วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

คปก.กับปฏิรูปกฎหมายประกันสังคมให้เป็นอิสระ

ในระบบประกันสังคม เป็นพื้นฐานสำคัญของระบบสวัสดิการที่มีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากและเป็นระบบกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งแนวโน้มจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการขยายความคุ้มครองไปสู่แรงงานนอกระบบ และจากการเคลื่อนย้ายแรงงานเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 
การบริหารประกันสังคมของสำนักงานประกันสังคมภายใต้สภาวะและโครงสร้างที่เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงแรงงาน ทำให้ขาดความอิสระและความคล่องตัว ไม่สอดคล้องกับสภาวะจ้างงานที่มีความหลากหลายและซับซ้อน 
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “แนวทางการปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อเร็วๆ นี้ โดยคปก.เสนอให้มีการปฏิรูปสถานะและโครงสร้างการบริหารงานของสำนักงานประกันสังคมให้มีความเป็นอิสระโดยไม่อยู่ภายใต้ระบบราชการ
การกำหนดให้สำนักงานประกันสังคมไม่อยู่ภายใต้ระบบราชการจะช่วยให้เกิดการตรวจสอบการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม อันจะส่งผลให้การดำเนินการและการบริหารงานของสำนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักความโปร่งใส-ตรวจสอบได้ ตลอดจนช่วยให้ผู้ทำงานทุกภาคส่วนได้รับสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงหลักประกันสังคมได้อย่างเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น http://www.lrct.go.th/th/?p=16094
ดาวน์โหลด : ความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง แนวทางการปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยการประกัน




สังคม http://www.lrct.go.th/th/?wpfb_dl=1655





คปก.เสนอ ่ร่างประมวลกฎหมายแรงงาน

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000877944482https://www.facebook.com/profile.php?id=100000877944482
คปก.เดินหน้ายกระดับกม.แรงงานไทยสู่สากล แนะต้องมีประมวลกฎหมายแรงงาน พร้อมจัดทำร่างประมวลกฎหมายแรงงาน และร่าง พ.ร.บ.การบริหารแรงงาน พ.ศ....เสนอประกอบด้วย
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดย นาย คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “แนวทางการจัดทำประมวลกฎหมายแรงงานและร่างพระราชบัญญัติการบริหารแรงงาน พ.ศ….” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา คปก.มีความเห็นว่า กฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศไทยมีหลายฉบับ แต่ละฉบับมีปัญหาในเรื่องการบังคับและมีความไม่เชื่อมโยงกับกฎหมายแรงงานอื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากลตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) คปก.จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการปฏิรูปชำระกฎหมายแรงงานโดยการจัดทำประมวลกฎหมายแรงงาน และแยกการบริหารแรงงานภาครัฐออกเป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง คือ ร่าง พ.ร.บ.การบริหาร พ.ศ.... เพื่อให้สามารถส่งเสริมและคุ้มครองคุณภาพชีวิตของคนทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และเสนอให้มีการแก้ไขคือการเปลี่ยนนิยามจาก “นายจ้าง” และ “ลูกจ้าง” เป็น “ผู้จ้างงาน” และ “คนทำงาน” เพื่อให้ความคุ้มครองครอบคลุมผู้ทำงานทั้งหมด และเพื่อให้เกิดทัศนคติการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างคนทำงานอย่างแท้จริงhttp://www.lrct.go.th/th/?p=16044
ดาวน์โหลดข้อเสนอแนะ คปก.ฉบับเต็มได้ที่http://www.lrct.go.th/th/?wpfb_dl=1653
















วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

เผชิญหน้า 20/4/58 : 11 องค์กรใหม่ ในร่างรัฐธรรมนูญใหม่


วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2558 เวลา 21.10 - 21.55 น. พบกับคุณสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่มาตอบทุกโจทย์ ทุกคำถาม ในประเด็น "11 องค์กรใหม่ ในร่างรัฐธรรมนูญใหม่" ในรายการ เผชิญหน้า Face Time กับ "ดนัย เอกมหา " สวัสดิ์

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558




           เวทีวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ ที่สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหิดลมีอ.ถวิลวดี บุรีกุลและ คุณสุภัทรา นาคะผิว สองนักขับเคลื่อนที่มีผลงานมายาวนานมานำเสนอ เปิดประเด็นอภิปรายโดย รศ.ยุทธพร อิสรชัย และสุนี ไชยรส ผู้คนร่วมอภิปรายมาก มีแยกกลุ่มตอนบ่ายด้วย จะมีกมธ ยกร่าง
มาหลายคน แต่มีภารกิจไม่ได้อยู่ร่วม 
 
           วันนี้มีเวลา ๑๐ นาที จึงได้นำเสนอบางประเด็นสำคัญ เช่น

             ๑)รธน.ก่อความสับสนและปัญหาเรื่อง"สิทธิพลเมือง" "สิทธิมนุษยชน" "สิทธิบุคคล" ทั้งที่ควรใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคล เพราะพลเมืองจำกัดเพียงผู้มีสัญชาติไทย และนำหลักสิทธิเสรีภาพไปจำกัดไว้ให้แคบลง เช่น สิทธิการศึกษา สิทธิสาธารณสุข แม้แต่สิทธิในค่าจ้างที่เป็นธรรม ความปลอดภัยในการทำงาน สิทธิมารดาก่อนและหลังคลอด.. สิทธิการร้องทุกข์ ..?ทั้งที่เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของคน รวมถึงกลุ่มชาติพันธ์และชนเผ่าพื้นเมืองที่รอการพิสูจน์สัญชาติ และควรระบุด้วยว่า สังคมไทยเป็นพหุเชื้อชาติ จนถึงการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติตามมาตรฐานแรงงาน

           ๒) ความกลัวและกังวลต่อนักการเมือง พรรคการเมือง การเลือกตั้ง..จนเอียงมากไป .และไม่มีหลักการที่ควรเป็น เช่น ..


                   (๑)ให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค แต่ให้อิสระลงมติได้ แม้พรรคให้ออก แต่ก็ยังเป็น ส.ส.ได้ ... เมื่อให้มีบัญชีรายชื่อตามภาค ก็ให้ปชช.เลือกเป็นรายคนไม่เรียงลำดับ (โอเพ่นลิสต์) ทำให้การเลือกพรรคการเมืองที่ควรต้องแข่งขันกันด้านนโยบาย บุคคลดี/ เด่น กลายเป็นความลักลั่น ไม่ควรต้องมีบัญชีรายชื่อเลยดีกว่า และควรให้ ส.ส.ไม่ต้องสังกัดพรรค
นอกจากนี้ยังให้มี"กลุ่มการเมือง"ส่งผู้สมัคร ส.ส.ได้เช่นเดียวกับพรรค ทั้งที่ควรส่งเสริมการพัฒนาพรรคการเมืองให้ดี ส่วนใคร /กลุ่มไหนอยากลงส.ส.ก็สมัครได้ กลุ่มการเมือง/กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆควรมีหน้าที่ตรวจสอบในฐานะปชช.

               (๒)การมี ส.ว.เดิม เพื่อตรวจสอบ ถ่วงดุล เลือกและถอดถอนองค์กรอิสระต่างๆ รธน.๔๐ จึงให้ยึดโยงปชช. ด้วยการมาจากการเลือกตั้ง ..ครั้งนี้เพิ่มอำนาจ และ เสนอกม.ได้ มี ๒๐๐ คน ...แต่ให้มาทางอ้อม จากกลุ่มอาชีพ แต่สัดส่วนไม่ถูกต้อง เกษตรกร แรงงาน ...ให้ ๓๐ คน แต่ปลัดกระทรวง ผบ.เหล่าทัพ..๒๐ คน สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ ๕๘ คน..และที่ร้ายที่สุดคือมีส.ว.จังหวัดละ ๑ คน แต่ให้มีกก.สรรหากลั่นกรองให้เหลือ ๑๐ คน แล้วค่อยให้ปชช.เลือก??? ไม่มี ส.ว.เลยดีไหม
ปัญหาองค์กรอิสระจากรธน.๕๐ คือที่มาของกก.สรรหา ที่คับแคบ ไม่ยึดโยงกับปชช. ต้องแก้ที่นี่ แต่ยังไม่ได้แก้ ..แถมไปยุบกรรมการสิทธิ ฯรวมกับผู้ตรวจการแผ่นดิน เสียหายต่อปชช.และหลักการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน...อีกทั้งไปเพิ่มสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ให้มาเป็นกก.สรรหา และหน้าที่มากมาย?? รวมทั้งมีอีกหลายองค์กรเพิ่มขึ้น

 

               (๓)การมีส่วนร่วมของปชช.ในรธน.๕๐ มีหลายมิติ ทุกระดับ(ม.๘๗) และกำหนดชัดเจนว่า..ต้องมีสัดส่วนหญิงชายใกล้เคียงกัน /แม้แต่ ส.ว.สรรหาและบัญชีรายชื่อของพรรคก็กำหนดความเสมอภาคระหว่างเพศ ...แต่ รธน.นี้ตัดทิ้ง มีเรื่องบัญชีรายชื่อของพรรค ที่กำหนดต้องมีเพศหนึ่งไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ แต่พรรคไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องการเรียงลำดับที่แสดงเจตจำนงทางการเมือง เพราะปชช.เลือกรายคนได้ 


 
               (๔)การปฏิรูปเป็นเรื่องระยะยาว ต้องทำบนฐานความตื่นตัวเข้มแข็งของปชช. ไม่มียุติง่ายๆ ดังนั้น สภาปฏิรูปวางทิศทางไว้ก็พอแล้ว...จึงไม่ควรต้องมีสภาปฏิรูป และกก.ขับเคลื่อนปฏิรูป ต่อเนื่อง หลังรธน.ไปอีก ๕ ปี

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

ร่วมกันรณรงค์ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พ.ศ...ฉบับ คปก

ดาวโหลด ebook เรื่อง ปฏิรูปกฎหมายสิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุ : ร่างพ.ร.บ. คุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
มีหลักการสำคัญ คือ การขยายการคุ้มครองสิทธิและเข้าถึงสิทธิ การกระจาย อำนาจในการจัดโครงสร้างและการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ 

ดาวโหลด ebook เรื่อง ปฏิรูปกฎหมายสิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุ : ร่างพ.ร.บ. คุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
มีหลักการสำคัญ คือ การขยายการคุ้มครองสิทธิและเข้าถึงสิทธิ การกระจาย อำนาจในการจัดโครงสร้างและการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ 
http://www.lrct.go.th/th/?p=13583...ร่วมกันผลักดันค่ะ


p=http://issuu.com/lrct/docs/______.____________________________?e=13698869/10407696

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

สุนี ไชยรส :ภูซางอำไพ: คปก.กับยุทธศาสตร์หลักด้านสวัสดิการสังคม

สุนี ไชยรส :ภูซางอำไพ: คปก.กับยุทธศาสตร์หลักด้านสวัสดิการสังคม: คปก. ..กับยุทธศาสตร์หลักด้านสวัสดิการสังคม  “ลดความเหลื่อมล้ำ  สร้างความเป็นธรรม”                                          ...





รายการสถานีปฏิรูปกฎหมาย ข้อตกลงอาเซียน คุ้มครองสิทธิแรงงาน ประเทศไทยได้อ...











รายการสถานีปฏิรูปกฎหมาย ข้อตกลงอาเซียน คุ้มครองสิทธิแรงงาน ประเทศไทยได้อ...