วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

เถียงให้รู้เรื่อง : พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯเป็นธรรมจริงหรือ ? (26 มี....










เผยแพร่เมื่อ 26 มี.ค. 2015
ประเด็น : พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เป็นธรรมจริงหรือ ?

คู่ดีเบต : นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน
นักวิชาการร่วมให้ความเห็น : อ.สุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย อ.สุกฤษฎ์ กิติศรีวรพันธุ์ ที่ปรึกษาสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์












วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

ดาวน์โหลดหนังสือ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับ คปก

เปิดอ่านหนังสือปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขร่างกฎหมายฉบับคปก. จะพบคำตอบ...
• ทำไมต้องออกกฎหมายฉบับใหม่ ?
• ใครได้ประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้ มีข้อยกเว้นหรือไม่ ?
• จะใช้สิทธิต้องทำอย่างไร ?
• ญาติคนไข้จะฉวยโอกาสหาประโยชน์จากกฎหมายฉบับได้หรือไม่
• เงินกองทุนจะมาจากไหน ?
• จะบังคับใช้กับสถานพยาบาลเอกชนด้วยหรือไม่ ?
• เหตุใดจึงให้ผู้ที่ไม่ใช่แพทย์เป็นกรรมการ ?
• ถ้ามีการจ่ายค่าเสียหายแล้ว จะระงับการฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาได้หรือไม่
• จะฟ้องร้องแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขเพิ่มขึ้นจริงหรือ ?
• ทำไมจึงไม่ยกเลิกโทษคดีอาญา ?

สปริงรีพอร์ต แม่น้ำโขง กับวิถึชีวิตคนเชียงของ

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

เถียงให้รู้เรื่อง.. "พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารรสุขเป็นธรรมจริงหรือ...


จะดีหรือไม่ หากมีกฎหมายมาคุ้มครองผู้ป่วยที่ต้องป่วย­ซ้ำ หรือเสียชีวิตเพราะการรักษาทางการแพทย์ (ร่างกม.คุ้มครองผู้เสียหานจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย)หรือกฎหมายนี้จะทำให้แพทย์ พยาบาล ไม่กล้ารักษาคนไข้ เพราะกลัวจะถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จุดร่วมของทั้งสองฝ่ายจะอยู่ที่ใด ติดตามได้ในรายการเถียงให้รู้เรื่อง แขกรับเชิญ: นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ (ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา) และ นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย (รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน)
นักวิชาการร่วมให้ความเห็น: อ.สุนี ไชยรส (รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย  ซึ่งคปก.เป็นผู้เสนอร่างกม.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข...) และ อ.สุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์ (ที่ปรึกษาสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์) พฤหัสบดีทีที่ 26 มี.ค.58 เวลา 20.30 น.



วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

คม-ชัด-ลึก ควบรวม...ควบรวน?

ขยายข่าว : ควบรวม "อำนาจ" ตรวจสอบ

14-02-58 News Room 12.00 - รายงานพิเศษ ควบรวมกรรมการสิทธิฯ ได้หรือเสีย









14-02-58 News Room 12.00 - รายงานพิเศษ ควบรวมกรรมการสิทธิฯ ได้หรือเสีย

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

คำประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน ในวาระ ๑๐๔ ปี วันสตรีสากล ๘ มีนาคม ๒๕๕๘

คำประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน
ในวาระ ๑๐๔ ปี วันสตรีสากล ๘ มีนาคม ๒๕๕๘


ขบวนผู้หญิงเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  และเครือข่ายสตรีทุกชนเผ่า ทุกศาสนา ทุกภาคทั่วประเทศ  และเครือข่ายผู้หลากหลายทางเพศ เครือข่ายสตรีผู้พิการ  ขอประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน ในการผลักดันต่อสู้ให้เกิดความเสมอระหว่างเพศในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  ต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่มีมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ  ต้องมีสัดส่วนหญิงชายในการตัดสินใจทุกมิติ ทุกระดับ ในสัดส่วน ๕๐ : ๕๐


ประเทศไทยมีประชากรประมาณ ๖๕ ล้านคน โดยผู้หญิงคือประชาชนเกินครึ่งหนึ่งของประเทศ มีมากกว่าเพศชายเกือบ ๒ ล้านคน แนวทางการปฏิรูปประเทศ ระบอบการเมือง โครงสร้างทางกฎหมาย และนโยบายการบริหารประเทศย่อมส่งผลต่อประชากรเพศหญิงอย่างสำคัญ ปัจจุบัน ผู้หญิงไม่เพียงแต่ต้องเผชิญปัญหาที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมกับผู้ชาย และทุกเพศสภาพ เช่น ความยากจน  ค่าแรงและสวัสดิการในการทำงานต่ำ ไม่มั่นคงในการทำงาน การไม่มีที่ดินทำกิน ปัญหาการถูกแย่งชิงฐานทรัพยากรจาก นโยบายและโครงการต่างๆของรัฐ การถูกลิดรอนสิทธิชุมชน การไม่มีส่วนร่วมในการจัดการ และการตัดสินใจ การรวมศูนย์อำนาจไว้ส่วนกลาง การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าต่างๆ การเข้าไม่ถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรม และความไม่ปลอดภัยจากความรุนแรงในสถานการณ์สามจังหวัดภาคใต้          
ขณะเดียวกันผู้หญิงยังต้องเผชิญกับปัญหาค่านิยม ความเชื่อดั้งเดิม  อคติทางเพศ         เช่น ความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงทางเพศ การค้ามนุษย์ และ          การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม  การปิดกั้นโอกาสที่เท่าเทียมบนหลักการ ความเสมอภาคระหว่างเพศ ทั้งยังขาดมาตรการที่ปฏิบัติได้จริงในการส่งเสริมโอกาสให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกระดับในทางการเมือง การบริหาร และ การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาประเทศทุกมิติทุกระดับ    ทั้งที่ประเทศไทยมีข้อผูกพันในฐานะเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ

ดังนั้น ประเทศไทยต้องยึดหลักการความเสมอภาคระหว่างเพศในทุกมิติิ ดังนี้
๑. ต้องยึดหลัก ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค การไม่เลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรม ความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่เท่าเทียมกันระหว่างหญิงชายและทุกเพศสภาพ
๒.รัฐต้องกำหนดมาตรการพิเศษเพื่อขจัดอุปสรรคหรือเพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกกระบวนการที่ทำให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศได้อย่างแท้จริง ยั่งยืน
๓. ยึดหลักพันธกรณีและกติการะหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW)
ปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการเพื่อความก้าวหน้าของสตรี
และหลักการยอกยาการ์ตา ว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ในประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ
๔. เนื้อหาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องไม่ด้อยกว่ารัฐธรรมนูญฯ ปี ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ ในหมวดสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งหมด  และต้องคงไว้ซึ่งองค์กรอิสระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยไม่ควบรวมกับองค์กรใดๆ เพื่อเป็นหลักประกันการคุ้มครองสิทธิ ความเสมอภาค  รวมทั้งทุกมาตราที่บัญญัติรับรองสิทธิผู้หญิงและทุกเพศสภาพไว้เป็นการเฉพาะ
๕.กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งหญิงและชายในทุกกลุ่ม ทุกขั้นตอน อย่างกว้างขวาง เปิดโอกาสให้สะท้อนความเสมอภาค อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
๖.ในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกระดับ ทุกมิติ โดยรวมถึงโครงสร้างในการพิจารณากฎหมาย  โครงสร้างทางการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น องค์กรอิสระ และคณะกรรมการใดๆของรัฐ
 ต้องมีสัดส่วนหญิงชาย ๕๐ : ๕๐


ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove)  และกลุ่มองค์กรผู้หญิงทั่วประเทศ เชื่อมั่นว่าทิศทางและกระบวนการปฏิรูปประเทศไทยที่ชอบธรรมและสามารถสร้างความปรองดองได้นั้น ต้องให้ความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชน หลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่เน้นการกระจายอำนาจ  หลักความเสมอภาคระหว่างเพศ และการส่งเสริมประชาธิปไตยทางตรงของประชาชน และต้องกำหนดให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูปประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญ การออกกฎหมาย ในสัดส่วนที่สะท้อนฐานจำนวนประชากรหญิงที่เป็นจริง เท่านั้น จึงจะเป็นหลักประกันให้ทั้งหญิงชาย และทุกเพศสภาพ รวมทั้งกลุ่มเปราะบางที่หลากหลายได้เข้าร่วมคิด ร่วมกำหนดทิศทางและตัดสินใจในการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศที่สมดุล ยั่งยืน และเกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนทุกกลุ่มอย่างเสมอภาคโดยแท้จริง

  ในวาระ ๑๐๔ ปี วันสตรีสากล ๘ มีนา ที่ทั่วโลกต่างเฉลิมฉลองและต่อสู้ผลักดันให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศ  ที่ต้องควบคู่กับการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง  ขบวนผู้หญิงจึงขอประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะต่อสู้ฝ่าฟันให้เกิดผลเป็นจริงอย่างไม่หยุดยั้ง  อย่างเข้มแข็ง และสามัคคีหญิงชาย ทุกเพศสภาพ  ทุกเครือข่ายประชาชนที่กำลังต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมอยู่ ณ ขณะนี้
   วัน ๘ มีนา เป็นวันแห่งพลังสามัคคีในการต่อสู้เพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศให้ปรากฏเป็นจริง...
...สัดส่วนหญิงชายในรัฐธรรมนูญ ต้อง ๕๐: ๕๐


ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove)
 กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี
สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
เครือข่ายสตรีภาคเหนือ
เครือข่ายสตรีชนเผ่า
เครือข่ายองค์กรสตรี ๑๔ จังหวัดภาคใต้
เครือข่ายสตรีสามจังหวัดชายแดนใต้
เครือข่ายผู้หญิงอีสาน
เครือข่ายผู้หลากหลายทางเพศ
เครือข่ายสตรีพิการ


๘ มีนา ๒๕๕๘


ขอบคุณภาพจากผู้หญิงภาคประชาสังคม           















คำรำลึกและสืบทอดเจตนารมย์พลังสามัคคีในการต่อสู้ของขบวนผู้หญิง ในวันสตรีสากล ๘ มีนา โดยนักต่อสู้เพื่อความเสมอภาครุ่นอาวุโส

คำรำลึกและสืบทอดเจตนารมย์พลังสามัคคีในการต่อสู้ของขบวนผู้หญิง  ในวันสตรีสากล ๘ มีนา โดยนักต่อสู้เพื่อความเสมอภาครุ่นอาวุโส






            ๘ มีนาคม ๒๕๔๔ เมื่อ ๑๐๔ ปีที่แล้ว คนงานหญิงในภาคอุตสาหกรรมหลายประเทศ พร้อมใจกันเดินขบวนแสดงพลัง  เรียกร้องค่าจ้างที่เป็นธรรม ลดชั่วโมงการทำงาน และ เพิ่มสวัสดิการ    เรียกร้องการทำงานระบบสามแปด  “ทำงาน ๘ ชั่วโมง พักผ่อน ๘ ชั่วโมง และแสวงหาความรู้ ๘ ชั่วโมง” เรียกร้องให้ค่าจ้างหญิงชายต้องเท่ากันในงานประเภทเดียวกัน ต้องคุ้มครองสวัสดิภาพผู้หญิงและเด็ก และเรียกร้องสิทธิทางการเมืองของผู้หญิง  โดยมีการแสดงพลังต่อเนื่องในหลายประเทศ ผ่านความเจ็บปวดและยากลำบากนานัปการ  จนในที่สุดมีการรณรงค์ให้ ๘ มีนาเป็นวันสตรีสากล  และในที่สุดสหประชาชาติประกาศให้วันที่ ๘ มีนา เป็นวันสตรีสากล  และทั่วโลกต่างรำลึก เฉลิมฉลอง และรณรงค์ให้เกิดสิทธิสวัสดิการที่เป็นธรรมต่อผู้หญิงทำงานทั้งมวล 

            “๘ มีนา” จึงเป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของผู้หญิง และความเสมอภาคระหว่างเพศ  ซึ่งหมายรวมถึงการต่อสู้เพื่อสิทธิประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน สร้างสรรค์คุณค่าเพื่อสังคมและชุมชน  เคียงบ่าเคียงไหล่ชาย อุดมการณ์ของผู้หญิงจึงเป็นสิ่งดีงามเพื่อทุกคนในสังคม และควรได้รับการสนับสนุนจากผู้ชายและทุกภาคส่วนในสังคมทั่วโลก รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมจากนโยบายและกฎหมายของรัฐ

            พวกเราขอคารวะและสืบทอดเจตนารมณ์การต่อสู้ที่เสียสละของผู้หญิงในสายธารประวัติศาสตร์จำนวนมาก ทั้งในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อสิทธิความเสมอภาคของผู้หญิง และสิทธิมนุษยชน

                     แต่วันนี้ ในสังคมไทย  ชีวิตจริงของผู้หญิงทำงานส่วนใหญ่ทุกกลุ่มอาชีพ ยังไม่สามารถ ทำงานในระบบสามแปดเพื่อมีคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง เพราะค่าจ้างต่ำ  ค่าตอบแทนการทำงานยังไม่เป็นธรรม ไม่มีสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐานที่เพียงพอ ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยชรา รวมถึงการไม่ยอมรับส่งเสริมบทบาทที่สำคัญของผู้หญิงในการมีสิทธิมีส่วนร่วมตัดสินใจ ในทุกระดับทุกมิติ  ทั้งในการจัดการฐานทรัพยากรสิ่งแวดล้อม  คุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว  ชุมชน  และในโครงสร้างทางการเมืองทุกระดับ    ผู้หญิงทำงานทุกคนจึงสร้างคุณค่า และเป็นพลังฐานเศรษฐกิจที่สร้างความมั่งคั่งแก่สังคมไทย ตลอดมา                       
                   ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงทำหน้าที่ของแม่ ของลูกสาว และภรรยา เป็นผู้ดูแลความอยู่ดีมีสุขของทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก คนชรา คนพิการ และผู้ป่วย   แต่คุณค่าของผู้หญิงในฐานะคนทำงานที่มีศักดิ์ศรีของมนุษย์เท่าเทียมชาย และในฐานะแม่ที่ดูแลกล่อมเกลาอนาคตของชาติ ... กลับไม่มีหลักประกันสวัสดิการจากเกิดจนตาย และไม่มีแม้แต่ศูนย์เลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพ ราคาถูก กระจายเพียงพอทั่วประเทศ และสอดคล้องกับเวลาของผู้หญิงทำงาน นอกจากนี้ผู้หญิงจำนวนมากยังถูกกระทำจากความรุนแรง ตั้งแต่ในครอบครัว จนถึงการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน และพื้นที่สาธารณะ  ต้องประสบอันตราย และความเจ็บป่วยในการทำงาน  และที่สำคัญคือ มีส่วนร่วมในสัดส่วนน้อยมากในการตัดสินใจในทุกระดับทุกมิติ  โดยเฉพาะโครงสร้างทางการเมือง



                       ในโอกาส ๑๐๔ ปีวันสตรีสากล  ๘ มีนา ๒๕๕๘  พวกเราไม่ได้เพียงเฉลิมฉลองเป็นประเพณีทุกปี  แต่วันสตรีสากลคือวันแห่งการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของแรงงานหญิง  และสืบทอดเจตนารมณ์แห่งการรวมพลังต่อสู้    ผู้หญิงคือผู้สร้างสรรค์โลก เราเรียกร้องสิทธิสวัสดิการของคนทำงานหญิงทุกคน  สิทธิประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม สิทธิชุมชน และคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของผู้หญิง นั่นคือเพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของทุกคนนั่นเอง
   

                     นอกจากนี้  ขบวนผู้หญิงที่ต่อสู้เพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศ  จำเป็นต้องเข้าร่วมและสนับสนุนการต่อสู้กับกลุ่มประชาธิปไตย ขบวนประชาสังคม และการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง  ในขณะเดียวกัน  ก็ต้องพยายามสร้างความตระหนักต่อกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนด้วยว่า  การต่อสู้เพื่อสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิง  ความเสมอภาคในโอกาส  และการมีสัดส่วนของหญิงชายที่เท่าเทียมกันในการตัดสินใจทุกระดับ  ไม่ใช่ประเด็นการต่อสู้เฉพาะของผู้หญิงเท่านั้น  แต่เป็นภารกิจที่จำเป็นของนักประชาธิปไตย และนักสิทธิมนุษยชนด้วย