วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

ฉันใช้สิทธิประชาธิปไตยแล้ว.. ไม่ไปเลือกตั้งเมื่อ ๒๖ มค​๕๗


             ฉันตัดสินใจไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้ และปฏิบัติการไปเรียบร้อยแล้ว.เมื่อ ๒๖ มกราคม ๕๗   พร้อมรับการเสียสิทธิตามกฎหมายโดยไม่แจ้งเหตุ..เพราะฉันแจ้งจดทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด ซึ่งต้องไปใช้สิทธิเมื่อ ๒๖ มกราคม  ... สิทธิไปหรือไม่ไปเลือกตั้งเป็นสิทธิส่วนตัวของฉัน  เป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย






          เหตุผลสำคัญคือมองไม่เห็นความหวังในอนาคตที่ดีของสังคมและประชาชนจากการเลือกตั้งครั้งนี้   มองไม่เห็นว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงจากปัญหาที่กระหน่ำทับปชช.และสังคมอย่างหนักหน่วงจากนโยบาย จากโครงสร้างของปัญหาความเหลื่อมล้ำ  ปัญหาจากกฎหมาย   ปัญหาจากการเข้าใจผิดว่า เมื่อรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง   มีเสียงข้างมากในสภา   ไม่ต้องฟังเสียงประชาชน

           เมื่อชัดเจนว่ารัฐบาลที่จะเกิดขึ้น  ไม่ยอมรับความผิดพลาดในนโยบายมากมายที่กระทบต่อประชาชน   ...ไม่มีการชี้แจงว่าจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ประชาชนคัดค้านวิพากษ์  และไม่ยอมรับทางออกที่สังคมเสนอกันกว้างขวางให้มีการตกลงกติกาเพื่อเตรียมการปฏิรูปการเมืองก่อน   โดยยอมเลื่อนการเลือกตั้งออกไป   ...โดยที่ไม่ได้ปฏิเสธการเลือกตั้ง ...เพียงแต่ผู้คนไม่เชื่อมั่นว่าเลือกตั้งไปแล้ว  จะดำเนินการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังได้    เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลไม่รับฟังความเห็นปชช.   อ้างแต่การมาจากการเลือกตั้ง อ้างแต่เสียงข้างมากในสภา...ดำเนินการตามใจชอบอย่างไม่มีใครคาดคิด....

         ... เช่น ปัญหาโครงการจัดการน้ำ ๓๕๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท  
                  โครงการกู้เงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
                  นโยบายเรื่องพลังงาน เรื่องแร่และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  . รัฐบาลมีนโยบายเข้าข้างกลุ่มทุน  การไม่แก้ไขปัญหาที่ดิน  จนผู้คนถูกจับถูกติดคุกมากมาย  ..
                 การไม่สนใจรับฟังความเห็นปชช.และเคารพสิทธิตามรัฐธรรมนูญของการเสนอร่างกม.เข้าชื่อฉบับประชาชน    อาทิ การคว่ำร่างกม.ประกันสังคมที่เป็นกฎหมายเข้าชื่อของขบวนแรงงานและเป็นประโยชน์ต่อแรงงานหลายสิบล้านคน  ...
                 อีกทั้งร่างกฎหมายสำคัญของประชาชนถูกถ่วงเวลาหลายปี   เช่น องค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภค  และร่างกม.เข้าชื่อ ๑๒ ฉบับ ที่นายกฯไม่ยอมรับรองทางการเงินค้างเติ่งมาหลายปี    เช่น กม.องค์กรอิสระสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ  
              นอกจากนั้นยังเร่งรัดหักดิบให้ออกกม.นิรโทษกรรม  การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๙๐...ฯลฯ





          เมื่อรัฐบาลไม่เปิดทางเลือกให้ประชาชนที่ต้องการมีความหวังต่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปในทุกด้านและสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย.....ฉันจึงไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้

           การไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ไม่ได้หมายถึงการคัดค้านระบอบประชาธิปไตย  เพราะเป็นสิทธิการตัดสินใจของแต่ละคน      ระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ต้องหมายถึงการมีสิทธิเสียงตัดสินใจของประชาชน   ที่เลือกตั้งตัวแทนมาทำหน้าที่บริหาร..บนหลักการให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  และมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  มีสิทธิมีเสียงต่อไปหลังการเลือกตั้งที่สามารถร่วมจัดการฐานทรัพยากรเพื่อคุณภาพชีวิต   สภาพแวดล้อมของชุมชนตนเอง และสามารถตรวจสอบรัฐบาล  นักการเมืองได้

          ฉันยังเชื่อมั่นว่าอนาคตของสังคมไทย   อนาคตของประชาชนยังมีความหวังเสมอ
                     
                                                                                                                สุนี ไชยรส,๓๐ มกราคม ๕๗

       

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

เด็กๆทุกคนคือลูกหลานที่รักของเรา คืออนาคตของเรา...คปก.กับข้อเสนอแนะด้านกฎหมายเรื่องเด็ก


เด็กทุกคนคือลูกหลานที่รักของเรา...

คปก.กับบางข้อเสนอแนะด้านกฎหมายเรื่องเด็ก

             

              

  •                  เด็กทุกคนมีความสำคัญสำหรับเราทุกคน    สำหรับสังคมไทย และทั้งต่อโลกใบนี้     ที่เราต้องห่วงใยและช่วยกันให้เขาเติบโตอย่างมีความสุข    โดยเฉพาะเด็กที่ถูกทอดทิ้ง  เด็กที่ยังขาดแคลนและไม่ได้รับการปกป้องดูแลที่เพียงพอ  


               แต่คำว่าเด็กที่ถูกทอดทิ้ง   เราไม่ได้หมายถึงเฉพาะเด็กที่ออกไปนอนตามถนน  เป็นเด็เร่ร่อนที่เป็นกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง    ...   แต่ยังมีเด็กำพร้าจากสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนใต้จำนวนมาก  ...ในกลุ่มเด็กกำพร้าทั่วไปในสังคมก็มีลักษณะต่างไป   เด็กบางส่วนอาจมีเพียงพ่อหรือแม่    หรือแม้แต่เด็กๆมีทั้งพ่อแม่  แต่อาจไม่สามารถดูแลเด็กให้มีความสุขและพัฒนาศักยภาพของเด็กๆเพียงพอได้   ไม่สามารถดูแลเขาให้ได้รับคุณภาพชีวิตที่ดี   มีผลจากรายได้ไม่พอ   ส่งผลต่อเด็กจำนวนมาก   ที่ไม่สามารถมีสุขภาพที่ดี   ไม่สามารถเรียนต่อเต็มศักยภาพตัวเอง และมีการงานดีพอที่จะดูแลตัวเองได้


                  กลุ่มที่น่าสนใจพิเศษอีก เช่น  เด็กพิการ เด็กที่ยังไม่ได้สัญชาติไทยของพี่น้องชนเผ่าจำนวนมาก รวมทั้งเด็กคนไทยพลัดถิ่น   ...







                 การดูแลและแก้ไขปัญหาของเด็กที่ดีและง่ายที่สุด คือ การยอมรับอย่างจริงจังและจริงใจของรัฐ   ของชุมชน และครอบครัว  ว่าเด็กทุกคนต้องได้รับการดูแลจากรัฐ  จากชุมชน จากครอบครัวนับตั้งแต่เริ่มเกิดในท้องแม่  เรามีอนุสัญญาสิทธิเด็กที่ไทยเป็นภาคี   มีรัฐธรรมนูญ ที่พูดถึงการคุ้มครองและส่งเสริมเด็กหลายเรื่อง การดูแลที่ให้เขาเติบโตมีศักยภาพสมบูรณ์ และยังต้องคุ้มครองพวกเขาจากความรุนแรงทุกรูปแบบ  ไม่ถูกค้ามนุษย์...

                  ลองคิดถึงเด็กๆในสังคม    ตั้งแต่เกิดได้รับการคุ้มครองดีหรือยัง...เด็กจำนวนไม่น้อยเสียชีวิตตั้งแต่เกิด  จากความขาดแคลนของพ่อแม่ที่ไม่สามารถดูแลเด็กเล็กๆ ตั้งแต่ในท้องได้ดีพอ   ตั้งแต่การตรวจดูแลจากหมอ   แม้แต่ กฎหมายประกันสังคมก็ยังไม่ดูแลการไปฝากท้อง  ตรวจท้อง ...ต้องลางานไปเอง หรือกรณีท้องไม่พร้อมที่ทำให้เด็กเกิดปัญหา  และไม่มีใครเข้าใจและช่วยหาทางออก

                  รัฐธรรมนูญเขียนถึงเด็กๆทุกช่วงเวลาแห่งวัย  มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  กลุ่มข้าราชการมีสวัสดิการให้ลูกๆมากหน่อย      กลุ่มแรงงานและคนทำงานในระบบ ๑๐ ล้านคน  ก็ยังพอมีกฎหมายประกันสังคม    มีกอทุนประกันสังคมที่มีเงินเป็นล้านล้านบาท  แต่แรงงานนอกระบบอีกกว่า ๒๐ ล้านคนไม่มีแม้แต่หลักประกันขั้นต้นเล็กน้อยนี้   ....อย่างไรก็ตาม    ในกฎหมายประกันสังคมยังมีข้อจำกัดมากมาย  เช่น พ่อแม่ที่เป็นแรงงานได้รับเงินเลี้ยงดูลูกคนละ ๔๐๐ บาท ต่อเดือน  แต่ได้แค่อายุ ๖ ขวบ และบุตรไม่เกิน ๒ คน

                 ในร่างกฎหมายประกันสังคมที่ภาคประชาชนเสนอชื่อเข้าไปต่อสภาผู้แทน   ให้ขยายฐานจากแรงงานในระบบ ๑๐ ล้านคนไปรวมเอาแรงงานนอกระบบที่มีอีกกว่า ๒๐ ล้านคนเข้ามาให้มากที่สุด และขยายเงินเลี้ยงดูบุตรเพิ่มขึ้น ...ขยายไปจนเด็กอายุ ๒๐ ปี  เพื่อเป็นหลักประกันขั้นต่ำเพื่อทำให้เด็กได้รับการดูแลมากขึ้น ปรากฎว่ากฎหมายนี้ไม่ประสบความสำเร็จ    ถูกรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ฯ  ไม่รับหลักการ  ทั้งที่รัฐธรรมนูญรับรองสิทธิการเสนอร่างกฎหมายทางตรงของประชาชนทำให้ร่างฯตกไป   โดยร่างนี้เสนอขยายเงินเลี้ยงดูเด็กมากขึ้นและให้ไปจนถึง ๒๐ ปี  ...

              ร่างกฎหมายประกันสังคมนี้ คปก.มีข้อเสนอแนะอย่างชัดเจนถึงรัฐบาลและสภาฯ   น่าเสียดายที่ตกไปทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กอย่างยิ่ง




                  วัยเด็กอ่อนและเด็กเล็กยังมีปัญหาขาดแคลนเรื่องศูนย์เลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพ  ราคาถูก ทั่วถึง  มีน้อยมาก ที่สำคัญเวลาเปิดปิดไม่สอดคล้องกับคนทำงาน  โดยเฉพาะแรงงาน  เพราะเปิดปิดตามเวลาราชการ  คนทำงานก็ฝากไม่ได้ ศูนย์เลี้ยงเด็กเอกชนที่ดีก็แพงมาก
การไม่มีรายได้เพียงพอทำให้คุณภาพชีวิตของเด็กตังแต่เกิด จนถึงวัยเรียน  ไม่ได้รับการดูแลเต็มเม็ดเต็มหน่วย  ต้องพาเด็กไปฝากกับชนบท ปู่ย่าตายาย ไม่ได้รับการดูแลเต็มที่ ขาดความอบอุ่น
คปก.มีการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับระบบสวัสดิการสังคม  แม้จะมีมาก  แต่ยังไม่เพียงพอ   และกำลังจัดทำข้อเสนอเพื่อจัดทำร่างกฎหมายสวัสดิการสังคมที่เป็นหลักให้ดูแลเด็กในหลายมิติให้ดียิ่งขึ้น  และยังมีข้อเสนอแนะเรื่องร่างกฎหมายด้านโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ   ที่ส่งผลเกี่ยวเนื่องกับการดูแลเด็ก  ...นอกจากนี้  มีการสนับสนุนร่างกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ฉบับเข้าชื่อของประชาชน    ที่แก้ไขให้ดูแลคนทำงานช่วงท้อง  การตรวจครรภ์ ดีกว่าเดิม...

                    เรื่องสะเทือนใจ คือ มีการโฆษณามากมายตามทีวี สื่อ เรื่องวันเด็ก...วันแม่ วันครอบครัว ...พ่อแม่ต้องดูแลลูก   เด็กต้องมีครอบครัวอบอุ่น  แต่มีการตั้งคำถามจากเด็กๆที่ถูกส่งไปอยู่กับตายายที่บ้านนอกจำนวนมาก  เช่น ว่  พ่อแม่หนูอยู่ไหนทำไมไม่มาดูแลหนูให้ดี  เคยฟังแม่ที่เป็นคนงานร้องไห้เลย เพราะเขาไม่สามารถทำตามนั้นได้         
 วันเด็กเราจึงต้องตั้งคำถามถึงนโยบายสวัสดิการของรัฐ  กฎหมาย ...ถ้าเราสามารถดูแลเด็กทุกคนขั้นต่ำดีพอ ให้เติบโตดูแลตนเองได้ในอนาคต น่าจะเป็นหัวใจสำคัญ   แต่ยังขาดมาตรฐานเพื่อเด็กเติบโต มีศักยภาพ มีโอกาสเรียนหนังสือ  มีงานทำ

                      ตอนนี้ยังมีปัญหาการใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมาย ขัดกติการะหว่างประเทศ  แรงงานถูกบังคับ  การค้ามนุษย์  ซึ่งคปก.มีการศึกษาเรื่องการออกกฎกระทรวงที่ห้ามใช้แรงงานเด็กในกิจการประมงทะเล  กฎหมายค้ามนุษย์   กฎหมายความรุนแรงในครอบครัว และ คปก.ได้มีข้อเสนอให้ชะลอร่างกฎกระทรวงเด็กที่เกิดในไทยและยังไม่มีสัญชาติ  ที่ละเมิดสิทธิเด็ก  และปัจจุบันรัฐบาลได้ชะลอไว้อยู่  
 คปก.ยังมีข้อเสนอต่อสิทธิเด็กคนไทยพลัดถิ่น  ที่ยังไม่ได้สัญชาติไทย   ทำให้ตกหล่นสิทธิสวัสดิการ  ถูกทอดทิ้ง รวมทั้งสิทธิในการศึกษา การทำงาน


                   คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)  ยังมีข้อเสนอแนะไปถึง การสนับสนุนกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติ  ที่ประชาชนหวังจะมีบำนาญภาคประชาชน   โดยรัฐส่งเสริมให้พึ่งตนเองโดยออม  แล้วรัฐสมทบให้   ...การออมให้เริ่มตั้งแต่อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป   แต่รัฐบาลไม่ยอมบังคับใช้ ทั้งที่ผ่านเป็นกฎหมายสมบูรณ์แล้ว     และยังมีข้อเสนอแนะต่อการผลักดันร่างกฎหมายกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์    เพื่อให้มีกองทุนพัฒนาสื่อที่ดี    ส่งเสริมให้เด็กเติบโตเรียนรู้    สนับสนุนกิจกรรมของเด็ก ..
         
                     ส่งท้ายในโอกาสวันเด็กปี ๒๕๕๗ วันนี้    เรามารักเด็กทุกคนเสมือนลูกหลานของเราเอง  อนาคตของสังคมไทยอยู่ที่ความแข็งแรง คุณภาพชีวิตที่ดี และการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ของเด็กและเยาวชนทุกคน  ทั้งการเรียน การทำงาน   ...แม้แต่ เด็กเร่ร่อน    เขาไม่ได้อยากไปสถานสงเคราะห์  เราต้องมีกระบวนการ ที่มีความรัก คำนึงถึงความรู้สึกความต้องการของเขา ให้เขามีโอกาสมีทางเลือก และได้ตัดสินใจเอง..