วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คปก.จัดทำ“ข้อเสนอต่อร่างรัฐธรรมนูญฯฉบับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

20 พ.ค.58 – คปก.จัดทำ“ข้อเสนอต่อร่างรัฐธรรมนูญฯฉบับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อ 14 พฤษภาคม 2558 โดยคปก.ยืนยันความเห็นเดิมที่เสนอไปวันที่ 24 ธ.ค.57 และเพิ่มเติมอีกหลายประเด็นสำคัญจากร่างฯล่าสุด ..ประเด็นสำคัญ เช่น
๑)การให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลตาม นอกจากจะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแล้ว จะต้องได้รับความคุ้มครองตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนด้วย (ร่างมาตรา 4)
๒)ควรบัญญัติความเป็นพหุเชื้อชาติของสังคมประเทศไทยไว้ในว่า “ปวงชนชาวไทยที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีความเป็นพหุเชื้อชาติ ไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือ ศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน” (ร่างมาตรา 5)
๓)ควรบัญญัติคำว่า “สิทธิเสรีภาพของบุคคล” เท่านั้น ไม่แยกเป็นสิทธิมนุษยชนและ “สิทธิพลเมือง” อันเป็นการจำกัดสิทธิคุ้มครองเฉพาะพลเมืองที่เป็นประชาชนชาวไทยเท่านั้น โดยคปก.มีความเห็นว่า หากเรื่องใดที่รัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ที่จะให้สิทธิเฉพาะบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้นก็ควรบัญญัติการให้สิทธิดังกล่าวโดยชัดแจ้งเป็นเรื่องๆ ไป เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องบัญญัติตามร่างมาตรา 45
๔)สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย นอกจากการบัญญัติให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพต่อการทรมาน การทารุณกรรม หรือ การลงโทษด้วยวิธีโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมแล้ว คปก.มีความเห็นว่า ต้องเพิ่มความคุ้มครองกรณีการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือการทำให้บุคคลสูญหายโดยถูกบังคับด้วย (ร่างมาตรา 36 วรรคสอง)


๕)การให้ความคุ้มครองสิทธิชุมชน ควรบัญญัติเพิ่มให้ครอบคลุมถึงชุมชนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมด้วย (ร่างมาตรา 63)
๖)คปก.เสนอให้มีการกำหนดหลักการเกี่ยวกับการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำนโยบายหรือแผนในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยไม่จำกัดเฉพาะกรณีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน “อย่างรุนแรง” (ร่างมาตรา 64 วรรคสาม)
๗)คปก.เสนอให้ตัดบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสภาตรวจสอบภาคพลเมืองในแต่ละจังหวัดออก เนื่องจากมีความซ้ำซ้อนกับสมัชชาพลเมืองในเรื่องที่มาและหน้าที่ (ร่างมาตรา71) นอกจากนี้ยังเสนอให้ตัดบทบัญญัติกฎหมายที่จัดให้มีสมัชชาคุณธรรมออก เนื่องจากในปัจจุบันมีองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการตรวจสอบคุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐอยู่แล้ว จึงควรให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เป็นกลไกปกติเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตรวจสอบดังกล่าว (ร่างมาตรา74 และร่างมาตรา 77) และคปก.ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งองค์กรบริหารการพัฒนาภาค เนื่องจากเป็นการเพิ่มบทบาทให้แก่ราชการส่วนกลางในภูมิภาคมากเกินไป ซึ่งขัดกับหลักการกระจายอำนาจที่ต้องเพิ่มอำนาจให้แก่ท้องถิ่นชุมชน (ร่างมาตรา 284 (5) )
๘)การมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกมิติ ทุกระดับ รวมถึงในองค์กรตามรัฐธรรมนูญและการดำเนินกิจกรรมใดๆ ในทางการเมือง ต้องคำนึงถึงสัดส่วนหญิงและชายให้ใกล้เคียงกัน (ร่างมาตรา 62 วรรคสาม ร่างมาตรา 76 ร่างมาตรา 212 วรรคหนึ่ง ร่างมาตรา 295)
๙)การส่งเสริมระบบเศรษฐกิจของรัฐ รัฐจะต้องมีมาตรการเกี่ยวกับการลงทุนของต่างประเทศและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างการค้าที่เป็นธรรมและป้องกันการทุจริต (ร่างมาตรา 88)
๑๐)การกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ควรให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกเขตเลือกตั้งนั้นโดยไม่ยึดตามฐานข้อมูลทางทะเบียนราษฎร์ (ร่างมาตรา 108 (3) )
๑๑)องค์กรบริหารท้องถิ่นทุกรูปแบบจะต้องมีที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น โดยคณะผู้บริหารท้องถิ่นต้องมีสัดส่วนหญิงชายเท่าเทียมกัน (ร่างมาตรา 212 วรรคหนึ่ง)
๑๒)ควรบัญญัติเรื่องหลักการกระจายอำนาจให้ชัดเจนและเหมาะสมว่า “การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น” (ร่างมาตรา 82 วรรคท้าย)
๑๓)การกำหนดที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอื่นนอกจากสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญมีมุมมองที่หลากหลายในทุกมิติ และจะต้องเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการสรรหาตุลาการด้วย เพื่อให้ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีความยึดโยงกับประชาชน
๑๔) เสนอยืนยันให้ศาลอุทธรณ์เป็นศาลพิจารณา (Trial Court) โดยให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และไม่เห็นด้วยกับการบัญญัติให้มี “ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ”
เสนอให้มีการปฏิรูปด้านแรงงานไทยโดยแยกศาลแรงงานออกจากศาลยุติธรรม และให้จัดทำประมวลกฎหมายแรงงาน (ร่างมาตรา 289)
๑๕)คปก.ไม่เห็นด้วยกับกรณีการควบรวมผู้ตรวจการแผ่นดินและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าเป็นองค์กรเดียวกัน เนื่องจากองค์กรทั้งสองมีอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน การควบรวมดังกล่าวอาจส่งผลให้ประเทศไทยประสบปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
๑๖)ให้มีการปฏิรูปด้านกระบวนการยุติธรรมโดยปรับปรุงระบบงานสอบสวนให้มีความเป็นอิสระจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และในคดีอาญาประชาชนทุกคนมีสิทธิโดยชอบธรรมในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (มาตรา 282 (2) )
๑๗)หลักในการดำเนินคดีอาญาควรให้พนักงานอัยการมีบทบาทและหน้าที่หลักในการดำเนินคดีทั้งในชั้นเจ้าพนักงาน ชั้นพิจารณา รวมทั้งอำนาจในการสั่งคดี โดยมีเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้ช่วยในการดำเนินคดี
ดาวน์โหลด : ความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง ข้อเสนอต่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ตารางเปรียบเทียบการแก้ไขเพิ่มร่างรัฐธรรมนูญฉบับกมธ.ยกร่างฯ
คลิปการเสวนาแลกเปลี่ยนเรื่องเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กเล็กถ้วนหน้า สวัสดิการพื้นฐานเพื่อการทรัพยากร

มนุษย์" กับ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจ ประเทศแอฟริกาใต้ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่

ยูนิเซฟเชิญมา วันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2558 ณ ห้องประชุมจั๊ค อัมโยต์ ชั้น 4 อาคารวิศิษฐ์ ประจวบ

เหมาะ สถาบันวิจัยนโยบายสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โดยคณะ

กรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม ร่วมกับคณะทำงานวาระทางสังคม 

สถาบันวิจัยนโยบายสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายภาคประชาสังคม คณะทำงานด้านเด็ก 

และองค์การยูนิเซฟ    

http://livestream.com/lrct/events/2

713312/videos/87749849