วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ทัศนะ สุนี ไชยรส เรื่องประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

https://www.facebook.com/prachamati.org/photos/a.444295472396428.1073741828.442692199223422/465997990226176/?type=1&pnref=storyhttps://www.facebook.com/prachamati.org/photos/a.444295472396428.1073741828.442692199223422/465997990226176/?type=1&pnref=story




สุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวในเวทีเสวนา “ทำประชามติอย่างไร ไม่ให้เสียของ?” ว่า ในสังคมมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับการลงประชามติรัฐธรรมนูญ เพราะ ไม่อยากยุ่งด้วย รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เข้าท่าตั้งแต่ต้นทาง แต่ในทัศนะของตน หรือกลุ่มที่ทำงานร่วมกัน มองว่า รัฐธรรมนูญไม่ใช่ยาสารพัดนึก ไม่ใช่สูตรสำเร็จ ไม่ใช่สิ่งที่จะมีหลักประกันแน่นอน หลายเรื่องเขียนไว้ดีแต่ไม่มีผลในเชิงปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม สังคมไทยเริ่มจะเรียนรู้จากการร่างรัฐธรรมนูญหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเหตุการณ์ พฤษภาฯ 35 ว่า รัฐธรรมนูญต้องไม่อยู่ในมือของนักกฎหมาย หรือใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผลให้เกิดการมี สสร. และ ร่าง รัฐธรรมนูญ 2540 แต่ก็ไม่ใช่สำเร็จสมบูรณ์พร้อม
สุนี ชี้ว่า ต้องมองรัฐธรรมนูญเป็นการต่อรองในสถานการณ์หนึ่งๆ อยู่ที่ว่าภาคประชาชนจะเข้มแข็งขนาดไหน ยกตัวอย่าง ตั้งแต่หลัง 14 ตุลาคม 2516 รัฐธรรมนูญก็ออกมาดูดีพอสมควร จากนั้นก็วกวนไปมา ขึ้นอยู่กับการต่อรองของสถานการณ์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลักดันเรื่องรัฐธรรมนูญให้ดีที่สุด สร้างการเรียนรู้ และเปิดพื้นที่ของภาคประชาชนให้มาก อย่างรัฐธรรมนูญ ปี 40 จากที่เคยกระจุกตัวอยู่กับวงเล็กๆ กลายเป็นผู้คนหันถกเถียงแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการตื่นตัวและใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นวัฒนธรรมใหม่
ส่วนเรื่องประชามตินั้น ต้องเริ่มต้นจากการเรียกร้องของภาคประชาชนและหลายฝ่าย แม้เราจะไม่มีอำนาจต่อรองหรือเข้าไปมีส่วนร่วม แต่การที่สามารถทำให้เรื่องประชามติกลายเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าต่อและทุกฝ่ายต้องยอมรับก็เป็นขั้นตอนแรกที่เป็นประโยชน์มากที่สุด
อ่านรายละเอียดงาน “ทำประชามติอย่างไร ไม่ให้เสียของ” ได้ที่https://www.prachamati.org/news/258