วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

(๒) กระบวนการสรรหา กสม. ชุดที่ ๒ : ความเปลี่ยนแปลงหลักที่ถูกวิพากษ์ ควรบันทึกไว้ ณ ที่นี้ว่ารัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ได้สร้างปัญหาต่อ กสม.ไว้หลายประการ ซึ่ง กสม.และภาคประชาชนได้ทักท้วงในช่วงเวลานั้น ด้วยการแถลงข่าว และมีบันทึกเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่เริ่มต้น จน กสม.ได้นำเสนอร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ “เจตนารมณ์ประชาชน” ฉันเองก็ได้พูดในเวทีอภิปรายต่างๆ รวมทั้งในรายการวิทยุและโทรทัศน์ และเขียนวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์เป็นการส่วนตัว แต่ไม่เป็นผล คงต้องรอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ในโอกาสต่อไป ปัญหาที่สำคัญประการแรก คือ มีการลดทอนจำนวน กสม. จาก ๑๑ คน เหลือ ๗ คนอย่างไม่มีเหตุผล ทั้งที่ภารกิจด้านสิทธิมนุษยชนมีมิติที่กว้างขวาง ซับซ้อน ต้องการความหลากหลายของประสบการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพ มีภารกิจทั่วประเทศ ต้องดำเนินการทั้งการตรวจสอบ การรณรงค์วัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน และการเสนอแนะต่อกฎหมาย นโยบายของรัฐ รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่เพิ่มในการเสนอและฟ้องต่อศาลต่างๆอีกด้วย ปัญหาที่สำคัญประการที่สอง คือ การทำลายจุดเด่นและจุดแข็งของกระบวนการและองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา กสม. และผูกปมให้ภาคประชาสังคมต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ในโอกาสที่จะมีต่อไป จากเดิมที่ไม่มีการบัญญัติกระบวนการสรรหาไว้ในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ แต่อยู่ใน พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ โดยมีคณะกรรมการสรรหา ๒๗ คนที่ยึดโยงกับภาคประชาสังคมต่างๆ คือจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่มีการขึ้นทะเบียน และเลือกกันเองเหลือ ๑๐ คน สื่อมวลชน จากหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ รวม๓ คน นักวิชาการ จากการให้อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล เลือกกันเอง ๕ คน ร่วมกับพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ๕ คน ร่วมกับประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา อัยการสูงสุด และนายกสภาทนายความ ซึ่งหากเห็นว่ามีจุดอ่อนก็สามารถปรับปรุงแก้ไขได้บ้าง เพราะเป็นเพียงกฎหมาย แต่กลับไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ที่จะแก้ไขได้ยาก และกลับเป็นการเปลี่ยนจุดเด่นขององค์ประกอบและกระบวนการสรรหา กสม.ให้กลายเป็นจุดด้อยและจุดอ่อน ด้วยการออกแบบจำกัดให้คณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระต่าง ๆ เป็นชุดเดียวกันเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะ กสม. ที่ตัดขาดการยึดโยงกรรมการสรรหากับภาคประชาสังคมทั้งหมด บัญญัติให้มีกรรมการสรรหา กสม. เพียง ๗ คน จากประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด ผู้ที่ถูกเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของตุลาการศาลฏีกา ๑ คน และผู้ที่ถูกเลือกจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ๑ คน และจากนักการเมือง ๒ คน คือประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฏร เดิมในกฎหมาย กสม.ปี ๒๕๔๒ กำหนดให้คณะกรรมการสรรหา เสนอรายชื่อ กสม.จำนวน ๒ เท่าของ กสม. ที่จะเลือกต่อวุฒิสภา เช่น เสนอรายชื่อ ๒๒ คน ให้วุฒิสภาเลือก ๑๑ คน ในกรณีเลือกใหม่ทั้งคณะ หรือสองเท่าของจำนวนที่ต้องคัดเลือกใหม่ เมื่อ กสม.ว่างลงด้วยเหตุต่างๆ โดยที่รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ออกแบบให้วุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง เป็นผู้ใช้อำนาจเลือกองค์กรอิสระแทนประชาชน แต่รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ กลับให้คณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อ กสม. เพียงเท่าจำนวนที่ต้องการคัดเลือก วุฒิสภามีหน้าที่เพียงเห็นชอบหรือไม่เท่านั้น ไม่มีสิทธิเลือก ถ้าไม่เห็นชอบทั้งหมด หรือรายบุคคล แต่คณะกรรมการสรรหามีมติเอกฉันท์ยืนยันรายชื่อดังกล่าว วุฒิสภาก็ไม่มีสิทธิทักท้วงใดๆ ทั้งยังออกแบบองค์ประกอบของวุฒิสภา จาก ๑๕๐ คนให้มาจากการเลือกตั้ง ๗๖ คน จากการสรรหา ๗๔ คน โดยกรรมการสรรหาวุฒิสมาชิกก็มาจากองค์ประกอบเพียง ๗ คน การขาดการยึดโยงกับภาคประชาสังคม และไม่มีการถ่วงดุลพินิจของกรรมการสรรหา จึงน่าจะเป็นจุดด้อยที่สำคัญ การเป็น กสม. ที่มีภารกิจหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี ประกอบกับความเชื่อมโยงจากการเคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทำให้ฉันมีโอกาสได้พูด ได้เขียนเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากวาระครบรอบ ๔ ปี จนถึง ๘ ปีของรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ จนต่อมาได้เขียนวิจารณ์กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ และเนื้อหาบางส่วนของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ไว้ด้วย ควรต้องบันทึกไว้อีกเช่นกันว่า กสม.มีความพยายามประสานงานกับประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อ กสม. จะได้นำเสนอปัญหาและบทเรียนจากการใช้รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนการยกร่าง แต่ได้รับการปฏิเสธ สภาร่างฯกลับกำหนดวิธีการให้ กสม.เสนอข้อคิดเห็นในเวทีรับฟัง ๑๒ องค์กรที่กำหนดในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.๒๕๔๙ ด้วยวิธีการนี้ ทำให้ กสม. ปฏิเสธที่จะดำเนินการร่วมด้วย เพราะไม่มีประโยชน์ใดๆ ในช่วงร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ กสม. จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นกับเครือข่ายต่างๆทุกภูมิภาค ฉันร่วมรับฟังด้วยในทุกเวที ทั้งในฐานะ กสม. และในฐานะประธานกรรมการการพัฒนาเครือข่าย ของสำนักงาน กสม. เราพยายามเชิญผู้แทนสภาร่างรัฐธรรมนูญมาร่วมรับฟังด้วย ซึ่งคุณเดโช สวนานนท์มาร่วมด้วย สองเวที กสม.มีข้อเสนอแนะอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมือง และกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และเสนอในการแถลงข่าว ๓ ครั้ง คือ -วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ เรื่อง “ต้องประกันความอิสระและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง ในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปการเมือง” -วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๐ มีข้อเสนอแนะทบทวนพระราชกฤษฎีกา เรื่อง “ข้อโต้แย้งหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ” -วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๐ กสม. ร่วมกับ สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล(อ.บ.ต.)แห่งประเทศไทย ยื่นข้อเสนอต่อประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่รัฐสภา เรื่อง “ข้อเสนอปฏิรูปการเมือง กรอบการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นบนฐานคิดใหม่” วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ กสม.จัดแถลงข่าว เรื่อง “รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยต้องเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” และ กสม.ได้จัดพิมพ์ รัฐธรรมนญฉบับเจตนารมณ์ประชาชน เผยแพร่ต่อสาธารณะและองค์กรเครือข่ายทั่วประเทศหลายหมื่นเล่ม



"๗ ปีแห่งคุณค่าการเรียนรู้ใน กสม."
                           (๒) 
กระบวนการสรรหา กสม. ชุดที่ ๒ :
 ความเปลี่ยนแปลงหลักที่ถูกวิพากษ์



 ควรบันทึกไว้    ที่นี้ว่ารัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐  ได้สร้างปัญหาต่อ กสม.ไว้หลายประการ   ซึ่ง กสม.และภาคประชาชนได้ทักท้วงในช่วงเวลานั้น  ด้วยการแถลงข่าว  และมีบันทึกเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่เริ่มต้น  จน กสม.ได้นำเสนอร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับเจตนารมณ์ประชาชน  ฉันเองก็ได้พูดในเวทีอภิปรายต่างๆ   รวมทั้งในรายการวิทยุและโทรทัศน์   และเขียนวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์เป็นการส่วนตัว    แต่ไม่เป็นผล   คงต้องรอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ในโอกาสต่อไป[1]

ปัญหาที่สำคัญประการแรก  คือ มีการลดทอนจำนวน กสม. จาก ๑๑ คน เหลือ ๗ คนอย่างไม่มีเหตุผล    ทั้งที่ภารกิจด้านสิทธิมนุษยชนมีมิติที่กว้างขวาง  ซับซ้อน  ต้องการความหลากหลายของประสบการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพ   มีภารกิจทั่วประเทศ    ต้องดำเนินการทั้งการตรวจสอบ   การรณรงค์วัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน  และการเสนอแนะต่อกฎหมาย  นโยบายของรัฐ   รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่เพิ่มในการเสนอและฟ้องต่อศาลต่างๆอีกด้วย   





ปัญหาที่สำคัญประการที่สอง   คือ  การทำลายจุดเด่นและจุดแข็งของกระบวนการและองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา  กสม.    และผูกปมให้ภาคประชาสังคมต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ในโอกาสที่จะมีต่อไป   จากเดิมที่ไม่มีการบัญญัติกระบวนการสรรหาไว้ในรัฐธรรมนูญ  ๒๕๔๐    แต่อยู่ใน พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒   โดยมีคณะกรรมการสรรหา  ๒๗ คนที่ยึดโยงกับภาคประชาสังคมต่างๆ    คือจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่มีการขึ้นทะเบียน และเลือกกันเองเหลือ  ๑๐ คน  สื่อมวลชน จากหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ รวม๓ คน นักวิชาการ จากการให้อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล เลือกกันเอง  ๕  คน ร่วมกับพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ๕ คน  ร่วมกับประธานศาลรัฐธรรมนูญ   ประธานศาลฎีกา   อัยการสูงสุด และนายกสภาทนายความ    ซึ่งหากเห็นว่ามีจุดอ่อนก็สามารถปรับปรุงแก้ไขได้บ้าง  เพราะเป็นเพียงกฎหมาย     แต่กลับไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ที่จะแก้ไขได้ยาก   และกลับเป็นการเปลี่ยนจุดเด่นขององค์ประกอบและกระบวนการสรรหา กสม.ให้กลายเป็นจุดด้อยและจุดอ่อน   ด้วยการออกแบบจำกัดให้คณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระต่าง ๆ เป็นชุดเดียวกันเกือบทั้งหมด 

โดยเฉพาะ  กสม. ที่ตัดขาดการยึดโยงกรรมการสรรหากับภาคประชาสังคมทั้งหมด     บัญญัติให้มีกรรมการสรรหา กสม. เพียง ๗ คน    จากประธานศาลฎีกา   ประธานศาลรัฐธรรมนูญ    และประธานศาลปกครองสูงสุด     ผู้ที่ถูกเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของตุลาการศาลฏีกา ๑ คน   และผู้ที่ถูกเลือกจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด  ๑ คน   และจากนักการเมือง ๒ คน   คือประธานสภาผู้แทนราษฎร      และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฏร     

เดิมในกฎหมาย กสม.ปี ๒๕๔๒  กำหนดให้คณะกรรมการสรรหา  เสนอรายชื่อ กสม.จำนวน ๒ เท่าของ กสม. ที่จะเลือกต่อวุฒิสภา   เช่น  เสนอรายชื่อ  ๒๒ คน ให้วุฒิสภาเลือก ๑๑ คน  ในกรณีเลือกใหม่ทั้งคณะ  หรือสองเท่าของจำนวนที่ต้องคัดเลือกใหม่  เมื่อ กสม.ว่างลงด้วยเหตุต่างๆ     โดยที่รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ออกแบบให้วุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง   เป็นผู้ใช้อำนาจเลือกองค์กรอิสระแทนประชาชน      แต่รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ กลับให้คณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อ กสม. เพียงเท่าจำนวนที่ต้องการคัดเลือก      วุฒิสภามีหน้าที่เพียงเห็นชอบหรือไม่เท่านั้น   ไม่มีสิทธิเลือก    ถ้าไม่เห็นชอบทั้งหมด หรือรายบุคคล    แต่คณะกรรมการสรรหามีมติเอกฉันท์ยืนยันรายชื่อดังกล่าว   วุฒิสภาก็ไม่มีสิทธิทักท้วงใดๆ     ทั้งยังออกแบบองค์ประกอบของวุฒิสภา  จาก ๑๕๐ คนให้มาจากการเลือกตั้ง ๗๖ คน จากการสรรหา ๗๔ คน  โดยกรรมการสรรหาวุฒิสมาชิกก็มาจากองค์ประกอบเพียง ๗ คน[2]    การขาดการยึดโยงกับภาคประชาสังคม  และไม่มีการถ่วงดุลพินิจของกรรมการสรรหา  จึงน่าจะเป็นจุดด้อยที่สำคัญ

การเป็น กสม.   ที่มีภารกิจหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ  และพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี     ประกอบกับความเชื่อมโยงจากการเคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐    ทำให้ฉันมีโอกาสได้พูด   ได้เขียนเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง  เริ่มจากวาระครบรอบ ๔ ปี จนถึง ๘ ปีของรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ  ๒๕๔๐    จนต่อมาได้เขียนวิจารณ์กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ  และเนื้อหาบางส่วนของรัฐธรรมนูญ  ๒๕๕๐ ไว้ด้วย [3]






                ควรต้องบันทึกไว้อีกเช่นกันว่า    กสม.มีความพยายามประสานงานกับประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ   เพื่อ กสม. จะได้นำเสนอปัญหาและบทเรียนจากการใช้รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐  ต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนการยกร่าง     แต่ได้รับการปฏิเสธ    สภาร่างฯกลับกำหนดวิธีการให้ กสม.เสนอข้อคิดเห็นในเวทีรับฟัง ๑๒ องค์กรที่กำหนดในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.๒๕๔๙    ด้วยวิธีการนี้  ทำให้ กสม. ปฏิเสธที่จะดำเนินการร่วมด้วย   เพราะไม่มีประโยชน์ใดๆ
ในช่วงร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐   กสม. จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นกับเครือข่ายต่างๆทุกภูมิภาค   ฉันร่วมรับฟังด้วยในทุกเวที  ทั้งในฐานะ กสม. และในฐานะประธานกรรมการการพัฒนาเครือข่าย  ของสำนักงาน กสม.  เราพยายามเชิญผู้แทนสภาร่างรัฐธรรมนูญมาร่วมรับฟังด้วย  ซึ่งคุณเดโช   สวนานนท์มาร่วมด้วย สองเวที  
  กสม.มีข้อเสนอแนะอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมือง  และกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่   และเสนอในการแถลงข่าว ๓ ครั้ง คือ
-วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ เรื่อง ต้องประกันความอิสระและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง  ในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปการเมือง    
-วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๐  มีข้อเสนอแนะทบทวนพระราชกฤษฎีกา เรื่อง ข้อโต้แย้งหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
-วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๐  กสม. ร่วมกับ สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล(อ.บ.ต.)แห่งประเทศไทย    ยื่นข้อเสนอต่อประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ  ที่รัฐสภา เรื่อง ข้อเสนอปฏิรูปการเมือง  กรอบการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นบนฐานคิดใหม่
วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐   กสม.จัดแถลงข่าว  เรื่อง รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยต้องเป็นของประชาชน  โดยประชาชน  เพื่อประชาชน   และ กสม.ได้จัดพิมพ์ รัฐธรรมนญฉบับเจตนารมณ์ประชาชน เผยแพร่ต่อสาธารณะและองค์กรเครือข่ายทั่วประเทศหลายหมื่นเล่ม  [4]  
                                               


[1] บทความโดย สุนี ไชยรส ตีพิมพ์ใน นสพ.มติชน ๒ ครั้งเรื่อง  กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่  ระวังจะถอยหลังตกเหว,      ฉบับวันศุกร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๙  และ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่  ยังไม่ใช่คำตอบปฏิรูปการเมือง ฉบับวันเสาร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๙  ซึ่งตีพิมพ์รวมอยู่ในหนังสือ  รัฐธรรมนูญ กับบทเรียนของ กสม.    จัดพิมพ์โดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ , ๒๕๕๒.     ส่วนรายการโทรทัศน์  เช่น  รายการทันข่าวเที่ยงวัน ที่มาขององค์กรอิสระ สัมภาษณ์สุนี  ไชยรส  วันที่ ๑๑ พค.๒๕๕๐   เวทีรัฐธรรมนูญ    มี สุนี  ไชยรส  คุณศรีราชา เจริญพานิช  เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และกรรมาธิการยกร่าง  และคุณประสงค์ มหาลีตระกูล รองโฆษกศาลยุติธรรม  ดำเนินรายการโดย คุณสุวิช   สุขประภา   วันที่.๑๘ พค.๕๐   และ  รายการหมายเหตุประเทศไทย  สิทธิมนุษยชนในรัฐธรรมนูญใหม่ โดย  ศ.  เสน่ห์ จามริก  และ สุนี  ไชยรส  ดำเนินรายการโดย  อดิศักดิ์ ศรีสม  วันที่ ๒๓ พ.ค.๕๐  ฯลฯ


[2] องค์ประกอบ ๗ คนคือ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธาน กกต. ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธาน ป.ป.ช. ประธาน คตง. ผู้พิพากษาในศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมาย ๑ คน  ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุดมอบหมาย ๑ คน
[3]  จินตนา  ณ ระนอง   บุญเกื้อ สมนึก บรรณาธิการ.  รัฐธรรมนูญ กับ บทเรียนของ กสม.         รวมบทความและบทสัมภาษณ์ สุนี ไชยรส,  จัดพิมพ์โดย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,๒๕๕๒  ซึ่งมีบทความว่าด้วยรัฐธรรมนูญ ๗ บท ประกอบกับบทความและบทสัมภาษณ์อื่น  เกี่ยวกับภารกิจของ กสม.
[4] อ่านรายละเอียดใน  บทที่ ๒  สถานการณ์เด่น  ,ใน  รายงานผลงานประจำปี ๒๕๕๐ ของ กสม.  และ  รัฐธรรมนูญฉบับเจตนารมณ์ประชาชน โดย กสม.,๒๕๕๐