วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

คปก.กับปฏิรูปกฎหมายประกันสังคมให้เป็นอิสระ

ในระบบประกันสังคม เป็นพื้นฐานสำคัญของระบบสวัสดิการที่มีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากและเป็นระบบกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งแนวโน้มจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการขยายความคุ้มครองไปสู่แรงงานนอกระบบ และจากการเคลื่อนย้ายแรงงานเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 
การบริหารประกันสังคมของสำนักงานประกันสังคมภายใต้สภาวะและโครงสร้างที่เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงแรงงาน ทำให้ขาดความอิสระและความคล่องตัว ไม่สอดคล้องกับสภาวะจ้างงานที่มีความหลากหลายและซับซ้อน 
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “แนวทางการปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อเร็วๆ นี้ โดยคปก.เสนอให้มีการปฏิรูปสถานะและโครงสร้างการบริหารงานของสำนักงานประกันสังคมให้มีความเป็นอิสระโดยไม่อยู่ภายใต้ระบบราชการ
การกำหนดให้สำนักงานประกันสังคมไม่อยู่ภายใต้ระบบราชการจะช่วยให้เกิดการตรวจสอบการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม อันจะส่งผลให้การดำเนินการและการบริหารงานของสำนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักความโปร่งใส-ตรวจสอบได้ ตลอดจนช่วยให้ผู้ทำงานทุกภาคส่วนได้รับสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงหลักประกันสังคมได้อย่างเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น http://www.lrct.go.th/th/?p=16094
ดาวน์โหลด : ความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง แนวทางการปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยการประกัน




สังคม http://www.lrct.go.th/th/?wpfb_dl=1655





คปก.เสนอ ่ร่างประมวลกฎหมายแรงงาน

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000877944482https://www.facebook.com/profile.php?id=100000877944482
คปก.เดินหน้ายกระดับกม.แรงงานไทยสู่สากล แนะต้องมีประมวลกฎหมายแรงงาน พร้อมจัดทำร่างประมวลกฎหมายแรงงาน และร่าง พ.ร.บ.การบริหารแรงงาน พ.ศ....เสนอประกอบด้วย
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดย นาย คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “แนวทางการจัดทำประมวลกฎหมายแรงงานและร่างพระราชบัญญัติการบริหารแรงงาน พ.ศ….” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา คปก.มีความเห็นว่า กฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศไทยมีหลายฉบับ แต่ละฉบับมีปัญหาในเรื่องการบังคับและมีความไม่เชื่อมโยงกับกฎหมายแรงงานอื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากลตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) คปก.จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการปฏิรูปชำระกฎหมายแรงงานโดยการจัดทำประมวลกฎหมายแรงงาน และแยกการบริหารแรงงานภาครัฐออกเป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง คือ ร่าง พ.ร.บ.การบริหาร พ.ศ.... เพื่อให้สามารถส่งเสริมและคุ้มครองคุณภาพชีวิตของคนทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และเสนอให้มีการแก้ไขคือการเปลี่ยนนิยามจาก “นายจ้าง” และ “ลูกจ้าง” เป็น “ผู้จ้างงาน” และ “คนทำงาน” เพื่อให้ความคุ้มครองครอบคลุมผู้ทำงานทั้งหมด และเพื่อให้เกิดทัศนคติการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างคนทำงานอย่างแท้จริงhttp://www.lrct.go.th/th/?p=16044
ดาวน์โหลดข้อเสนอแนะ คปก.ฉบับเต็มได้ที่http://www.lrct.go.th/th/?wpfb_dl=1653