วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

รายการสิทธิวิวาทะ..เยาวชนคอการเมือง


ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทยปั­จจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งทางอุดมการณ์­ทางการเมือง ปัญหายาเสพติด ปัญหาการแย่งชิงการจัดการทรัพยากร หรือความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ บ่อยครั้งได้ขยายไปสู่การใช้ความรุนแรงซึ่­งส่งผลกระทบแก่เด็กและเยาวชน นอกจากนี้ กระแสบริโภคนิยมและอุดมการณ์ตลาดเสรีได้สร­้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม กลุ่มเยาวชนก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของผู้ที่ต­้องปรับตัวให้ขับเคลื่อนไปได้กับกระแสการเ­ปลี่ยนแปลงเหล่านั้น แต่ทว่าประเด็นด้านสังคมการเมืองมักถูกมอง­เป็นเรื่องไกลตัว และเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ ทำให้เยาวชนจำนวนมากซึ่งมีความสนใจและมีคว­ามตื่นตัวทางการเมืองขาดพื้นที่และโอกาสใน­การแสดงบทบาท หรือมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในประเด­็นปัญหาหรือนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อตัวเขาแ­ละชุมชน เวทีสิทธิ...วิวาทะในครั้งนี้จึงเปิดโอกาส­ให้เด็กและเยาวชนในหลากหลายพื้นที่ ได้แสดงทรรศนะและมุมมองของพวกเขาที่มีต่อก­ารเมืองไทย นโยบายของรัฐบาล และสถานการณ์รอบตัว

ผู้เข้าร่วมรายการ
นายลีโอ เจ๊ะกือลี ผู้ประสานงานเครือข่ายบัณฑิตอาสาพัฒนาชนบท­จังหวัดชายแดนภาคใต้
นายวันเฉลิม ศรีกุตา เยาวชน โรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์
นายอุทัย อารยาสรรค์สร้างเยาวชนเครือข่ายกลุ่มเกษตร­กรภาคเหนือ
นางสาวสุลักษณ์ หลำอุบลสมาชิกสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประ­เทศไทย
นางสาวณัศพร วังแก้วตัวแทนนักศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรมสัง­คม มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้ดำเนินรายการ
คุณสุนี ไชยรส

รายการสิทธิวิวาทะ เยาวชนคอการเมือง(๒)  https://www.youtube.com/watch?v=_RCH3xRdceg

สิทธิวิวาทะ เยาวชนคอการเมือง ๓)https://www.youtube.com/watch?v=qE-KuwidjLI

เยาวชนคอการเมือง ๔) https://www.youtube.com/watch?v=LzrdTe5gU1k

คลิปตอน ๕) https://www.youtube.com/watch?v=k-IUyieTwpE

คลิปตอน ๖)  https://www.youtube.com/watch?v=BX-BNbS6ozw

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คปก.จัดทำ“ข้อเสนอต่อร่างรัฐธรรมนูญฯฉบับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

20 พ.ค.58 – คปก.จัดทำ“ข้อเสนอต่อร่างรัฐธรรมนูญฯฉบับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อ 14 พฤษภาคม 2558 โดยคปก.ยืนยันความเห็นเดิมที่เสนอไปวันที่ 24 ธ.ค.57 และเพิ่มเติมอีกหลายประเด็นสำคัญจากร่างฯล่าสุด ..ประเด็นสำคัญ เช่น
๑)การให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลตาม นอกจากจะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแล้ว จะต้องได้รับความคุ้มครองตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนด้วย (ร่างมาตรา 4)
๒)ควรบัญญัติความเป็นพหุเชื้อชาติของสังคมประเทศไทยไว้ในว่า “ปวงชนชาวไทยที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีความเป็นพหุเชื้อชาติ ไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือ ศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน” (ร่างมาตรา 5)
๓)ควรบัญญัติคำว่า “สิทธิเสรีภาพของบุคคล” เท่านั้น ไม่แยกเป็นสิทธิมนุษยชนและ “สิทธิพลเมือง” อันเป็นการจำกัดสิทธิคุ้มครองเฉพาะพลเมืองที่เป็นประชาชนชาวไทยเท่านั้น โดยคปก.มีความเห็นว่า หากเรื่องใดที่รัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ที่จะให้สิทธิเฉพาะบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้นก็ควรบัญญัติการให้สิทธิดังกล่าวโดยชัดแจ้งเป็นเรื่องๆ ไป เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องบัญญัติตามร่างมาตรา 45
๔)สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย นอกจากการบัญญัติให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพต่อการทรมาน การทารุณกรรม หรือ การลงโทษด้วยวิธีโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมแล้ว คปก.มีความเห็นว่า ต้องเพิ่มความคุ้มครองกรณีการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือการทำให้บุคคลสูญหายโดยถูกบังคับด้วย (ร่างมาตรา 36 วรรคสอง)


๕)การให้ความคุ้มครองสิทธิชุมชน ควรบัญญัติเพิ่มให้ครอบคลุมถึงชุมชนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมด้วย (ร่างมาตรา 63)
๖)คปก.เสนอให้มีการกำหนดหลักการเกี่ยวกับการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำนโยบายหรือแผนในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยไม่จำกัดเฉพาะกรณีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน “อย่างรุนแรง” (ร่างมาตรา 64 วรรคสาม)
๗)คปก.เสนอให้ตัดบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสภาตรวจสอบภาคพลเมืองในแต่ละจังหวัดออก เนื่องจากมีความซ้ำซ้อนกับสมัชชาพลเมืองในเรื่องที่มาและหน้าที่ (ร่างมาตรา71) นอกจากนี้ยังเสนอให้ตัดบทบัญญัติกฎหมายที่จัดให้มีสมัชชาคุณธรรมออก เนื่องจากในปัจจุบันมีองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการตรวจสอบคุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐอยู่แล้ว จึงควรให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เป็นกลไกปกติเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตรวจสอบดังกล่าว (ร่างมาตรา74 และร่างมาตรา 77) และคปก.ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งองค์กรบริหารการพัฒนาภาค เนื่องจากเป็นการเพิ่มบทบาทให้แก่ราชการส่วนกลางในภูมิภาคมากเกินไป ซึ่งขัดกับหลักการกระจายอำนาจที่ต้องเพิ่มอำนาจให้แก่ท้องถิ่นชุมชน (ร่างมาตรา 284 (5) )
๘)การมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกมิติ ทุกระดับ รวมถึงในองค์กรตามรัฐธรรมนูญและการดำเนินกิจกรรมใดๆ ในทางการเมือง ต้องคำนึงถึงสัดส่วนหญิงและชายให้ใกล้เคียงกัน (ร่างมาตรา 62 วรรคสาม ร่างมาตรา 76 ร่างมาตรา 212 วรรคหนึ่ง ร่างมาตรา 295)
๙)การส่งเสริมระบบเศรษฐกิจของรัฐ รัฐจะต้องมีมาตรการเกี่ยวกับการลงทุนของต่างประเทศและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างการค้าที่เป็นธรรมและป้องกันการทุจริต (ร่างมาตรา 88)
๑๐)การกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ควรให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกเขตเลือกตั้งนั้นโดยไม่ยึดตามฐานข้อมูลทางทะเบียนราษฎร์ (ร่างมาตรา 108 (3) )
๑๑)องค์กรบริหารท้องถิ่นทุกรูปแบบจะต้องมีที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น โดยคณะผู้บริหารท้องถิ่นต้องมีสัดส่วนหญิงชายเท่าเทียมกัน (ร่างมาตรา 212 วรรคหนึ่ง)
๑๒)ควรบัญญัติเรื่องหลักการกระจายอำนาจให้ชัดเจนและเหมาะสมว่า “การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น” (ร่างมาตรา 82 วรรคท้าย)
๑๓)การกำหนดที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอื่นนอกจากสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญมีมุมมองที่หลากหลายในทุกมิติ และจะต้องเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการสรรหาตุลาการด้วย เพื่อให้ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีความยึดโยงกับประชาชน
๑๔) เสนอยืนยันให้ศาลอุทธรณ์เป็นศาลพิจารณา (Trial Court) โดยให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และไม่เห็นด้วยกับการบัญญัติให้มี “ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ”
เสนอให้มีการปฏิรูปด้านแรงงานไทยโดยแยกศาลแรงงานออกจากศาลยุติธรรม และให้จัดทำประมวลกฎหมายแรงงาน (ร่างมาตรา 289)
๑๕)คปก.ไม่เห็นด้วยกับกรณีการควบรวมผู้ตรวจการแผ่นดินและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าเป็นองค์กรเดียวกัน เนื่องจากองค์กรทั้งสองมีอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน การควบรวมดังกล่าวอาจส่งผลให้ประเทศไทยประสบปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
๑๖)ให้มีการปฏิรูปด้านกระบวนการยุติธรรมโดยปรับปรุงระบบงานสอบสวนให้มีความเป็นอิสระจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และในคดีอาญาประชาชนทุกคนมีสิทธิโดยชอบธรรมในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (มาตรา 282 (2) )
๑๗)หลักในการดำเนินคดีอาญาควรให้พนักงานอัยการมีบทบาทและหน้าที่หลักในการดำเนินคดีทั้งในชั้นเจ้าพนักงาน ชั้นพิจารณา รวมทั้งอำนาจในการสั่งคดี โดยมีเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้ช่วยในการดำเนินคดี
ดาวน์โหลด : ความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง ข้อเสนอต่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ตารางเปรียบเทียบการแก้ไขเพิ่มร่างรัฐธรรมนูญฉบับกมธ.ยกร่างฯ
คลิปการเสวนาแลกเปลี่ยนเรื่องเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กเล็กถ้วนหน้า สวัสดิการพื้นฐานเพื่อการทรัพยากร

มนุษย์" กับ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจ ประเทศแอฟริกาใต้ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่

ยูนิเซฟเชิญมา วันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2558 ณ ห้องประชุมจั๊ค อัมโยต์ ชั้น 4 อาคารวิศิษฐ์ ประจวบ

เหมาะ สถาบันวิจัยนโยบายสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โดยคณะ

กรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม ร่วมกับคณะทำงานวาระทางสังคม 

สถาบันวิจัยนโยบายสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายภาคประชาสังคม คณะทำงานด้านเด็ก 

และองค์การยูนิเซฟ    

http://livestream.com/lrct/events/2

713312/videos/87749849

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

รายการวิทยุจุฬา "มาตรฐานเดียวในอาเซียน คุ้มครองสิทธิแรงงาน " กับ สุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย








http://www.curadio.chula.ac.th/Program/…/Program-Detail.php

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

หนังสือ"ปฏิรูประบบประกันสังคม"..๔ ปี คปก.

อ่านและดาวน์โหลด หนังสือชุด ๔ ปี คปก.ด้านสวัสดิการสังคมและแรงงาน

"ปฎิรูประบบประกันสังคม"



โดยวิธีเข้าอ่าน
1เข้า www.lrct.go.th
2.เข้าเมนูส่วนหัว คลังความรู้


3.เลือก    เอกสารเผยแพร่(E-book) แล้วคลิกเลือกหรนังสือครับ รอสักครู้ระบบจะโหลดเอกสารมาเป็น file pdf
หรือ เข้าผ่าน link ด้านล่างครับ


วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วีดิทัศน์ ๔ ปี คปก.ด้านกระบวนการยุติธรรม

 https://www.youtube.com/watch?v=ladL-srKHCI

คปก.-กท.แรงงานหารือสร้างหนึ่งมาตรฐานแรงงานอาเซียนรับประชาคมอาเซียน



คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)ได้นำเสนอ “บันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่องแผนการให้มีข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิคนทำงาน” พร้อมร่างข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิคนทำงาน (Draft ASEAN Agreement on the Promotion and Protection of the Rights of Workers) ต่อคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2558 ซึ่งคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านประชาคมอาเซียนได้จัดเสวนาเรื่อง “ประชาคมอาเซียนกับหนึ่งมาตรฐานแรงงาน จะเป็นจริงได้อย่างไร ? ” วันที่ 14 พฤษภาคม 2558 ณ ห้องประชุม สำนักงานฯ

ร่างข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิคนทำงาน - Draft ASEAN Agreement on the Promotion and Protection of the Rights of Workers มีหลักการสำคัญเพื่อคุ้มครองสิทธิคนทำงานทุกคนที่อยู่ในรัฐภาคีภายใต้หลักความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงหลักสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ โดยร่างข้อตกลงฯ ฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้เมื่อมีประเทศสมาชิกให้สัตยาบันห้าประเทศขึ้นไป
โดยผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน องค์การประชาชน และนักวิชาการ ทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาคอาเซียน รวมถึงได้เข้าพบเพื่อหารือกับปลัดกระทรวงแรงงานและอธิบดีกรมอาเซียนเพื่อขอความร่วมมือให้กระทรวงแรงงานและกรมอาเซียน นำเสนอร่างข้อตกลงฯดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอในเวทีระดับภูมิภาคอาเซียน ต่อไป


การจัดเสวนาครั้งนี้ เป็นการ “ประเมินความเป็นไปได้” ร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานภาครัฐหลายกระทรวง รวมทั้งสมช./ภาคประชาสังคม/องค์กรเอกชนด้านแรงงาน / สหภาพแรงงาน/ผู้ประกอบการ / ภาคธุรกิจ/ นักวิชาการ เพื่อหาแนวทางผลักดันมาตรฐานการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงานในระดับภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายด้านสิทธิคนทำงานทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาคให้เกิดความเข้มแข็งที่นำสู่การยอมรับของรัฐบาลอาเซียนต่อไป นำประเด็นโดย สุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี อนุฯด้านประชาคมอาเซียน คุณอารักษ์ พรหมณี รองปลัดก.แรงงาน คุณสิริวัน ฯ เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย คุณสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์


http://www.lrct.go.th/th/?p=16365


ดาวน์โหลด บันทึกความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแผนการให้มีข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิคนทำงานhttp://www.lrct.go.th/th/?wpfb_dl=1654







วีดิทัศน์  ๔ ปี คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ด้านยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน  

https://www.youtube.com/watch?v=HpUFgmL_LvQ


วีดิทัศน์ ๔ ปี คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ด้านยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน 
https://www.youtube.com/watch?v=HpUFgmL_LvQ

คปก.เรียกร้องให้รัฐบาลไทยและภาคประชาสังคมไทย ผลักดันให้อาเซียนยอมรับร่างข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิคนทำงาน
ข้อสรุปความคิดเห็นและข้อเรียกร้องจากที่ประชุมงานเสวนาเรื่อง “ประชาคมอาเซียนกับหนึ่งมาตรฐานแรงงาน จะเป็นจริงได้อย่างไร” โดย คณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านประชาคมอาเซียน ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายจัดขึ้นวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๓๐-๑๒.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสำนักงานฯ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐ ผู้แทนองค์กรนายจ้าง ผู้แทนองค์กรลูกจ้าง ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนด้านคนทำงาน นักวิชาการ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และที่ประชุมมีความเห็นและข้อเสนอเรียกร้อง ดังนี้
๑. ทุกฝ่ายเห็นด้วยว่าร่างข้อตกลงฯเป็นแนวคิดที่ดีในการส่งเสริมสิทธิและ
คุณภาพชีวิตของคนทำงานทุกคนที่อยู่ในประเทศสมาชิกอาเซียน
๒. ทุกฝ่ายเห็นร่วมกันว่าการที่คุณภาพชีวิตที่ดีของคนทำงานเป็นผลดีต่อ
การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ของประเทศในอาเซียน
๓.การยอมรับร่างข้อตกลงฯไปปฏิบัติจะทำให้อาเซียนได้รับการยอมรับใน
เวทีประชาคมโลก
เพื่อให้เป็นไปตามข้อคิดเห็นดังกล่าว คปก.และที่ประชุม จึงมีข้อเรียกร้อง ดังนี้
๑. ขอให้ภาครัฐของไทยสนับสนุนร่างข้อตกลงฯ นี้ และตั้งคณะความร่วมมือ
พหุภาคีเพื่อให้รัฐบาลไทยนำไปผลักดันในองคาพยพของอาเซียนต่อไป
๒.เรียกร้องให้ภาคประชาสังคม นำร่างข้อตกลงฯ นี้ไปเผยแพร่ในกลุ่ม
สมาชิกและนำเสนอความเห็นต่อภาครัฐให้ช่วยสนับสนุนการผลักดันร่าง
ข้อตกลงฯ นี้
๓. เรียกร้องให้อาเซียนยอมรับร่างข้อตกลงฯนี้เพื่อเป็นมาตรฐานแรงงาน
เดียวในอาเซียน เพื่อคุ้มครองสิทธิของคนทำงานในอาเซียนอย่างเท่า
เทียมกัน
กดลิ๊งการถ่ายทอดการเสวนาhttp://livestream.com/lrct/events/2713312





หนังสือ ๔ ปี คปก.กับยุทธศาสตร์ด้านสวัสดิการสังคมและแรงงาน

ชวนอ่านและดาวน์โหลด หนังสือ ๔ ปี คปก.กับยุทธศาสตร์ด้านสวัสดิการสังคมและแรงงาน   ถ้ามาที่ คปก.ขอเป็นเล่มได้ค่ะ  



http://www.lrct.go.th/th/?page_id=16228



วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดยคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านแรงงาน จัดเวทีสาธารณะเรื่อง ร่างประมวลกฎหมายแรงงานและร่างพระราชบัญญัติการบริหารแรงงาน พ.ศ.... ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย 



นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า "ร่างประมวลกฎหมายแรงงาน รัฐบาล

ควรต้องยอมรับในหลักการก่อน ที่ผ่านมาเป็นความพยายามแก้ไขทีละมาตรา ทีละกฎหมายแรงงาน ใน

ลักษณะการปะผุ คปก.อยากขอให้ทุกท่านพิจารณาในเชิงหลักการ ว่ามีความจำเป็นต้องปฏิรูปกฎหมาย

แรงงานทั้งระบบ ด้วยการออกเป็นประมวลกฎหมาย ส่วนกระบวนการออกกฎหมายยังมีหลายขั้นตอน

โดยต้องผ่านพิจารณาของรัฐมนตรีจากกระทรวงแรงงาน กว่าจะผ่านคณะรัฐมนตรี กว่าจะผ่านสภา.. ซึ่ง

แนวคิดการพัฒนากฎหมายแรงงาน เสนอให้แก้ไขนัยยะการปฏิรูปโดยไม่ยึดติดหน่วยงานใด"

"สาระสำคัญของร่างประมวลกฎหมายแรงงานนี้ กฎหมายอาญายังดำรงอยู่ แต่โทษทางอาญาใน


ประมวลกฎหมายแรงงานและ ร่างพ.ร.บ.บริหารแรงงาน ฯ มีการเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนเป็นมาตรา

การลงโทษทางสังคม แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ยังต้องใช้โทษทางอาญา และมีข้อเสนอของคปก.ต่อท้ายที่

ต้องปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา ที่มีความเห็นว่า กฎหมายอาญายังไม่เข้าใจเรื่องแรงงานเพียงพอ

 ในอนาคตต้องมีการปรับปรุงกฎหมายอาญาเพื่อให้มีผลจัดการต่อความขัดแย้งทางแรงงานมีความ

ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยประมวลกฎหมายแรงงานเป็นการคุ้มครองคนทำงานที่เน้นกระบวนการยุติธรรมเชิง
บริหารให้มีประสิทธิภาพ มีการมีส่วนร่วมหลากหลายขึ้น

แต่ในกระบวนการยุติธรรมด้านศาล คปก.เสนอต้องแยกศาลแรงงานออกมาจากศาลยุติธรรม เป็นระบบให้สร้างความเช่ี่ยวชาญและพัฒนาระบบไต่สวนหาความจริง 

         
            การที่มีคณะกรรมการร่วมบริหารแรงงาน(ร.บ.ร.)พิเศษ เพื่อการบริหารโดยตรง เพราะเกี่ยวพัน

กับหลายกระทรวง หลายกรมหลายชุมชนและเรื่องอื่นๆ คณะกรรมการชุดนี้มาจากหลายฝ่ายเพื่อกำกับ

 ตรวจสอบ ออกระเบียบให้สอดคล้องกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ประมวลกฎหมายแรงงาน เพราะเจ้า

หน้าที่กระทรวงแรงงานไม่สามารถคุ้มครองแรงงานได้ทั้งหมด กำลังไม่มีทางเพียงพอ ต้องอาศัย

สหภาพ องค์กรนายจ้าง อาศัยชุมชน ในการตรวจสอบเพื่อคุ้มครองให้รวดเร็วและทันสถานการณ์ ภาย

ใต้การจ้างงานที่หลากหลายและซับซ้อน"
        
           "ทั้งนี้ คปก.ได้นำเสนอแนวคิดอย่างนี้ต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาปฏิรูปแห่งชาติไปแล้ว ส่วนการดำเนินการต่อไป หวังให้เกิดการขับเคลื่อน เผยแพร่และรณรงค์ ร่วมกับทุกภาคส่วน ให้เกิดการปรับปรุง สังคายนา กฎหมาย ให้ครอบคลุมพื้นที่แรงงานที่มีอยู่ 30 กว่าล้านเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากล และไทยควรเป็นแบบอย่างของอาเซียน "

 http://www.lrct.go.th/th/?p=16300

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ายการวิทยุจุฬา กับ สุนี ไชยรส..เนื่องในวันกรรมกรสากลhttp://www.curadio.chula.ac.th/Program/…/Program-Detail.php…




หนังสือปฏิรูปกฎหมายด้านแรงงาน ๓ เล่ม

เชิญชวนอ่านและดาวน์โหลดหนังสือปฏิรูปกฎหมายด้านแรงงาน ของ คปก. สามเล่ม คือ ๑)ร่างประมวลกฎหมายแรงงาน และร่าง พ.ร.บ.บริหารแรงงาน พ.ศ.... ๒)ยกระดับการคุ้มครองสิทธิคนทำงาน มาตรฐานเดียวในอาเซียน ร่างข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิคนทำงาน ๓)ปฏิรูปศาลแรงงาน แยกศาลแรงงานจากศาลยุติธรรม
โดยวิธีเข้าอ่าน
1เข้า www.lrct.go.th
2.เข้าเมนูส่วนหัว คลังความรู้ 
3.เลือก เอกสารเผยแพร่(E-book) แล้วคลิกเลือกหรนังสือ รอสักครู้ระบบจะโหลดเอกสารมาเป็น file pdf
หรือ เข้าผ่าน link ด้านล่าง
http://www.lrct.go.th/th/?page_id=16228


วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ตอบโจทย์ ไทยพีบีเอส : ยกใหม่ กฎหมายฉบับพิเศษ "คู่ชีวิต" สายด่วน สนช. (6...

ตอบโจทย์ ไทยพีบีเอส : ยกใหม่ กฎหมายฉบับพิเศษ "คู่ชีวิต" สายด่วน สนช. (6...

ตอบโจทย์ ไทยพีบีเอส : "ปลาผิดน้ำ" คิวแทรก "ชนวนร้าว" รัฐธรรมนูญฉบับปฏิร...

๔ปี คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ความเสมอภาคระหว่างเพศ





วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

รายการข่าวNation 4ปี คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย






เวทีสาธารณะ : เสียงแรงงานสมัย คสช. (1 พ.ค. 58)







เวทีสาธารณะทางไทยพีบีเอส วันกรรมกรสากล ๑ พค.​๕๘  ฟังเสียงพี่น้องแรงงานหลากหลายองค์กร ทั้งในและนอกระบบ  รวมทั้งรัฐวิสาหกิจ และ อ.แล ดิลกวิทยรัตน์  จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬา กับสุนี ไชยรส กรรมการปฏิรูปกฎหมาย



https://www.youtube.com/watch?v=GBfvoI35_7s


















๔ ปีคปก.คลิปวีดิทัศน์ "จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน : การปฏิรูปเพื่อคุณภาพชีวิต ความเท่าเทียม และเป็นธรรม"

ในวาระวันกรรมกรสากล..๑ พค.๕๘..คนทำงานคือข้อต่อสำคัญของการมีระบบสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐาน ...


ขอนำเสนอคลิปวิดิทัศน์แบบการ์ตูน ๔ ปีคปก.ในยุทธศาสตร์หลักด้านสวัสดิการสังคมและแรงงาน "จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน : การปฏิรูปเพื่อคุณภาพชีวิต ความเท่าเทียม และเป็นธรรม"...ในโอกาสที่เป็นประธาน ๔ คณะกรรมการเฉพาะเรื่องในยุทธศาสตร์หลักด้านสวัสดิการสังคม ของ คปก.มา ๔ ปี..รวมทั้งคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายแรงงาน



https://www.youtube.com/watch?v=RP-kLKiH3Ic&feature=youtu.be