วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทสัมภาษณ์ในนิตยสาร "หญิงไทย" ปีที่ 22 ปักษ์แรก ตุลาคม 2540


บทสัมภาษณ์ในนิตยสาร "หญิงไทย"  เมื่อปี 2540
เรื่อง " สุนี ไชยรส จากผู้ต้องหา คอมมิวนิสต์ สู่ 
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ"





http://comradeblogcom.blogspot.com/2014/02/22-2540.html#links













วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

"๒๑ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน สืบสานเจตนารมณ์และจิตใจกล้าหาญ"

                       
แนะนำหนังสือจากห้องสมุด กสม.


                           " ๒๑ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน"
                     สืบสานเจตนารมณ์และจิตใจกล้าหาญ

       กองบรรณาธิการ..  จรัล พากเพียร  สุนี ไชยรส  นภัทร รัชตะวรรณ








http://comradeblogcom.blogspot.com/2014/02/blog-post_2364.html

จัดพิมพ์โดย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 










.."สิทธิมนุษยชน" : สิทธิความเป็น"คน"และ"ชุมชน" โดย สุนี ไชยรส


แนะนำหนังสือจากห้องสมุด กสม.

 "สิทธิมนุษยชน :
 สิทธิความเป็น "คน" และ "ชุมชน" 

โดย สุนี ไชยรส 





http://comradeblogcom.blogspot.com/2014/02/blog-post_1357.html#links

จัดพิมพ์โดย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รัฐธรรมนูญกับบทเรียนของ กสม. รวมบทความและบทสัมภาษณ์ สุนี ไชยรส

           
 รัฐธรรมนูญกับบทเรียนของ กสม.

รวมบทความและบทสัมภาษณ์ สุนี ไชยรส

http://comradeblogcom.blogspot.com/2014/02/blog-post_5984.html






http://comradeblogcom.blogspot.com/2014/02/blog-post_5984.html



จัดพิมพ์โดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ












คู่มือปกป้องสิทธิเสรีภาพ เล่ม ๑ เมื่อ "ฉัน" ถูกละเมิดสิทธิการต่อสู้เพื่อสิทธิจากเกิดจนถึงตาย

   คู่มือปกป้องสิทธิเสรีภาพ เล่ม ๑ ...
เมื่อ "ฉัน" ถูกละเมิดสิทธิ
การต่อสู้เพื่อสิทธิจากเกิดจนถึงตาย 
                                                                                         เล่าโดย สุนี ไชยรส 








จัดพิมพ์โดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

http://comradeblogcom.blogspot.com/2014/02/blog-post_23.html



















วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สุนี ไชยรส :ภูซางอำไพ: เฟมินิสต์ ๑๔ ตุลา :การหลอมรวมอุดมการณ์ เฟมินิสต์ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ตอน๑ (เฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี วันสตรีสากล)

สุนี ไชยรส :ภูซางอำไพ: เฟมินิสต์ ๑๔ ตุลา :การหลอมรวมอุดมการณ์ เฟมินิสต์ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ตอน๑ (เฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี วันสตรีสากลมีการโฆษณาว่าเฟมินิสต์ไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว  แต่จริงๆแล้วมันยังมีชีวิต    และกำลังเติบโตไปข้างหน้า      เราต้องเรียนรู้จากอดีตและทำงานเพื่ออนาคต    ที่หลักการของเฟมินิสต์จะถูกนำมาปฏิบัติในทุกมิติของชีวิต         ทั้งส่วนตัวและนโยบายสาธารณะ    เพราะเฟมินิสต์เป็นการต่อสู้เพื่อทุกคน

                                                        เบลล์    ฮู้คส์  (bell hooks)  http://comradeblogcom.blogspot.com/2011/01/blog-post.html

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คปก.กับยุทธศาสตร์หลักด้านสวัสดิการสังคม


คปก. ..กับยุทธศาสตร์หลักด้านสวัสดิการสังคม
 “ลดความเหลื่อมล้ำ  สร้างความเป็นธรรม”

                                                                        สุนี  ไชยรส  

                                             ประธานกก.พิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม


            รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ บัญญัติให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) เป็นองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายที่ดำเนินการเป็นอิสระ  รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญ   โดยต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมาย   คปก.จึง กำหนดวิสัยทัศน์ว่า  “เป็น องค์กรหลักของชาติที่ดำเนินการเป็นอิสระ ในการปรับปรุง และพัฒนากฎหมายทั้งระบบ  บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน   มุ่งขจัดความเหลื่อมล้ำ เพื่อสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม”
            คปก.ได้กำหนดยุทธศาสตร์สำคัญเร่งด่วน ๙ ด้าน ใน ๔ ปีแรกคือ ด้านสวัสดิการสังคม   ด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติแล สิ่งแวดล้อม  ด้านการกระจายอำนาจและ การมีส่วนร่วม ของประชาชน ด้านกระบวนการยุติธรรมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ  ด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ 
 


แนวคิดและทิศทางดำเนินงานของ คปก.ด้านสวัสดิการสังคม
            แนวคิดพื้นฐาน...คือการปฏิรูปกฎหมายทั้งระบบ ที่มุ่งให้ คน” มีความมั่นคงทางสังคม มีคุณภาพชีวิตที่ดีตั้งแต่ในครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน  ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อรัฐยึดหลักสิทธิมนุษยชน เคารพศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์  ยึดหลักสิทธิเสรีภาพ  ความเสมอภาค  และใช้หลักประชาธิปไตย ทางตรงและแบบมีส่วนร่วม   รัฐและหน่วยงานของรัฐทุกระดับ กำหนดนโยบายและบังคับใช้ กฎหมายที่มีเป้าหมายและเจตนารมณ์ที่จะลดความ เหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรม  รวมทั้ง กระจายอำนาจ และให้ประชาชนมีส่วนร่วม รวมทั้งให้มีการตรวจสอบบนหลักความโปร่งใส ได้ตลอดทุกขั้นตอน  ทั้งนี้  ยึดหลักการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
               ในการปฏิรูปกฎหมายทั้งระบบ  คปก.พิจารณาตรวจสอบและพัฒนากฎหมาย ทั้งกฎหมายหลัก  กฎหมายลำดับรอง โดยให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการร่างกฎหมาย   เนื้อหาของกฎหมาย  ผลการบังคับใช้   จนถึงการวินิจฉัยและการตีความ   บนฐานความเชื่อมั่นว่า  กฎหมายไม่ได้เพียงอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล รัฐสภาและ นักกฎหมายเท่านั้น  แต่เป็นความรับผิดชอบของประชาชนทุกคนด้วย การปฏิรูปกฎหมาย จึงไม่สามารถปฏิรูปเฉพาะตัวบทกฎหมายเท่านั้น  แต่เป็นหน้าที่ที่ประชาชน ต้องมีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม  กำหนด  พัฒนา  ตรวจสอบ และติดตามการบังคับใช้   คปก. จึงมีบทบาทหน้าที่โดยตรง ในการส่งเสริมสนับสนุนการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน  ซึ่งถือเป็นหลักประชาธิปไตยทางตรงตามรัฐธรรมนูญ
          คปก.ด้านสวัสดิการสังคมได้อาศัยยุทธศาสตร์ภาพรวมของ คปก. ในการวิเคราะห์ และดำเนินงานอย่างเชื่อมโยง โดยมีเครือข่าย”  “องค์ความรู้”  และ  บุคลากรสำนักงาน คปก.” เป็นพลังสนับสนุนการทำงานที่สำคัญ  ดังภาพ


            ทิศทางดำเนินงาน..กำหนดยุทธศาสตร์ ๔ ปีของ คปก.ด้านสวัสดิการสังคม
            คปก.ด้านสวัสดิการสังคม รับฟังผู้เชี่ยวชาญทั้งจากรัฐ เอกชน มาให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอ แนะ  ศึกษาค้นคว้างานวิจัย บทเรียน สถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย  จากในประเทศ และต่างประเทศ  รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  และจัดทำรายงานการ ศึกษาเบื้องต้น เพื่อพัฒนาแนวคิดและองค์ความรู้ที่นำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ใน ๔ ปี ดังนี้

๑)   การพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่จะเอื้อต่อการพัฒนาสวัสดิการสังคมทั้งระบบ  จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่า มีกฎหมายประมาณ ๗๐  ฉบับที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐหลายแห่ง แต่ยังมีข้อจำกัดในการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพไม่ทั่วถึง และไม่ครบถ้วน  รวมทั้งมีความลักลั่น ไม่เสมอภาคกัน  ในทุกช่วงอายุนับตั้งแต่เกิดจนตาย / ในช่วงวัยเด็กและเยาวชน อาทิ สุขภาพ การศึกษา  ฯลฯ /ในช่วงวัยทำงาน อาทิ รายได้ การมีงานทำ ความปลอดภัยในการทำงาน ฯลฯ / ในช่วงวัยเกษียณอายุ การดูแลผู้สูงอายุ / การดูแลคนพิการ/การคุ้มครอง ดูแลกลุ่มพิเศษ เช่น คนจน ผู้ด้อยโอกาส คนไร้สัญชาติ ผู้พ้นโทษ ฯลฯ
                  คปก.กำลังศึกษาและพัฒนาร่างกม.ที่ดูแลสวัสดิการสังคมทั้งระบบ...

๒)   การพัฒนากฎหมายว่าด้วยสวัสดิการผู้สูงอายุ” เป็นกรณีพิเศษ                                                 ด้วยสถานการณ์โครงสร้าง ประชากรที่มีผู้สูงอายุจำนวนเพิ่มขึ้น  ซึ่งเป็นเรื่องดีที่คนอายุยืนและมีประสบการณ์มีจำนวนเพิ่มขึ้น  แต่กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการผู้สูงอายุ  ทั้งการดูแลสุขภาพ เงินออม  การดูแลจาก ครอบครัวและชุมชน  มีกระจัดกระจายหลายรูปแบบ  อีกทั้งยังอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงต่าง ๆ หลายกระทรวง   คปก.ด้านสวัสดิการสังคม จึงเห็นความสำคัญที่จะต้องศึกษาและทบทวนกฎหมายเดิม รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  โดยเฉพาะจากองค์กรผู้สูงอายุ ภาคประชาสังคม ละ หน่วยงานรัฐ เพื่อร่างกฎหมายใหม่ให้มีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ กว่าเดิม  
                 หลังจากมีเวทีรับฟัง ๔ ภาค  นำมาร่างพ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พ.ศ.....เพื่อรับฟังความเห็นอีก ก่อนเสนอ คปก.ซึ่งในที่สุดคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายมีมติเห็นชอบ"บันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง แนวทางการตรากฎหมายว่าด้วยสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ พร้อม ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พ.ศ... " นำเสนอต่อ รัฐบาล  สาธารณะ และสภา

            ๓) การพัฒนากฎหมายด้านแรงงาน  ตั้งแต่การคุ้มครองแรงงาน  ระบบประกันสังคม การแรงงาน สัมพันธ์  การจัดทำประมวลกฎหมายแแรงงาน จนถึงกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงาน ทั้งในระบบการบริหารและวิธีการพิจารณาของศาลแรงงาน และการเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
            การสร้างระบบสวัสดิการสังคมให้มีความมั่นคงตลอดชีวิต และมีหลักประกันพื้นฐานในชีวิต โดยไม่ต้องรอการสงเคราะห์จากรัฐยกเว้นในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น  เป็นเรื่องสำคัญที่สุดเพื่อให้ทุกคนสามารถดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์   คนทำงานจึงเป็นข้อต่อสำคัญที่สุดของครอบครัวทุกครอบครัว  นับตั้งแต่การดูแลตัวเอง ดูแลลูกหลาน  ดูแลพ่อแม่ญาติพี่น้อง  นั่นคือ การสร้างฐานชีวิตที่มั่นคง ตั้งแต่เกิดจนถึงชราภาพ โดยเฉพาะในเรื่อง การดูแลสุขภาพ  อนามัย ความปลอดภัย ในชีวิตการทำงาน หรือแม้แต่ในยามที่พิการ  คปก.ด้านสวัสดิการสังคม จึงจัดแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายแรงงาน ขึ้น เพื่อทำการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะ
            จากการศึกษากฎหมายแรงงานหลายฉบับ พบว่า  กฎหมายแต่ละฉบับยังมีปัญหาในเรื่องเนื้อหาสาระอีกทั้งเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายในภาพรวม ยังมีความลักลั่น เช่น คำนิยามที่ต่างกัน  เป็นช่องว่างทำให้คนทำงานจำนวนมากไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน  กฎหมายประกันสังคม  นอกจากนี้ ยังขาดกฎหมายที่จะเป็นกลไกคุ้มครอง การรวมกลุ่ม การเจรจาต่อรอง  อีกทั้งในการบังคับใช้กฎหมาย ยังมีปัญหากระบวนการยุติธรรม ทั้งในส่วนที่เป็นกลไกบริหารของรัฐ และวิธีการพิจารณาคดีของศาลแรงงาน  เมื่อประกอบกับสภาพ สังคมที่มีความเหลื่อมล้ำมีช่องว่างระหว่างคนจนคนรวยอย่างมาก  โดยเฉพาะการที่คนส่วนใหญ่ของสังคมยังขาดปัจจัยการผลิต รวมทั้งที่ดินทำกิน  ทุนประกอบอาชีพอิสระ รวมตลอดถึง ระบบค่าจ้างและสวัสดิการ ในการทำงานที่ต่ำ ส่งผลทำให้ระบบสวัสดิการสังคมยิ่งอ่อนแอ
              นอกจากศึกษา และรณรงค์สนับสนุนร่างกม.เข้าชื่อของประชาชนหลายฉบับ เช่น กม.ประกันสังคม  กม.คุ้มครองแรงงาน กม.แรงงานสัมพันธ์  ...ที่ตอนนี้มีการยุบสภา  ทำให้ต้องเริ่มการขับเคลื่อนกันใหม่...คปก.ชุดสวัสดิการสังคม กำลังเร่งร่างประมวลกฎหมายแรงงาน

            ๔) การสร้างหลักประกันที่เป็นธรรมในการคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการทางสาธารณสุข   
          ประชาชนได้เข้าชื่อเสนอร่าง กฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการทางสาธารณสุข ต่อรัฐสภา และรัฐบาลได้ยืนยันรับรองให้นำสู่การพิจารณาต่อไปได้  แต่กระนั้น สภาผู้แทนราษฎรยังคงไม่พิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว  ประกอบกับเรื่องนี้ มีกลุ่มผู้เกี่ยวข้องหลายกลุ่มที่มี มุมมองแตกต่างกันมากก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม  คปก.ด้านสวัสดิการสังคมจึงแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการพิจารณา กฎหมายด้านสาธารณสุข เพื่อศึกษาและจัดทำร่างกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจาก บริการทางสาธารณสุข โดยได้นำร่างกฎหมายดังกล่าวรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มต่างๆ กลุ่มสภาวิชาชีพต่างๆทางสาธารณสุข  กลุ่มผู้เสียหาย  ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคประชาสังคม นักวิชาการเพื่อหาทางผ่าทางตันนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่มีมุมมองแตกต่างกัน สู่ความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาต่อไป
          ขณะนี้ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายได้เสนอบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่องแนวทางการตราร่างกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข  ต่อรัฐบาล  สภา ต่อประชาชน  เรียบร้อยแล้ว

            ) การพัฒนา"ร่างข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงาน "   ด้วยประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี ๒๕๕๘ ให้ความสำคัญประชาคมอาเซียนทั้งสามด้านหลัก ควบคู่ไปด้วยกัน คือ ทั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคง  ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมด้านสังคมวัฒนธรรม   ขณะที่ประเทศไทยเน้นแต่ประชาคมเศรษฐกิจ ละเลยการเตรียมการด้านสังคม โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแรงงานและ สิ่งแวดล้อม  คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายจึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านประชาคมอาเซียน  เพื่อศึกษา สถานการณ์ปัญหา  รวมทั้งการทำงานร่วมกับเครือข่ายทั้งในและ ต่างประเทศ และประสานความร่วมมือทั้ง กับภาครัฐและภาคประชาสังคม องค์การระหว่างประเทศ ในการพัฒนา มาตรฐานแรงงานเดียวในประเทศกลุ่มอาเซียน     และกำลังจัดทำ"ร่างข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงาน"  อยู่ระหว่างการรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาสังคม  ทั้งในประเทศและในภูมิภาคอาเซียน  โดยร่วมมือกับเครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญในประเทศ    เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมทั้งต่อคนไทย และต่อคนทำงานในประเทศอาเซียน  






กระบวนการทำงาน และการจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิรูปกฎหมายด้านสวัสดิการสังคม

๑)   การพัฒนาองค์ความรู้ จากผู้ทรงคุณวุฒิ และการศึกษาวิจัย    
ดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ จากเครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการ ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม มาร่วมทำงานในรูปแบบคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ  โดย คปก. ด้านสวัสดิการสังคม มีกรรมการ ปฏิรูปกฎหมาย ๔ คนเป็นหลักคือ นางสุนี  ไชยรส  นายชัยสิทธิ์  สุขสมบูรณ์  ศ.ดร.เสาวนีย์  อัศวโรจน์ และ นายไพโรจน์ พลเพชร  และมี คณะอนุกรรมการ ๓ คณะ คือ คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายสาธารณสุข  คณะอนุกรรมการด้านประชาคมอาเซียน และคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายแรงงาน 
ในส่วนงานวิจัยมีการจัดทำรายงานการศึกษาวิจัยแล้ว ๗ เรื่อง  ด้านกฎหมายสวัสดิการสังคม  ๒ เรื่อง คือ

-การศึกษาระบบสวัสดิการสังคม(ผ่านกฎหมาย ๖๒ ฉบับ ๑๗ กลุ่ม) และการศึกษาการจัดทำกฎหมายกลาง
ในการจัดสวัสดิการสังคม 
-ด้านกฎหมายแรงงาน ๒ เรื่องคือ การศึกษาเพื่อจัดทำร่างประมวลกฎหมายแรงงาน และ การพัฒนากระบวนวิธีพิจารณาคดีแรงงานในระบบไต่สวนของประเทศไทย
-ด้านประชาคมอาเซียน  มี ๒ เรื่อง คือแนวทางพัฒนามาตรฐานแรงงานในประชาคมอาเซียน  และ        การศึกษาวิจัยและจัดทำข้อเสนอกลไกที่เหมาะสม สำหรับการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานอาเซียน



           ๒)  การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาชน ในกระบวนการร่าง กฎหมายของประชาชน และการบังคับใช้กฎหมาย       
            จากการที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา มีผลทำให้ร่างกฎหมายทั้งหมดที่ค้างอยู่ขั้นตอน ของรัฐสภา ต้องตกไป เว้นแต่รัฐบาลใหม่ ยืนยันให้นำสู่การพิจารณาต่อและรัฐสภาเห็นชอบ  ในบรรดากฎหมายที่ต้องตกไปนั้น มีกฎหมายเข้าชื่อของประชาชนหลายฉบับ  คปก.จึงได้จัดการรับฟังความคิดเห็น เร่งด่วนจากกลุ่มต่าง ที่เกี่ยวข้องและมีมติให้ ยืนยันร่างกฎหมายเข้าชื่อของประชาชนทุกฉบับ  โดยเฉพาะในด้านสวัสดิการสังคม เช่น ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. ....  ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....  และ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ....
            ในช่วงที่ผ่านมา จากการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ผนวกกับงานศึกษาวิจัย  รวมทั้งการจัดเวทีสาธารณะเสนอปัญหาและข้อเสนอแนะต่อสังคม  คปก.ด้าน สวัสดิการสังคม ได้จัดทำบันทึก ความเห็นและข้อเสนอแนะ เสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย  นำไปสู่การนำ เสนอต่อรัฐบาล และรัฐสภา ในหลายกรณี   อาทิ

(๑) ข้อเสนอแนะต่อกฎหมายลำดับรอง และการบังคับใช้กฎหมาย  ช่น
...การเร่งรัดจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕   รวมทั้งข้อเสนอแนะต่อเนื้อหา  โดยเสนอไป ๒ ฉบับ     
...การบังคับใช้พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔
...ความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานและร่างข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ....
...ความเห็นและข้อเสนอแนะ ต่อการจัดทำร่างกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานประมงทะเล พ.ศ..

(๒) ข้อเสนอแนะต่อร่างกฎหมายเข้าชื่อของประชาชนที่เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร  เช่น
ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. ....  ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ พ.ศ. ....  และร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. ....และจัดทำแนวทางการตรา(พร้อมร่างประกอบ)ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.....  


            (๓) ข้อเสนอแนะต่อร่างกฎหมายของรัฐบาลที่เข้าสู่สภาฯ เช่น ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....


            (๔) ข้อเสนอแนะต่อกระบวนการพิจารณากฎหมายของสภาผู้แทนราษฎร เช่น กรณีสภาผู้แทนราษฎรไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับเข้าชื่อของประชาชน
             
            (๕)บันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง แนวทางการตรากฎหมาย และร่าง พ.ร.บ. ๒ ฉบับ..คือ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข  พ.ศ..และ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครอง และส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พ.ศ...





ข้อค้นพบและบทสรุป ...

            ในช่วงที่ผ่านมา คปก.ด้านสวัสดิการสังคม ยังไม่สามารถบรรลุผลตามความมุ่งหวังได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยบันทึกความเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ของ คปก. ยังไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลและรัฐสภา  อย่างไรก็ตาม คปก.ยึดมั่นว่า  การที่ประชาชนร่วมคิด  ริเริ่มกฎหมาย ร่วมพัฒนาและตรวจสอบกฎหมายด้วยตัวเอง คือหัวใจในการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน  ทำให้เกิดกระบวนการตรวจสอบการทำงานของรัฐ โดยเฉพาะการทำงาน ด้าน กฎหมายของหน่วยงานรัฐ และรัฐสภา  ตั้งแต่กระบวนการร่าง   เนื้อหากฎหมาย  การบังคับใช้ และ การวินิจฉัยตีความกฎหมาย  ด้วยหนทางนี้ จึงจะนำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายทั้งระบบ  ที่มีอุดมการณ์ และทิศทางที่ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ของคนทั้งสังคม  ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม และก่อเกิดผลที่ดีต่อสังคมและมนุษยชาติโดยรวม