วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

https://www.facebook.com/prachamati.org/photos/a.444295472396428.1073741828.442692199223422/582632105229430/?type=3&theater

สุนี ไชยรส อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า เรากำลังจะร่างรัฐธรรมนูญไปสู่ระบอบประชาธิปไตย และการทำประชามติครั้งนี้มีนัยยะสำคัญ หากร่างรัฐธรรมนูญผ่านหรือไม่ผ่านล้วนส่งผลต่อการเมืองการปกครอง และสิทธิเสรีภาพของประชาชนไทย ดังนั้นเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานของช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประชาธิปไตย
ปัญหาแนวคิดและวิธีคิดของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ชัดเจนว่าคนร่างไม่เข้าใจเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และหลักการประชาธิปไตยที่แท้จริง หลักทั้งหมดมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการร่างรัฐธรรมนูญถ้าไม่ได้ผูกมิติเหล่านี้เอาไว้ทั้งฉบับก็เป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้มีช่องโหว่ เนื่องจากคนร่างไม่เข้าใจของกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม จึงลดอำนาจของประชาชนทุกกลุ่ม ถ้าสังเกตเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ สิทธิชุมนุม สวัสดิการสังคม หรือสุขภาพ เนื้อหาของเดิมส่วนที่ดีอยู่แล้ว คนร่างจะเปลี่ยนแปลงทำไม?
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีอคติต่อนักการเมืองอย่างมาก ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงออกแบบสถาบันการเมือง และองค์กรอื่นๆ อย่างเบี้ยวๆ บูดๆ เพราะความกังวลต่อนักการเมืองมากเกินไป ทั้งที่ความกังวลดังกล่าว สามารถป้องกันได้โดยให้อำนาจประชาชน จริงๆ แล้วไม่ใช่นักการเมือง   
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีอคติต่อนักการเมืองอย่างมาก ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงออกแบบสถาบันการเมือง และองค์กรอื่นๆ อย่างเบี้ยวๆ บูดๆ เพราะความกังวลต่อนักการเมืองมากเกินไป ทั้งที่ความกังวลดังกล่าว สามารถป้องกันได้โดยให้อำนาจประชาชน จริงๆ แล้วไม่ใช่นักการเมืองเท่านั้นที่ก่อปัญหาต่อสังคมไทย แต่รวมถึงระบบราชการ อิทธิพลของกลุ่มทุน ที่เข้ามาครอบงำเกือบทุกรัฐบาล ดังนั้นแค่การกีดกันนักการเมืองจึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา
เราเคยมีบทบาทในการปราบปรามทุจริต ซึ่งสิทธิชุมชนคือหลักการใหญ่ที่ช่วยเข้าไปปราบปรามการทุจริตได้ โดยยกเอาสิทธิชุมชนขึ้นมาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ จึงต้องให้อำนาจประชาชนถึงจะสามารถปราบโกงได้ ถ้าจะอ้างว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ปราบโกง แต่กลับไปลดอำนาจประชาชน ก็คงนึกภาพออกว่าทำไม่ได้เลยในความเป็นจริง
สำหรับบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สุนีชี้ว่า จะก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงอย่างมาก โดยเฉพาะการให้อำนาจ ส.ว.จัดการหลายอย่าง เช่น ทำหน้าที่ดูแลยุทธศาสตร์และปฏิรูปทั้งที่ควรจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลชุดใหม่ รวมทั้งอาจจะให้ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรีได้ด้วย การออกแบบ ส.ว. แบบนี้มีลักษณะพิกลพิการ โดยที่มาไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน
สุดท้าย สุนี กล่าวว่า ฐานคิดของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ มีความพยายามลดอำนาจของประชาชน แล้วไปเพิ่มอำนาจรัฐและระบบราชการ จึงทำให้การออกแบบพิกลพิการ เราไม่สามารถพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้เป็นเรื่องๆ แยกกันได้ แต่จำเป็นต้องดูทั้งฉบับ แต่ที่เราควรดูมากที่สุด คือ สิทธิเสรีภาพของประชาชน 
       ...
ส่วนหนึ่งจากงาน “เวทีสภาประชาชนเพื่อการปฏิรูป วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนลงประชามติ” วันที่ 7 เมษายน 2559 ที่อาคารมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น