วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ศึกษาประเด็การถกเถียงมาหลายปี เมื่ออบต.เปลี่ยนเป็นเทศบาล (สิทธิวิวาทะ)

การปฏิรูประบบประกันสังคม…เส้นทางที่คดเคี้ยวและสะดุดลง...โดย สุนี ไชยรส



การปฏิรูประบบประกันสังคม…เส้นทางที่คดเคี้ยวและสะดุดลง
                                                                                          สุนี ไชยรส(ไทยโพสต์

            สังคมไทยมีความพยายามพัฒนาแนวคิดและนโยบายในการจัดสวัสดิการสังคมมายาวนาน  โดยมีกฎหมาย เกี่ยวข้องหลายสิบฉบับ    รวมทั้งกฎหมายประกันสังคม ที่เริ่มขึ้นปี ๒๕๓๓  เพื่อหวังจะดูแลคุณภาพชีวิตพื้นฐาน ของคนในสังคมตั้งแต่เกิดจนตาย   แต่แนวคิดพื้นฐานและการดำเนินการของรัฐยังค่อนข้างกระจัดกระจายหลาย หน่วยงานและไม่ทั่วถึงครบถ้วนกลุ่มเป้าหมาย   แนวโน้มส่วนใหญ่เป็นการสงเคราะห์ต่อผู้ยากลำบาก ซึ่งยังจำกัด เฉพาะบางกลุ่ม  และมักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นภาระมหาศาลของรัฐแต่ฝ่ายเดียว  โดยไม่มีทางที่จะทำได้ กว้างขวาง ทั่วถึงและเป็นธรรม  เนื่องจากข้อจำกัดของระบบภาษี   เงินงบประมาณ บวกกับปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น ที่ฝังรากลึกทุกระดับในสังคมไทย
            อย่างไรก็ตาม  ระบบประกันสังคมของไทยที่ริเริ่มจากการผลักดันของแรงงาน นักวิชาการ ร่วมกับนายจ้าง และข้าราชการที่ก้าวหน้า  จนมี พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓  นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของการสร้าง พื้นฐานระบบสวัสดิการสังคม  โดยมีเจตนารมณ์เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข  และการร่วมมือจาก ๓ ฝ่าย คือนายจ้าง ลูกจ้าง และฝ่ายรัฐ  ทำให้มีระบบจ่ายเงินสมทบร่วมสามฝ่ายมาตั้งกองทุนประกันสังคม  มาดูแลสิทธิประโยชน์ที่พัฒนา ต่อมาถึงปัจจุบันใน ๗ กรณี  จนมีเงินทุนถึงกว่า ๑.๓ ล้านล้านบาท  และครอบคลุมผู้ประกันตนถึง ๑๓ ล้านคน            
            ต่อมา มีการเคลื่อนไหวรณรงค์ให้แก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓  มาอย่างต่อเนื่อง และเส้นทางคดเคี้ยวยาวนาน   โดยเฉพาะการเสนอร่างกฎหมายเข้าชื่อตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ จำนวน ๑๔,๒๖๔ รายชื่อของขบวนแรงงานในปี ๒๕๕๓    และต่อมามีการพัฒนาร่วมกับหลายองค์กร  ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ            (๑)หลักความเป็นอิสระ   สถานะและโครงสร้างการบริหารด้านประกันสังคมจะต้องมีความเป็นอิสระ  เป็นนิติบุคคลภายใต้การกำกับของรัฐ ที่ไม่ใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ  ผู้บริหารกองทุนควรมาจากการสรรหา            (๒)หลักความครอบคลุม โดยขยายความครอบคลุมแรงงานผู้ทำงานทุกคนทั้งภาครัฐและเอกชน   ที่ผ่านมาเน้นแต่แรงงานในระบบ  ยังไม่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ  ผู้รับงานไปทำที่บ้าน  และการจ้างงานที่มี หลากหลายรูปแบบในสถานการณ์ ปัจจุบัน   หรือมีการคุ้มครอง  แต่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกัน            (๓)หลักความโปร่งใสและมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน โดยให้ผู้ประกันตนทุกประเภท และนายจ้าง มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมฝ่ายตนได้โดยตรง  มีกรรมการบริหารการลงทุน  และคณะกรรมการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
            (๔)หลักยืดหยุ่น เป็นธรรม สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคม  ในการออกระเบียบต่างๆและเกณฑ์การ จ่ายเงินสมทบ และสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน            เส้นทางคดเคี้ยวยาวนาน และสะดุดลงหลายละลอกของการปฏิรูประบบประกันสังคม   เริ่มจากร่าง กฎหมายเข้าชื่อตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ของขบวนแรงงานเมื่อปี ๒๕๕๓   และตกไปเมื่อมีการยุบสภาฯปี ๒๕๕๔   แต่ก็ยังได้รับการรับรองจากรัฐสภาให้นำมาพิจารณาต่อในปลายปีนั้น    อย่างไรก็ตาม กว่าที่รัฐบาล(สมัยคุณยิ่งลักษณ์ฯ) จะเสนอร่างกฎหมายประกันสังคมของรัฐบาล และนำเข้าสู่วาระ การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรก็ผ่านไปจนถึง ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖  โดยมีร่างกฎหมายของพรรคการเมืองอีก สองฉบับประกบเข้าไปด้วย รวมฉบับของประชาชน เป็น ๔ ฉบับ            นั่นคือการสะดุดครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การพิจารณาร่างกฎหมายเข้าชื่อของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับเข้าชื่อของขบวนแรงงาน  ทำให้ไม่สามารถ ได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายรับรอง  ในการมีผู้แทนเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมาย ประกันสังคม จำนวน ๑ ใน ๓  ซึ่งสังคม  สื่อ และหลายองค์กรมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้อย่างมาก             แต่การพิจารณาร่างกฎหมายประกันสังคมของรัฐบาลนั้นก็ยุติลงปลายปี ๒๕๕๖ เมื่อมีการยุบสภาฯอีก              ขบวนแรงงานยื่นร่างกฎหมายฉบับเข้าชื่อนี้ฯให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อีกครั้งหนึ่งในวันที่  ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๗            แต่ในที่สุดรัฐบาลได้เสนอร่างกฎหมายประกันสังคมเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗  และผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติวาระ ๓ เมื่อ ๕ มีนาคม ๒๕๕๘
            มีข้อเสนอจากขบวนผู้ประกันตนให้นำร่างกม.เข้าชื่อของประชาชนมาพิจารณาประกอบด้วย  แต่ไม่ได้ รับความสนใจ ...เท่ากับเป็นการสะดุดลงครั้งที่ ๒…  รัฐบาลพลาดโอกาสในการรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย โดยตรงและโอกาสที่ดีในการร่วมมือกันปฏิรูประบบประกันสังคมอย่างจริงจัง...            แม้ว่าพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๕๘ ฉบับใหม่ที่ผ่านสภาจะยังไม่มีการปฏิรูปในประเด็นสำคัญคือ สถานะและโครงสร้างของการบริหารสำนักงานประกันสังคมที่เป็นอิสระ    แต่ก็ยังถือเป็นความหวังเบื้องต้น ของผู้ประกันตน   ที่บทบัญญัติในมาตรา ๘กำหนดไว้ในวรรค ๓ ว่า “ให้ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่าย ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายผู้ประกันตน  สัดส่วนระหว่างหญิงและชาย รวมทั้งการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิผลของคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้ง เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด”   ซึ่งกระทรวงแรงงาน ได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่างระเบียบต่างๆ และเตรียมจัดการเลือกตั้งตามกฎหมายกำหนดในเดือนเมษายน ๒๕๕๙ นี้ใกล้จะเสร็จแล้ว
            ผู้ประกันตน ๑๓ ล้านคน และกำลังมีทิศทางจะขยายครอบคลุมเพิ่มอีกตามกฎหมายใหม่ ควรอย่างยิ่งจะได้ ใช้สิทธิมีส่วนร่วมในการเลือกกรรมการกองทุน  ซึ่งกองทุนประกันสังคมเป็นกองทุนใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย และมาจากการร่วมจ่ายทั้งของคนทำงาน  นายจ้าง และรัฐบาล  กองทุนประกันสังคมไม่ใช่กองทุนของรัฐ


            แต่ในที่สุดก็เกิดการสะดุดใหญ่ครั้งที่ ๓  เมื่อคสช.มีคำสั่งที่ ๔๐ /๒๕๕๘ ใช้อำนาจ ม.๔๔  เมื่อ ๕ พ.ย.๕๘ ยุบคณะกรรมการ ประกันสังคมที่รักษาการรอคณะกรรมการชุดใหม่ที่กำลังจะมีการเลือกตั้งจากผู้ประกันตน นายจ้าง และจะมีการ สรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ   ไปจนถึงการยุบที่ปรึกษา คณะกรรมการการแพทย์ และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน                ที่สำคัญคือสั่งยกเลิกการเลือกตั้ง และการสรรหาที่จะเกิดขึ้นเดือนเมษายนทั้งหมด และตั้งคณะกรรมการ ประกันสังคมชุดใหม่  และคณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทนทันที   ให้มีวาระไป ๒ ปี โดยอ้างว่าเพื่อปฏิรูปประกัน สังคมให้โปร่งใส มีธรรมาภิบาล และเกิดประโยชน์สูงสุด และอ้างว่าเป็นการเรียกร้อง ของขบวนแรงงานด้วย            มีการวิพากษ์วิจารณ์จากแรงงานทั้งในและนอกระบบอย่างมาก ว่าไม่ใช่ทิศทางที่ควรจะเป็นของการปฏิรูป ระบบประกันสังคม             คำสั่ง คสช.นี้ทำให้เกิดความสงสัยว่า  คสช.เข้าใจปัญหาและทิศทางการปฏิรูประบบประกันสังคม จริงหรือไม่    การใช้มาตรา๔๔ แม้อาจจะคิดว่าเป็นความหวังดี และได้แต่งตั้งผู้แทนลูกจ้างบางคนเข้าร่วมด้วย แต่ประเด็นสำคัญที่ขัดขวางการปฏิรูประบบประกันสังคม คือการทำลายหลักการที่จะมีผู้แทนผู้ประกันตน อย่างโปร่งใส และเป็นที่ยอมรับ เชื่อมั่นของผู้ประกันตน   เป็นการทำลายรากฐานการปฏิรูปอย่างมีส่วนร่วม และไม่สามารถมีหลักประกันได้ว่า การถอยหลังเข้าคลองไปอีกสองปีนี้จะมีหลักประกันอะไรของการปฏิรูป
            กลุ่มเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนนั้น  ต้องเน้นที่ “คนทำงาน”ในทุกรูปแบบคือข้อต่อสำคัญ   นั่นคือการพัฒนาและปฏิรูประบบประกันสังคมให้ครอบคลุม คนทำงานอย่างกว้างขวางที่สุด  มีสิทธิประโยชน์ได้มากที่สุด  และมีการบริหารที่เป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม  มีความเป็นอิสระ โปร่งใส และตระหนักถึงความเป็นหุ้นส่วนทางสังคม  เพราะจะทำให้คนทำงานสามารถ ดูแลตนเอง  ครอบครัว  รวมถึงเด็กเล็ก  ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยได้
            ทางที่ดีที่สุดคือ ต้องให้กฎหมายประกันสังคมฉบับใหม่เดินหน้าการเลือกตั้งและการสรรหาต่อไป และจะดียิ่งขึ้นเมื่อรัฐบาลดำเนินการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมอีกครั้ง โดยการปฏิรูปโครงสร้างสำนักงาน และกองทุนประกันสังคมไปสู่ความเป็นอิสระจากส่วนราชการ และนักการเมือง โดยการมีส่วนร่วมคิดของ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  




วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ใช้ ม.44 ยุบกก.ประกันสังคม ยกเลิกการเลือกตั้ง และตั้งกก.ชุดใหม่ทันที...เป็นการปฏิรูปจริงหรือ? | iLaw.or.th

ใช้ ม.44 ยุบกก.ประกันสังคม ยกเลิกการเลือกตั้ง และตั้งกก.ชุดใหม่ทันที...เป็นการปฏิรูปจริงหรือ? | iLaw.or.โดย สุนี ไชยรส



 
จากคำสั่งคสช.40/2558 ใช้อำนาจ ม.44 แบบสายฟ้าแลบเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2558 สั่งยุบ กก.ประกันสังคมปัจจุบัน รวมทั้ง ที่ปรึกษา กก.การแพทย์ และ กก.กองทุนเงินทดแทน โดยอ้างว่าเพื่อการปฏิรูปประกันสังคม ให้โปร่งใส มีธรรมาภิบาล และเกิดประโยชน์สูงสุด และอ้างว่าเป็นข้อเรียกร้องของขบวนแรงงานด้วย
 
ในขณะที่ กม.ประกันสังคม เพิ่งแก้ไขใหม่ และจะมีการเลือกตั้ง กก.ประกันสังคม จากผู้แทนผู้ประกันตน และการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ ในเดือนเมษายน 2559 ซึ่งเป็นข้อเสนอที่สำคัญหนึ่งของขบวนผู้ประกันตนทั้งในระบบและนอกระบบ
 
คำสั่งคสช.นี้ ให้ยกเลิกการเลือกตั้งและการสรรหาทั้งหมด พร้อมกับแต่งตั้งคณะกรรมการสามชุดขึ้นใหม่ให้มีเวลา 2 ปีแทน ทำให้เกิดความสงสัยว่า คสช.เข้าใจปัญหาและทิศทางการปฏิรูประบบประกันสังคม จริงหรือไม่
 
ปัญหาความไม่โปร่งใส การมีปัญหาเชิงโครงสร้างที่จำกัดอยู่กับส่วนราชการ และการไม่มีผู้แทนผู้ประกันตนอย่างจริงจังและทั่วถึง เป็นเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ และเรียกร้องจากผู้ประกันตนซึ่งมีกว่า 10 ล้านคน มายาวนานหลายปี เพราะนโยบายและการจัดการยังไม่ตอบสนองสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนได้ดีพอ เงินกองทุนมีถึงกว่า 1 ล้านล้านบาท แต่ขาดระบบตรวจสอบที่เข้มแข็งและ.....จนมีการเสนอร่างกม.เข้าชื่อฉบับบูรณาการของขบวนคนทำงาน เสนอต่อรัฐบาลตั้งแต่รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ และเมื่อนำร่างกม.ของรัฐบาลเข้าสภา มติเสียงส่วนใหญ่จากรัฐบาล ก็มีมติไม่รับหลักการร่างกม.เข้าชื่อของผู้ประกันตน
 
รัฐบาลปัจจุบันนำร่างกม.ประกันสังคมฉบับแก้ไขเข้าสภาพิจารณาต่อ มีข้อเสนอจากขบวนผู้ประกันตนให้นำร่างกม.เข้าชื่อของประชาชนมาพิจารณาประกอบด้วย เพื่อการปฏิรูประบบประกันสังคมอย่างแท้จริง แต่ไม่ได้รับความสนใจ ...เท่ากับพลาดโอกาสในการรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงและร่วมมือกันปฏิรูประบบประกันสังคมอย่างจริงจัง...
 
อย่างไรก็ตาม กม.ใหม่ที่ผ่านสภาก็ยังเป็นความหวังเบื้องต้นของผู้ประกันตน ที่จะต้องมีการเลือกตั้งผู้แทนผู้ประกันตน และฝ่ายนายจ้าง เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกม.และโครงสร้างของกองทุนประกันสังคมในโอกาสต่อไป โดยเฉพาะการทำให้โครงสร้างของสำนักงานไม่ใช่ส่วนราชการ มีความเป็นอิสระมากขึ้น รวมทั้งมีนักลงทุนมืออาชีพมาบริหารกองทุน มีระบบการตรจสอบที่เข้มข้นและโปร่งใส...
 
การใช้มาตรา 44  แม้อาจจะคิดว่าเป็นความหวังดี และมีผู้แทนลูกจ้างบางคนเข้าร่วมด้วย แต่ได้ทำลายหลักการที่จะมีผู้แทนผู้ประกันตนอย่างโปร่งใส และเป็นที่ยอมรับ เชื่อมั่นของผู้ประกันตน และนายจ้างไป ...ทุกอย่างจะหยุดชะงัก ทำลายรากฐานการปฏิรูปอย่างมีส่วนร่วม และไม่สามารถมีหลักประกันได้ว่า การถอยหลังเข้าคลองไปอีกสองปีนี้จะมีหลักประกันอะไรของการปฏิรูป
 
ทางที่ดีที่สุดคือ ต้องให้กฎหมายประกันสังคมฉบับใหม่เดินหน้าการเลือกตั้งและการสรรหาต่อไป และดียิ่งขึ้นเมื่อรัฐบาลควรดำเนินการแก้ไขกม.ประกันสังคมอีกครั้ง ปฏิรูปโครงสร้างสำนักงานและกองทุนประกันสังคมไปสู่ความเป็นอิสระจากส่วนราชการ และนักการเมือง โดยการมีส่วนร่วมคิดของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

4 “วันนิคม จันทรวิทุร”ครั้งที่ 13 ประจำปี 2558









กำหนดการสัมมนา
งาน “วันนิคม จันทรวิทุร” 
ครั้งที่ 13 ประจำปี 2558
เรื่อง “การประกันสังคมไทย: 
25 ปี ของความสำเร็จ สภาพปัญหา
และ มิติใหม่ในการดำเนินดำเนินงาน”
วันพุธที่ 28 ตุลาคม 2558 ณ ห้องประชุมจอมพล ป. ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน
จัดโดย
กระทรวงแรงงาน
สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่า­งประเทศ และ มูลนิธินิคม จันทรวิทุร
12:45 - 13:10 น. แนะนำการจัดงานและวีดิทัศน์ประวัติและผลงา­นศาสตราจารย์นิคม จันทรวิทุร
13:10 - 13:15 น. กล่าวรายงานการจัดงานโดย
นายฐาปบุตร ชมเสวี ประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธินิคม จันทรวิทุร
13:15 - 13:30 น. กล่าวเปิดงาน โดย
• ม.ล. ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน
13:30 - 13:45 น. การแนะนำองค์ปาฐก โดย
• อาจารย์พงศักดิ์ เปล่งแสง กรรมการ มูลนิธินิคม จันทรวิทุร
13:45 – 14:15 น. ปาฐกถาหัวข้อ “การประกันสังคมไทยในรอบ 25 ปี ที่ผ่านมา และข้อเสนอเพื่ออนาคตของความมั่นคงทางสังค­มไทย” โดย
• รองศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาแรงงาน ฝ่ายการวิจัยทรัพยากรมนุษยและพัฒนาสังคม สถาบนวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
14:15 – 15:30 น. การอภิปรายเชิงนโยบาย หัวข้อ “การประกันสังคมไทย: 25 ปี ของ
ความสำเร็จ สภาพปัญหา และ มิติใหม่ในการดำเนินงาน” โดย
• เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม
• นางสิริวัน ร่มฉัตรทอง เลขาธิการ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย
• นางสุนี ไชยรส อดีตรองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
• นายพนัส ไทยล้วน สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย
• ดร.โชคชัย สุทธาเวศ เลขาธิการ มูลนิธินิคม จันทรวิทุร และอาจารย์คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ดำเนินการอภิปราย)
15:30 -16:00 น. ร่วมแสดงความคิดเห็นและซักถามโดยผู้เข้าร่­วมสัมมนา
16:00 - 16:15 น. การให้ความเห็นต่อการปาฐกถาและการอภิปราย โดย
• ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่า­งประเทศ