฏิรูป ..ว่าด้วยสถาบันการเมืองและ องค์กรอิสระ โดย * บัณทูร เศรษฐศิโรตม์
https://www.facebook.com/prachamati.org/photos/a.444295472396428.1073741828.442692199223422/582632105229430/?type=3&theater

สุนี ไชยรส อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า เรากำลังจะร่างรัฐธรรมนูญไปสู่ระบอบประชาธิปไตย และการทำประชามติครั้งนี้มีนัยยะสำคัญ หากร่างรัฐธรรมนูญผ่านหรือไม่ผ่านล้วนส่งผลต่อการเมืองการปกครอง และสิทธิเสรีภาพของประชาชนไทย ดังนั้นเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานของช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประชาธิปไตย
ปัญหาแนวคิดและวิธีคิดของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ชัดเจนว่าคนร่างไม่เข้าใจเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และหลักการประชาธิปไตยที่แท้จริง หลักทั้งหมดมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการร่างรัฐธรรมนูญถ้าไม่ได้ผูกมิติเหล่านี้เอาไว้ทั้งฉบับก็เป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้มีช่องโหว่ เนื่องจากคนร่างไม่เข้าใจของกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม จึงลดอำนาจของประชาชนทุกกลุ่ม ถ้าสังเกตเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ สิทธิชุมนุม สวัสดิการสังคม หรือสุขภาพ เนื้อหาของเดิมส่วนที่ดีอยู่แล้ว คนร่างจะเปลี่ยนแปลงทำไม?
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีอคติต่อนักการเมืองอย่างมาก ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงออกแบบสถาบันการเมือง และองค์กรอื่นๆ อย่างเบี้ยวๆ บูดๆ เพราะความกังวลต่อนักการเมืองมากเกินไป ทั้งที่ความกังวลดังกล่าว สามารถป้องกันได้โดยให้อำนาจประชาชน จริงๆ แล้วไม่ใช่นักการเมือง   
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีอคติต่อนักการเมืองอย่างมาก ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงออกแบบสถาบันการเมือง และองค์กรอื่นๆ อย่างเบี้ยวๆ บูดๆ เพราะความกังวลต่อนักการเมืองมากเกินไป ทั้งที่ความกังวลดังกล่าว สามารถป้องกันได้โดยให้อำนาจประชาชน จริงๆ แล้วไม่ใช่นักการเมืองเท่านั้นที่ก่อปัญหาต่อสังคมไทย แต่รวมถึงระบบราชการ อิทธิพลของกลุ่มทุน ที่เข้ามาครอบงำเกือบทุกรัฐบาล ดังนั้นแค่การกีดกันนักการเมืองจึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา
เราเคยมีบทบาทในการปราบปรามทุจริต ซึ่งสิทธิชุมชนคือหลักการใหญ่ที่ช่วยเข้าไปปราบปรามการทุจริตได้ โดยยกเอาสิทธิชุมชนขึ้นมาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ จึงต้องให้อำนาจประชาชนถึงจะสามารถปราบโกงได้ ถ้าจะอ้างว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ปราบโกง แต่กลับไปลดอำนาจประชาชน ก็คงนึกภาพออกว่าทำไม่ได้เลยในความเป็นจริง
สำหรับบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สุนีชี้ว่า จะก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงอย่างมาก โดยเฉพาะการให้อำนาจ ส.ว.จัดการหลายอย่าง เช่น ทำหน้าที่ดูแลยุทธศาสตร์และปฏิรูปทั้งที่ควรจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลชุดใหม่ รวมทั้งอาจจะให้ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรีได้ด้วย การออกแบบ ส.ว. แบบนี้มีลักษณะพิกลพิการ โดยที่มาไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน
สุดท้าย สุนี กล่าวว่า ฐานคิดของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ มีความพยายามลดอำนาจของประชาชน แล้วไปเพิ่มอำนาจรัฐและระบบราชการ จึงทำให้การออกแบบพิกลพิการ เราไม่สามารถพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้เป็นเรื่องๆ แยกกันได้ แต่จำเป็นต้องดูทั้งฉบับ แต่ที่เราควรดูมากที่สุด คือ สิทธิเสรีภาพของประชาชน 
       ...
ส่วนหนึ่งจากงาน “เวทีสภาประชาชนเพื่อการปฏิรูป วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนลงประชามติ” วันที่ 7 เมษายน 2559 ที่อาคารมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559

วิเคราะห์รัฐธรรมนูญประเด็นระบบสวัสดิการ : คุณบุญยืน ศิริธรรม และคุณนิมิต...

วิเคราะห์รัฐธรรมนูญประเด็นสิทธิเสรีภาพและกระจายอำนาจ : คุณไพโรจน์ พลเพชร

วิเคราะห์รัฐธรรมนูญประเด็นสิทธิเสรีภาพและกระจายอำนาจ : คุณไพโรจน์ พลเพชร

วิเคราะห์รัฐธรรมนูญประเด็นสิทธิผู้ใช้แรงงาน : คุณสุนทรี เซ่งกิ่ง







จากเวทีสภาประชาชนเพื่อการปฏิรูป ๗ เมย ๕๙

สรุปเวทีวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับเตรียมลงประชามติ : คุณสุนี ไชยรส







จากเวทีสภาประชาชนเพื่อการปฏิรูป ๗ เมษายน ๒๕๕๙

วิเคราะห์รัฐธรรมนูญประเด็นความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ หญิงชายและเพศสภา...

วิเคราะห์รัฐธรรมนูญประเด็นระบบการเมือง รัฐบาล สส. สว. องค์การอิสระ : ดร....





คลิปจากเวทีสภาประชาชนเพื่อการปฏิรูป ..ว่าด้วยสถาบันการเมืองและ องค์กรอิสระ โดย * บัณทูร เศรษฐศิโรตม์

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559

สู้ไม่มีท้อแท้ จากเวทีขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย ๑๔ จังหวัดภาคใต้







อำลาอาลัย จากเวทีขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย ๑๔ จังหวัดภาคใต้ เพื่อเตรียมการเวทีระดับชาติครั้งที่สองที­่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๗ แล ๘ มีนา เฉลิมฉลองและรณรงค์วันสตรีสากล รวมทั้งข้อเสนอต่อร่างรัฐธรรมนูญ
  • หมวดหมู่



วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2559

เวทีขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove​) ๑๔จังหวัดภาคใต้





เวทีขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove​) ๑๔ จังหวัดภาคใต้  ศึกษา วิเคราะห์และเสนอต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับคุณมีชัยฯ  คลิปนี้เป็นการนำเสนอหลังจากเสวนา แยกกลุ่มย่อย  และอภิปรายกันอย่างมีชีวิตชีวา ประสานรูปธรรมอย่างเข้มข้น

เวทีขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove) ๑๔ จังหวัดภาคใต้..ช่วงเพลงหญิงกล้า





เพลงหญิงกล้า โดยวงภราดร วงของแรงงาน  เป็นเพลงที่ขบวนผู้หญิงนำมาร้อง/รำวง  สร้างพลังสามัคคีและปลุกเร้าใจมายาวนาน ตั้งแต่เวทีปักกิ่ง เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ  จนมาถึงวีมูฟ และทุกองค์กรเครือข่ายทั่วประเทศ  เวทีภาคใต้ ๑๔ จังหวัดก็นำมาร้องกันคึกคักตลอดงานสัมมนาที่เข้มข้นในการวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย ฤชุพันธ์  ๒ วัน ที่ จ.พัทลุง


เวทีขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove) ๑๔ จังหวัดภาคใต้..ช่วงเพลงหญิงกล้า





เพลงหญิงกล้า โดยวงภราดร วงของแรงงาน  เป็นเพลงที่ขบวนผู้หญิงนำมาร้อง/รำวง  สร้างพลังสามัคคีและปลุกเร้าใจมายาวนาน ตั้งแต่เวทีปักกิ่ง เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ  จนมาถึงวีมูฟ และทุกองค์กรเครือข่ายทั่วประเทศ  เวทีภาคใต้ ๑๔ จังหวัดก็นำมาร้องกันคึกคักตลอดงานสัมมนาที่เข้มข้นในการวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย ฤชุพันธ์  ๒ วัน ที่ จ.พัทลุง


ประกาศเจตนารมณ์ ๘ มีนา ๒๕๕๙ โดยขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove )





ประกาศเจตนารมณ์ ๘ มีนา ๒๕๕๙ โดยขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove  ) ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันแห่งการต่อสู้ของผู้หญิงทั่วโลก "คนทำงานหญิงต้องการการปฏิรูปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ รัฐธรรมนูญที่ดีต้องมีมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ"

            "๘ มีนาเป็นวันแห่งการแสดงพลังการต่อสู้ของแรงงานหญิงทั่วโลก เพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศ ซึ่งหมายความรวมถึงประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน  การต่อสู้เพื่อสิทธิแรงงานหญิง  ระบบสวัสดิการสังคม ที่คำนึงถึงทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกพื้นที่  การต่อสู้เพื่อความเสมอภาคในโอกาส และการมีสัดส่วนที่เท่าเทียมกันของหญิงชายในการตัดสินใจทุกมิติทุกระดับ  เป็นอุดมการณ์ที่ดีงามเพื่อทุกคน  ไม่ใช่ประเด็นการต่อสู้เฉพาะของผู้หญิงเท่านั้น  แต่เป็นภารกิจที่จำเป็นร่วมกันของนักประชาธิปไตย และนักสิทธิมนุษยชนทุกคนอย่างสำคัญด้วย....."


วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

เวทีระดับชาติครั้งที่ ๒ ของขบวนผู้หญฺิงปฏิรูปประเทศไทย(วีมูฟ)ที่ธรรมศาสตร์







.คลิปนี้เป็นเวทีเสวนาเรื่อง"ทิศทางและกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูป"    โดยคุณไพโรจน์ พลเพชร และคุณปาตีเมาะ    เปาะอิแตดาโอะ   คุณบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์  คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย  ดำเนินรายการโดยตุณราณี สหัสรังสี...ส่วนคลิิปตอนนี้เป็นตอนที่ ๓  การแลกเปลี่ยนอย่างเข้มข้นจากผู้เข้าร่วมหลังการเปิดประเด็นแล้ว

เวทีเสวนาเรื่อง"ทิศทางและกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูป" โดยขบวนผู้หญิงปฏิรูปป...





หลังจัดเวทีระดับชาติครั้งที่ ๑ ทันทีที่ร่างรัฐธรรมนูญแถลง ๒๙ มค.๕๙ ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(วีมูฟ)ได้จัดรับฟังความเห็นองค์กรเครือข่ายทั้ง ๔ ภาค และมาจัดรวมระดับชาติอีกครั้งในโอกาสวันสตรีสากล  ..คลิปนี้เป็นเวทีเสวนาเรื่อง"ทิศทางและกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูป"  ตอนที่ ๒  โดยคุณไพโรจน์ พลเพชร และคุณปาตีเมาะ    เปาะอิแตดาโอะ   ส่วนตอนที่ ๑โดยคุณบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์  คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย  ดำเนินรายการโดยตุณราณี สหัสรังสี

เวทีเสวนาเรื่อง"ทิศทางและกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูป" โดยขบวนผู้หญิงปฏิรูปป...





หลังจัดเวทีระดับชาติครั้งที่ ๑ ทันทีที่ร่างรัฐธรรมนูญแถลง ๒๙ มค.๕๙ ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(วีมูฟ)ได้จัดรับฟังความเห็นองค์กรเครือข่ายทั้ง ๔ ภาค และมาจัดรวมระดับชาติอีกครั้งในโอกาสวันสตรีสากล  ..คลิปนี้เป็นเวทีเสวนาเรื่อง"ทิศทางและกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูป"  ตอนที่ ๒  โดยคุณไพโรจน์ พลเพชร และคุณปาตีเมาะ    เปาะอิแตดาโอะ   ส่วนตอนที่ ๑โดยคุณบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์  คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย  ดำเนินรายการโดยตุณราณี สหัสรังสี

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

เวทีขบวนผู้หญฺิงปฏิรูปประเทศไทย(วีมูฟ)ที่ธรรมศาสตร์ เรื่องทิศทางและกลไกก...





หลังจัดเวทีระดับชาติครั้งที่ ๑ ทันทีที่ร่างรัฐธรรมนูญแถลง ๒๙ มค.๕๙ ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(วีมูฟ)ได้จัดรับฟังความเห็นองค์กรเครือข่ายทั้ง ๔ ภาค และมาจัดรวมระดับชาติอีกครั้งในโอกาสวันสตรีสากล  ..คลิปนี้เป็นเวทีเสวนาเรื่อง"ทิศทางและกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูป"  โดยคุณบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์  คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย และจะมีอีกคลิป  ตอนที่ ๒ของเวทีนี้  โดยคุณไพโรจน์ พลเพชร และคุณปาตีเมาะ    เปาะอิแตดาโอะ


เวทีขบวนผู้หญฺิงปฏิรูปประเทศไทย(วีมูฟ)ที่ธรรมศาสตร์ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ส.ว.





เวทีระดับชาติครั้งที่ ๒  ขบวนผู้หญฺิงปฏิรูปประเทศไทย(วีมูฟ)ที่ธรรมศาสตร์ เสวนาว่าด้วยสถาบันการเมืองและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ   ช่วงนี้ ดร.โคทม อารียา  และคุณเรืองรวี พิชัยกุล นำเสนอการวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับคุณมีชัย  ประเด็น การเลือกตั้งส.ส. ส.ว. และในมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ


วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

บทวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๙ เรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยองค์กรอิสระ และภาคประชาชน





บทวิจารณ์ร่างรธน.๒๕๕๙ ประเด็นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยองค์กรอิสระ และ ภาคประชาชน พร้อมบทวิจารณ์ที่มาของ ส.ว. โดย คุณสุนี ไชยรส ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธร­รม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผู้ประสานงานร่วมขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไ­ทย( WeMove) กลุ่มรักคลองด่าน ที่มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งในการต่อสู้เพื่อสิ­ทธิชุมชนคัดค้านโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลอ­งด่าน จ.สมุทรปราการ และมีการทุจริต จนเป็นบทเรียนสำคัญในการปราบปรามการทุจริต ทั้งนี้ ในการจัดเวทีระดับชาติของขบวนผู้หญิงปฏิรู­ปประเทศไทย(WeMove ) เรื่องรัฐธรรมนูญ การปฏิรูป และการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๗ กพ.๕๙

บทวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๙ เรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยองค์กรอิสระ และภาคประชาชน





บทวิจารณ์ร่างรธน.๒๕๕๙ ประเด็นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยองค์กรอิสระ และ ภาคประชาชน พร้อมบทวิจารณ์ที่มาของ ส.ว. โดย คุณสุนี ไชยรส ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธร­รม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผู้ประสานงานร่วมขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไ­ทย( WeMove) กลุ่มรักคลองด่าน ที่มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งในการต่อสู้เพื่อสิ­ทธิชุมชนคัดค้านโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลอ­งด่าน จ.สมุทรปราการ และมีการทุจริต จนเป็นบทเรียนสำคัญในการปราบปรามการทุจริต ทั้งนี้ ในการจัดเวทีระดับชาติของขบวนผู้หญิงปฏิรู­ปประเทศไทย(WeMove ) เรื่องรัฐธรรมนูญ การปฏิรูป และการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๗ กพ.๕๙

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

วันสตรีสากล ในมุมมองนักศึกษา ม.รังสิต





ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove  ) ร่วมกับโครงการสตรีและเยาวชนศุกษา ม.ธรรมศาสตร์ สมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย( ตพส.ไทย)  ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม  วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม  ม.รังสิต.ฯลฯ จัดเวทีระดับชาติ และ ๔ ภูมิภาคทั่วประเทศ เรื่อง"รัฐธรรมนูญที่ดี ต้องมีมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ"  และเวทีระดับชาติครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๗ มีนา ต่อด้วยการร่วมกับกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี และเครือข่ายแรงงานจำนวนกว่า ๖๐๐ คน  เดินรณรงค์และเฉลิมฉลองวันสตรีสากล ๘ มีนา จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มาที่หอประชุมศรีบูรพา ม.ธรรมศาสตร์ และมีกิจกรรมวัฒนธรรม และการประกาศเจตนารมณ์ ๘ มีนาร่วมกัน

        คลิปนี้เป็นมุมมองของนศ.หญิงสี่คน จากวิชาสตรีกับการพัฒนา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต ในการไปร่วมงาน ๘ มีนา ๕๙

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย





สิทธิเสรีภาพของบุคคล สิทธิชุมชน ความเสมอภาคในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และการมรส่วนร่วมตัดสินใจของประชาชนทุกเพศ­ในทุกมิติ ทุกระดับ ต้องเป็นหลักพื้นฐานสำคัญที่สุดของรัฐธรรม­นูญ

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย





สิทธิเสรีภาพของบุคคล สิทธิชุมชน ความเสมอภาคในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และการมรส่วนร่วมตัดสินใจของประชาชนทุกเพศ­ในทุกมิติ ทุกระดับ ต้องเป็นหลักพื้นฐานสำคัญที่สุดของรัฐธรรม­นูญ...คลิปการรณรงค์ของวีมูฟ

วาระประเทศไทย : ผู้หญิงกับความเสมอภาคในรัฐธรรมนูญ (7 มี.ค. 59)

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

CEDAW - Principle of Non Discrimination (ภาษาไทย)



อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อ­สตรีในทุกรูปแบบหรืออนุสัญญา CEDAW เป็นอนุสัญญาเพื่อสิทธิมนุษยชนระหว่างประเ­ทศที่มุ่งเน้นสิทธิสตรี รวมถึงประเด็นต่าง ๆ ด้านสิทธิมนุษยชนของสตรีทั่วโลก อนุสัญญานี้ ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 ประการ ในวิดิทัศน์นี้ จะกล่าวถึงหลักการของการไม่เลือกปฏิบัติ

100 ปี วันสตรีสากล ตอนที่ 1







100 ปี วันสตรีสากล 8 มีนา บันทึกการเดินทางเพื่อความเสมอภาคของผู้หญ­ิง
วันสตรีสากล คือวันแห่งการรวมพลังต่อสู้: เรียกร้องระบบสามแปด
สิทธิประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม และคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของคนทำงานหญิง

100 ปี วันสตรีสากล ตอนที่ 2







การขับเคลื่อน 8 มีนา ต่อเนื่องมา 100 ปี พิสูจน์ว่า พลังการต่อสู้ของผู้หญิงก้าวรุดหน้ามาเป็น ลำดับ เคียงบ่าเคียงไหล่ชายในฐานะพลังประชาธิปไต­ย และ พลังขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชน การต่อสู้เพื่อความเสมอภาคหญิงชายและสิทธิ­หญิงทำงาน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน หมายความถึงค่าตอบแทนที่เป็นธรรม สวัสดิการสังคม และสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองการตัดสิ­นใจ คือการต่อสู้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนขอ­งทุกคน มิใช่เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น "สิทธิผู้หญิง" คือสิทธิความเสมอภาค คือสิทธิประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน
  • หมวดหมู่


รายงานสด ข้อเสนอวันสตรีสากล 2559

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

WeMoveจัดเสวนาในหัวข้อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะปฎิรูปประเทศไทยได้จริงหรือ

WeMoveจัดเสวนาในหัวข้อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะปฎิรูปประเทศไทยได้จริงหรือ

WISDOM TALK ขบวนการผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย ช่วงที่1 07/03/2016





รู้จักแนวคิดและการขับเคลื่อนของวีมูฟ ขบวนผุ้หญิงเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (ช่วงที่๑)





วคิด

WISDOM TALK ขบวนการผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย ช่วงที่3 07/03/2016

WISDOM TALK ขบวนการผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย ช่วงที่2 07/03/2016











รู้จักแนวคิดและงานขับเคลื่อนของขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove )

Wisdom Talk : บทบาทของสตรีกับการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศ





รายการ Wisdom Talk : บทบาทของสตรีกับการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปป­ระเทศ
แขกรับเชิญ : 
- สุนี ไชยรส ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธร­รม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
- นิไลมล มนตรีกานนท์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี

Wisdom Talk : บทบาทของสตรีกับการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศ





รายการ Wisdom Talk : บทบาทของสตรีกับการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปป­ระเทศ
แขกรับเชิญ : 
- สุนี ไชยรส ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธร­รม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
- นิไลมล มนตรีกานนท์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี

Wisdom Talk : บทบาทของสตรีกับการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศ





รายการ Wisdom Talk : บทบาทของสตรีกับการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปป­ระเทศ
แขกรับเชิญ : 
- สุนี ไชยรส ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธร­รม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
- นิไลมล มนตรีกานนท์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี

WeMoveจัดเสวนาในหัวข้อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะปฎิรูปประเทศไทยได้จริงหรือ





ขบวนผู้หญิงปฎิรูปประเทศไทย (WeMove) ได้จัดการเสวนาในหัวข้อ “รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะปฎิรูปประเทศไทยได้จ­ริงหรือ” โดยในช่วงเช้ามีผู้ร่วมเสวนาคือ ดร.โคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธีมห­าวิทยาลัยมหิดล,คุณเรืองรวี พิชัยกุลเกตุผล ผู้จัดการโครงการอาวุโสมูลนิธิเอเชีย,คุณด­าวัลย์ จันทรหัสดี กลุ่มรักคลองด่านและคุณสุนี ไชยรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและคว­ามเป็นธรรมวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ดำเนินรายการโดย ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย ที่ ห้องประชุมประกอบหุตะสิงห์ อาคารเอนกประสงค์ 1 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

Wisdom Talk ขบวนการผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย ช่วงที่3 04/03/2016







ต้อนรับวันสตรีสากล ๘ มีนา ๒๕๕๙ ผ่านเรื่องราวการขับเคลื่อนของขบวนผู้หญิงเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (WeMove ) โดย คุณสุนี ไชยรส ผู้ประสานงาน และ กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี คุณนิไลมล มนตรีกานนท์ ประธานกลุม ...ช่วงที่ ๓

Wisdom Talk ขบวนการผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย ช่วงที่2 04/03/2016







ต้อนรับวันสตรีสากล ๘ มีนา ๒๕๕๙ ผ่านเรื่องราวการขับเคลื่อนของขบวนผู้หญิงเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (WeMove ) โดย คุณสุนี ไชยรส ผู้ประสานงาน และ กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี คุณนิไลมล มนตรีกานนท์ ประธานกลุม ...ช่วงที่ ๒

Wisdom Talk ขบวนการผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย ช่วงที่1 04/03/2016





ต้อนรับวันสตรีสากล ๘ มีนา ๒๕๕๙ ผ่านเรื่องราวการขับเคลื่อนของขบวนผู้หญิงเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (WeMove ) โดย คุณสุนี ไชยรส ผู้ประสานงาน และ กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี คุณนิไลมล มนตรีกานนท์ ประธานกลุม ...ช่วงที่ ๑

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บทความโดย สุนี ไชยรส เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญ กับมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ

สุนี  ไชยรส

ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
ผู้ประสานงานร่วมขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย WeMove

ร่างรัฐธรรมนูญ กับมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ
ขบวนผู้หญิงในหลากชื่อ หลายองค์กร ขับเคลื่อนเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศในรัฐธรรมนูญ หลายฉบับมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีบทเรียนที่ชัดเจนว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ส่งผลต่อการรื้อ ปรับปรุง กฎหมายเก่า กฎ ระเบียบ กระทั่งนโยบายของรัฐ รวมทั้งการออกกฎหมายใหม่ที่เอื้อต่อสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนและความเสมอภาคระหว่างเพศยิ่งขึ้น โดยมีความเชื่อมโยงควบคู่และส่งผลต่อกันระหว่าง ความเสมอภาคระหว่างเพศ ประชาธิปไตย กับสิทธิมนุษยชน
หลังจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๑๗ ได้ปรากฎข้อความสำคัญที่ปูพื้นฐานเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศในรัฐธรรมนูญไทยคือ “หญิงและชาย มีสิทธิเท่าเทียมกัน” และมีบทเฉพาะกาลให้มีการแก้ไขกฎหมายที่ขัดต่อมาตรานี้ภายใน ๒ ปี ซึ่งส่งผลให้ผู้หญิง สามารถดำรงตำแหน่งที่ผู้หญิงเคยถูกปิดกั้น เช่น เป็นอัยการ และผู้พิพากษา รวมทั้งความเสมอภาคของหญิงมีสามีหลายประเด็น
การแก้ไขกฎหมายไม่ได้จบลงภายในสองปีตามที่กำหนด เมื่อมีการล้อมปราบในเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ฉีกรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๑๗ ทำให้ประเด็นนี้หยุดชะงักลงไปช่วงหนึ่ง ต่อมามีประชาธิปไตยสลับกับ เผด็จการ แต่ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดที่บัญญัติว่า “หญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกัน”อีก จนมาถึงหลังเหตุการณ์ พฤษภา ปี ๒๕๓๕ ที่มีกระแสการปฏิรูปการเมืองอย่างเข้มแข็งจนเกิดรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ที่ได้รับการกล่าว ขวัญ ว่าเป็นฉบับประชาชนในด้านสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค
รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ นำข้อความนี้กลับมาอีกในมาตรา ๓๐ และขยายความให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมกับ ห้ามการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่าง ๑๑ ประการ ี่มีคำว่า”เพศ สถานะของบุคคล” ..รวมอยู่ด้วย ดยมีวรรค ๔ เป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ : “มาตรการพิเศษเพื่อส่งเสริมให้บุคคลสามารถ ใช้สิทธิได้เสมอบุคคลอื่น ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ” และรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ได้เพิ่ม “ความพิการ”ในเหตุแห่ง ความแตกต่าง
ในสถานการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อของสังคมไทยในการก้าวผ่านไปสู่ประชาธิปไตย และต้องการรัฐธรรมนูญอัน เป็นกฎหมายสูงสุด เป็นหลักประกันในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน องค์กรผู้หญิง จำนวนมากได้รวมตัวกันเป็นขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove) ขับเคลื่อนร่วมกับองค์กรภาคประชา สังคมวิเคราะห์ และเกาะติดการร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับนายบวรศักดิ์ฯ และฉบับปัจจุบันของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ และรับฟังความคิดเห็นจัดทำข้อเสนอแนะในสิทมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ ซึ่งยืนยันว่า ต้องให้ดีกว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับ ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐
ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove) ได้จัดเวทีระดับชาติจากทั่วประเทศในวันที่ ๓๐ และ ๓๑ มกราคม ๕๙ ที่รัฐสภา หลังการแถลงร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ต่อมาจัดเวทีภาค เหนือและภาคอีสานในเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้มีข้อเสนอเบื้องต้นต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และสาธารณะ ในประเด็นหลักดังนี้
๑) ในบททั่วไป มาตรา ๔ :“ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน”นั้น เสนอให้ใช้ : “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง” ตามรธน.ฯ๔๐ และ ๕๐ ซึ่งประชาชนและสถาบันต่างๆในสังคมไทยได้มีกระบวนการเรียนรู้ความหมายของการเคารพศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ จนมีพัฒนาการที่หยั่งรากลึกเป็นจิตวิญญาณ เป็นวัฒนธรรม และได้ดูแลบุคคลทุกกลุ่ม ที่อยู่ในประเทศไทยโดยไม่จำกัดเฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทย
๒) การมีบทบัญญัติถึงความผูกพันของประเทศไทยต่อกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทย เป็นภาคี แต่ในร่างฉบับนี้ไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว
๓) ต้องมีหลักประกันในการคุ้มครองการใช้สิทธิและเสรีภาพ รวมทั้งในการตรากฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพ
ในมาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖ ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังมีความไม่ชัดเจน ควรนำมาตรา ๒๘ เดิมมาบัญญัติเพิ่มเติม
มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศิลธรรมอันดีของประชาชน
บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้โดยตรง หากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรอไว้แล้ว ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธิตามหมวดนี้”
๓.๒) ร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้นำเรื่องสิทธิเสรีภาพของบุคคล และ ชุมชน ไปบัญญัติไว้ในหมวด ๕ “หน้าที่ของรัฐ” แต่ประชาชนต้องการให้บัญญัติเป็นสิทธิเสรีภาพ เพื่อให้เกิดความคุ้มครองและมีผลผูกพันโดยตรง ต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมถึงองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ในการตรากฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง และเป็นหลักประกันให้ประชาชนสามารถ อ้างสิทธิต่างๆ นี้ให้เกิดการปฏิบัติตามสิทธิ
ดังนั้น จึงควรที่จะนำบทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ มาอยู่ใน หมวดสิทธิเสรีภาพ และปรับปรุงเนื้อหาให้ดีกว่าเดิม โดยอาจบัญญัติควบคู่เป็นหน้าที่ของรัฐ หรือแนวนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐด้วย
๓.๓) ในหมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา ๖๐ ที่บัญญัติว่า... “เป็นแนวทางให้รัฐดำเนินการ ตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฟ้องรัฐ” มีผลให้หมวดแนว นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐไม่มีนัยสำคัญใดๆที่ผูกพันรัฐ จึงขอเสนอให้ใช้ตามรัฐธรรมนูญเดิม :
มาตรา ๘๕...ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องชี้แจง ต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่า จะดำเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐาน แห่งรัฐ และต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค เสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้ง”
๔) ประเด็นห่วงใยในมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ และความเสมอภาคด้านอื่น ซึ่งเป็นหลักการที่ปรากฏ อยู่ในรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ และปี ๒๕๕๐ และได้ขาดหายไป เช่น ๔.๑)ความเสมอภาคและการไม่ถูกเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในมาตรา ๒๗ ซึ่งตัดทอนเหตุแห่งความแตกต่าง ๑๒ ประการในมาตรา ๓๐ เดิม ซึ่งเป็นมาตราหลักที่สำคัญเรื่องความเสมอภาคของคนหลากหลายกลุ่ม จึงควรที่จะ บัญญัติตามเดิม และควรเพิ่ม“การคุ้มครองสิทธิของบุคคลทุกเพศสภาพ” นอกจากนี้ มาตรการที่รัฐกำหนด ขึ้นเพื่อ ขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น จะมีความหมายกว้างไปถึง ทุกกลุ่มมากกว่าการกำหนดเฉพาะเจาะจง “...ให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้ด้อยโอกาส ...” จึงขอเสนอดังนี้:
“บุคคลย่อมเสมอกันตามกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน หญิง ชาย และบุคคลทุกเพศสภาพ มีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ภาษา เพศ เพศสภาพ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม”

๔.๘) หลักความเสมอภาคระหว่างเพศซึ่งเป็นการจัดสรรปันส่วนอำนาจเพื่อความเสมอภาค ต่อ เจ้าของอำนาจอธิปไตย ในฐานะที่ผู้หญิงมีจำนวนมากกว่าผู้ชายถึง ๒ ล้านคน ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) ได้เสนอให้มีสัดส่วนการมีส่วนร่วมของผู้หญิงอย่างเท่าเทียมกันในการตัดสินใจในทุกมิติทุกระดับมาอย่าง ต่อเนื่อง และให้บัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งในการส่งผู้สมัครบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง การกำหนด ผู้บริหารในองค์กรปกครองท้องถิ่น การสรรหากรรมการองค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรต่างๆ คณะกรรมการระดับต่างๆของรัฐ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามมาตรา ๘๗(เดิม)ในรัฐธรรมนูญ๒๕๕๐ ี่ให้มีส่วนร่วมตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นการตัดสินใจทางการเมือง การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ฯลฯ โดยบัญญัติว่า “การมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรานี้ต้องคำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน”

นอกจากนี้ การจัดสรรงบประมาณที่เป็นเครื่องมือสำคัญนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรและบริหารงานภาครัฐ อย่างเสมอภาคและเป็นธรรมในสังคม ต้องคำนึงถึงหลักความเสมอภาคระหว่างเพศ( Gender Budgeting )และความ เสมอภาคด้านอื่น อันเป็นหลักการสากลที่มีการดำเนินการในหลายประเทศ เพื่อสร้างความสมดุลและเป็นการป้องกัน ปัญหาความไม่เท่าเทียม
บทสรุป ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) มุ่งหวังให้เกิดตระหนักร่วมกันในสังคมไทย ถึงความสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคระหว่างเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกมิติทุกระดับ และการขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็น ธรรมในสังคม เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ และทิศทางการปฏิรูปประเทศเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชนต่อไป
นสพ.ไทยโพสต์ ๑๗ กุมภาพันธ์๒๕๕๙