วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

มิติกฎหมายกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ..สัมภาษณ์สุนี ไชยรส

“ ถ้ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด เขียนออกมาไม่ชัดเจนไม่รับรองสิทธิความเสมอภาค และแรงงาน จะส่งผลต่อกฎหมายลูก ระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีการฟังเสียงจากผู้คนอย่างกว้างขวาง ทุกเพศสภาพ"
"ประเด็นความเสมอภาค ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่มีผู้หญิงมากเกินครึ่งของประเทศ หมายถึงหลักประกันขั้นพื้นฐาน หญิงชายเท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติ จำเป็นต้องเขียนให้ชัดที่เป็นบทเรียนจากรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ จึงต้องมีสัดส่วนหญิงชายในการตัดสินใจทุกมิติและทุกระดับ”
“ข้อเสนอ สิทธิเสรีภาพ จำเป็นต้องบรรจุข้อเสนอทางการเมืองของขบวนแรงงานไว้ด้วยเพื่อมีตัวแทน เช่นให้แรงงานเขามีสิทธิเลือกตั้งส.ส.ในพื้นที่ทำงาน เพื่อให้ส.ส.ต้องฟังเสียงของแรงงาน รวมถึงหลักประกันเรื่องสิทธิเสรีภาพการรวมตัวและมีส่วนร่วม”
“เรื่องสวัสดิการต้องไม่รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการ ก็ควรกระจายทั้งโครงสร้าง อำนาจบริหาร เงินทุน ไปที่ท้องถิ่นที่มีสิทธิจัดการตนเอง เพราะจะทำให้เข้าใจปัญหา เด็ก ผู้พิการ ผู้หญิง และผู้สูงอายุ”
ติดตามรายการ ๑๐๑ ปฏิรูปกฎหมายประชาชนกับ คปก. ทุกวันจันทร์/อังคาร/พุธ เวลา ๒๐.๓๐-๒๑.๐๐ น.
วันพุธที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๙ เวลา ๒๐.๓๐-๒๑.๐๐ น. เสนอ "มิติการปฏิรูปกฎหมายกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ" สัมภาษณ์คุณสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมายชุดที่ ๑ ประเด็นข้อเสนอผู้หญิง สวัสดิการสังคมและแรงงาน
ดำเนินรายการ นางสาวอารีวรรณ จตุทองและนางรัชดา วรกุลww.lrct.go.th/th/?p=18849