วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง ๒๕พย.

 









"สิทธิชุมชนกับฐานทรัพยากร" ..ในงานสืบนาคะเสถียรที่หอศิลป กทม.

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอให้ตรวจสอบสารอันตราย ขยะอันตราย ก่อนการสูบน้ำเพื่อกู้นิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด

ด่วนที่สุด
จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี
เรื่อง ขอให้ตรวจสอบสารอันตราย ขยะอันตราย ก่อนการสูบน้ำเพื่อกู้นิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด

                           ข้าพเจ้าผู้มีรายนามท้ายนี้  มีข้อเสนอเร่งด่วนที่สุดเสนอ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในเรื่องการฟื้นฟู
กู้นิคมอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้
1. ทุกฝ่ายเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยการกู้นิคมอุตสาหกรรมทั้งหมดที่ถูกน้ำท่วม  เพื่อให้แรงงานมีงานทำและสร้างความเชื่อมั่นต่อต่างประเทศ
2. เนื่องจากในนิคมอุตสาหกรรมแต่ละแห่งมีโรงงานที่มีสารเคมีและขยะอันตราย  ทั้งที่เก็บสำรองและอยู่ระหว่างการดำเนินการผลิตจำนวนมากขณะที่น้ำท่วมมาอย่างฉับพลัน  รวมทั้งของเสียที่อยู่ในกระบวนการบำบัด  ดังนั้นก่อนการสูบน้ำออกสู่ชุมชน  รัฐบาลจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลและมีกระบวนการตรวจสอบความเป็นอันตรายในทางวิชาการอย่างครบถ้วนชัดเจน  รวมถึงมีการจัดการก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก  ทั้งนี้โดยอาศัยข้อมูลสารอันตรายที่ใช้อยู่ในแต่ละโรงงานของแต่ละนิคมประกอบในการประเมินความเสี่ยงและติดตามตรวจสอบ
3. ให้มีนักวิชาการและภาคประชาชนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในกระบวนการตรวจสอบ เพื่อประเมินข้อมูลและประเมินผลตรวจสอบในแต่ละนิคม  เพื่อป้องกันผลเสียต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม  และสร้างความเชื่อมั่นต่อทุกภาคส่วน
4. ในระหว่างรอการฟื้นฟูนิคมฯ  ขอให้รัฐบาลรับผิดชอบดูแลแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม 
5. ให้รัฐบาลมีมาตรการที่ชัดเจนในการดูแลชุมชนที่อยู่รอบนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการในการเก็บกู้ของเสียอันตราย (ขยะอุตสาหกรรม) ที่หลุดรอดออกมาก่อนหน้านี้
6.  สำหรับโรงงานที่อยู่ในและนอกนิคมอุตสาหกรรม  และศูนย์บำบัดของเสียอันตราย  ที่อาจถูกน้ำท่วม  ขอให้รัฐบาลมีมาตรการป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีและของเสียอันตรายอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

ศ.ดร.ธงชัย  พรรณสวัสดิ์          รักษาการผู้อำนวยการ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย   
รศ.ดร.ทรงศักดิ์  ศรีธนชาติ       นายกสมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย
ดร.สุมล  ประวิตรานนท์           ที่ปรึกษาสมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย
น.ส.ขวัญยืน  ศรีเปารยะ            สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย
นพ.นิรันดร์  พิทักษ์วัชระ          ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ดร.ถวิลวดี  บุรีกุล                     ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า
นายชาลี  ลอยสูง                       ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
นางสุนี  ไชยรส                         รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
นายพลาย  ภิรมย์                       ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้       
มูลนิธิบูรณะนิเวศ

9 พฤศจิกายน 2554



วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

เมื่อต่อสู้ ย่อมมีการเสียสละ ..ขอคารวะวีรชนปฏิวัติ "รำลึก ๗สิงหา ๒๕๐๘"


เมื่อต่อสู้ ย่อมมีการเสียสละ ..ขอคารวะวีรชนปฏิวัติทุกท่าน

โดยสุนี ไชยรสเมื่อ 6 สิงหาคม 2011 เวลา 20:19 น.
        ในโอกาสรำลึกวันเสียงปืนแตก ๗ สิงหา ๒๕๐๘.. สังคมไทยควรได้รับบทเรียนจากอดีต   ตั้งคำถามว่าทำไมต้องใช้ความรุนแรง   ใช้อาวุธ   แล้วทำไมนักเรียนนักศึกษา กรรมกร ชาวนา  ต้องเข้าป่า  แล้วอยู่ได้นานพอสมควร  มันต้องมีเหตุผล  ที่สำคัญมันเป็นบทเรียนแก่สังคมไทยว่า    ต้องยอมรับความแตกต่างทางความคิด    ต้องเปิดโอกาสให้คนหลากหลายได้พูด      การใช้ข้อหาคอมมิวนิสต์นี่ง่ายไป  
.            
                เรื่องราวของสหายที่เสียสละประทับอยู่ในความทรงจำของสหาย  นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรม  และมวลชนปฏิวัติทุกคน  

              การเสียสละที่ใหญ่หลวงที่สุดคือการเสียสละชีวิต...แม้เราแต่ละคนจะผ่านเรื่องร้ายแรงมากมาย   แต่เรายัง 
             มีชีวิตอยู่...   ขณะที่เส้นทางประชาธิปไตยที่คลี่คลายในสังคม   เป็นผลจากการเสียสละของวีรชนจำนวน 
               มหาศาลทั่วประเทศ    รวมทั้งสหายของเรา  
              ความรักความอาลัย  ความมุ่งมั่นที่จะสืบทอดเจตนารมณ์แห่งการต่อสู้ของสหาย   แสดงถึงอารมณ์รักทางชนชั้นต่อสหายและอุดมการณ์เพื่อคนจนตลอดไป...

              ตัวอย่างเช่น ใน’ตำนานนักปฏิวัติภูซาง’   มีการเขียนรำลึกการเสียสละของสหายหลายคน  อาทิ:

                                                        พริ้มเพรา...เธอยังไม่ตายจากเรา  
               เช้าวันหนึ่งหลังจากฉลองวันสตรีสากล   8 มีนาคม 2522     ทุกคนภายในทับหมอได้มายืนตั้งแถวเพื่อส่งสหายแยกย้ายกันไปปฏิบัติหน้าที่    พริ้มเพราหรือส.งานได้ลงหน่วยงานเข ต   99   ...ไม่กี่วันต่อมา  เราก็ได้ข่าวว่าขบวนของสหายที่จะกลับไปเขตงาน 99  ที่อยู่เกือบติดริมโขงถูกซุ่มตี      ระหว่างเดินทางจากหุบห้วยขึ้นเนินไปยังสันภู...  ผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่า  พริ้มเพราถูกกระสุนบาดเจ็บที่ท้อง   สหายที่เหลือพยายามช่วยเธอ  แต่เธอก็ได้ผลักดันให้รีบถอยออกไปเสียก่อน   เพื่อจะได้ไม่ต้องสูญเสียมากกว่านี้...    จากการตรวจสนามรบก็พบแต่ร่างไร้วิญญาณของเธอซ่อนตัวอยู่แต่ในพุ่มไม้      มีร่องรอยของการปฐมพยาบาลตัวเองอย่างสุดความสามารถ และพยายามหักกิ่งไม้มาพรางตัวจากฝ่ายตรงกันข้าม   ศัตรูไม่ได้ศพเธอไป  แต่เราก็ได้เพียงเถ้ากระดูกของเธอกลับมา  ท่ามกลางความเศร้าอาลัยอย่างสุดซึ้งของเพื่อนๆและสหาย.  จากเพื่อนพยาบาลรามาฯ( กลุ่มภูซาง:80-81)

                                                                           แด่..สหายแก้ว ผู้เสียสละ  
          “แหม่ม” (ส.แก้ว) นักเรียนร.ร.เตรียมอุดม      ก้าวเข้าสู่มหาวิทยาลัยมหิดลในสถานะ นศ. แพทย์รามาธิบดี    แหม่มสมัครเข้าทำกิจกรรมในชมรมพุทธ...    หลัง 6 ตุลา แหม่มบอก “เราจะเข้าป่าด้วย”   และเล่าให้ฟังถึงความพร้อมของตนเองเพื่อรับกับสภาพความยากลำบากในป่า      ตั้งแต่นอนบนพื้นกระดานแข็ง  กินแต่น้ำเปล่า     (ตอนนั้น  แหม่มอยู่ในคฤหาสน์หลังใหญ่)    แหม่มยอมสละจุดยืนทางชนชั้นนายทุนชาติ  และสถานะทางสังคมของนักศึกษาแพทย์   ทราบข่าวในภายหลังว่า  แก้วเป็นตับอักเสบจากเชื้อไวรัส(เอ)   ซึ่งโดยทั่วไปถือว่ารุนแรงน้อยกว่าไวรัสบี     โรคนี้รุนแรงถึงขั้นตายได้    แต่ก็สามารถหายได้   หากมีการพักผ่อนเพียงพอและควบคุมอาหารที่ดี    อย่างไรก็ตาม   ได้รับรู้ในเวลาต่อมาว่าแก้วไม่ยอมพักผ่อนเลย      แถมยังใช้แรงงานอย่างหนักด้วย    ร่างกายที่บอบบางอยู่แล้ว   กลับอ่อนแอหนักไปอีก...โดย ‘ สหายอาทิตย์   ‘(กลุ่มภูซาง: 77-78 )

                                                                   การยืนหยัดต่อสู้  และดัดแปลงตนเอง 
             ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก   สหายหญิงชายทุกคนทั้งในเมืองและชนบท    ต่างอดทนและพยายามฟันฝ่า   ฉันยอมรับว่า   สหายทั้งหญิงชายมีความรักทางชนชั้นต่อสหายในเมืองอย่างมาก   พวกเขาพยายามเข้าใจ   ให้เวลาปรับตัว   และไม่เรียกร้องให้ทำงานหนักเท่ากันแบบเฉลี่ยสัมบูรณ์       
              สหายหญิงในเมืองจะมีการบันทึกอารมณ์ความรู้สึกช่วงอยู่ป่าไว้มากเช่น  บันทึกของ ส.เข็ม  ผู้นำนักศึกษาครู :        
       
            “เราไปงานติดฝนหนักกลับทับไม่ทันก่อนเช้า....พ่อสมหมายหันมากระซิบ  ส.เข็ม ระวังเสียงและร่องรอยนะ  
             เราต้องคลานแล้ว  ข้าวโพดไร่ข้างหน้าสูงแค่เข่า  มีมวลชนมา  
                หยอดข้าวโพดอยู่ใกล้ๆนี้  ถ้าเสียลับจะอันตรายมาก  เราอยู่ห่างจากชายป่าไกลเกินไป... 
                             ฉันยังจำความรู้สึกในวันนั้นได้ดี   คิดถึงบ้าน คิดถึงคนที่ฉันรักและรักฉันขึ้นมาอย่างจับใจ   
               พวกเขาจะห่วงหาอาทรสักเพียงใด   ถ้ารู้ว่าฉันต้องมาตกอยู่ในสภาพเช่นนี้...   เนื้อตัวถูกใบข้าวโพดบาดจนแสบไปหมด                       แถมยังถูกตอไม้ขนาดเท่าตะเกียบตำเข้าที่กลางเท้าขวา   ปวดขัดเสียจนตัวสั่น 
                                ฉันกัดฟันคลานตามพ่อสมหมายข้ามเนินไร่ข้าวโพดอยู่ราวสองชั่วโมง    พยายามคิดถึงสิ่งที่ช่วยเพิ่มกำลังใจได้                   และปลอบตัวเองว่า   เดี๋ยวก็ได้นอนเปลอุ่นสบาย แล้วคืนนี้ ... ถึงอย่างไรก็ยังดีกว่าวันที่ถูกเขาเอาปืนจี้     จิกหัวให้คลานลงมาจากโบสถ์วัดมหาธาตุ  ผ่านถนนที่กำลังซ่อมซึ่งเกลื่อนไปด้วยทรายร้อนๆ  และก้อนกรวดคมๆเมื่อวันที่ ตุลา 2519..(กลุ่มภูซาง ,:152-153)
                    สหายนักเรียนนักศึกษาที่ต้องใส่แว่นตาหนาๆ เป็นคนที่น่าเห็นใจที่สุด   เช่น   ส.ประดิษฐ์(เหน่ง)    ส.กุหลาบ (วิมล  หวังกิตติพร)    ส.ป้อม      ต่อมาเธอและสหายหลายคนพยายามฝึกถอดแว่นเมื่อขึ้นมาอยู่บนภู   และมองต้นไม้เขียวๆสดชื่นแทน    ว่ากันว่าจะช่วยให้สายตาดีขึ้น    เยาวชนเหล่านี้ตั้งแต่อยู่ในเมืองก็มีความเร่าร้อนที่จะดัดแปลงตนเอง    ในการใช้แรงงาน   เรียกร้องตนเองในการรับใช้ประชาชน  และเรียนรู้    มีความรู้สึกประทับใจในอุดมการณ์    และความใฝ่ฝันที่ได้เรียนรู้  

                     อาจมีบ้างที่ยามกระแสตกต่ำโดยเฉพาะตอนขบวนเคลื่อนกลับจากป่า   หลายคนอาจซึมเศร้า  หรือกระทั่งอยากลืมเลือนเรื่องราวเหล่านี้    แต่ฉันคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่ว่าใครก็ตาม   เมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเราราวขาวกับดำ  กลับไปกลับมาอย่างโหดร้าย  จากฮึกห้าวหลัง 14 ตุลา  มาถึงความเคียดแค้นเจ็บปวด   และเด็ดเดี่ยวที่จะเปลี่ยนแปลงสร้างสังคมใหม่     แล้วต้องกลับมาสู่ความรู้สึกเจ็บปวดร้าวรานเหมือนผู้แพ้ในสงครามอีกครั้ง  เมื่อการปฏิวัติสับสน    พรรคคอมมิวนิสต์ประสบปัญหาวิกฤติศรัทธาอย่างหนัก     ในขณะที่ยังไม่สามารถก่อเกิดสังคมใหม่ที่ทุกคนวาดหวังได้เลย  ...   มันยากเหลือเกินที่จะฝ่าฟันความรู้สึกและความเศร้าสลดในใจได้

           พ่อใหญ่แม่ใหญ่หลายคนเข้ามาในฐานะครอบครัวปฏิวัติ  สละทรัพย์สินทั้งหมด  หอบลูกหอบหลานเข้าป่า  หลายคนเสียสละลูกสาวลูกชายในการปฏิวัติ   ในวันที่เราทะยอยส่งพวกเขากลับบ้านแต่ละคนด้วยความเจ็บปวดร่วมกัน     เป็นการจากกันด้วยความเศร้าสลด    ผู้เฒ่าหลายคนร้องไห้   เพราะไม่เคยคิดว่า  การทุ่มเทเข้าป่าไปทั้งครอบครัว ด้วยความเต็มใจและอดทนมายาวนาน      จะจบลงที่วันนี้ต้องเดินกลับบ้านไปรายงานตัวและไม่รู้ว่าชีวิตจะเผชิญกับอะไรอีกบ้าง    หลายคนไม่มีที่นาไม่มีบ้านแล้ว เพราะก่อนเข้ามาขายราคาถูกๆให้ญาติพี่น้อง  ตัดสินใจเด็ดเดี่ยวที่จะปฏิวัติ 

           ฉันได้ไปส่งพ่อใหญ่แสงทองออกจากป่ากลับบ้านเป็นคนแรก   ขณะนั้นสถานการณ์สับสนมาก     ฉันต้องเข้ากรุงเทพฯเป็นครั้งแรกเพื่อประสานกับฝ่ายนำบางคน   ฉันถือโอกาสนี้ไปส่งพ่อใหญ่แสงทองที่เข้าป่าทั้งครอบครัวและลูกชายคนหนึ่งเสียสละ พ่อใหญ่รักฉันเหมือนลูกสาว   ตอนนี้พ่อไม่ค่อยสบาย  อายุก็มากแล้ว  พ่อใหญ่มีลูกสาวคนหนึ่งที่กรุงเทพฯ  จึงควรเดินทางไปพร้อมฉันในครั้งนี้  สหายมาส่งเราที่ตีนภู  ให้นอนอยู่บ้านอ.ส.คนหนึ่ง   ตื่นเช้ามีรถพาเรามาส่งขึ้นรถทัวร์ที่อุดรเข้ากรุงเทพฯ   ฉันก็ตื่นเต้นเหมือนกัน    เพราะอยู่ป่ามานานหลายปีแล้ว  พ่อใหญ่ร้องไห้ตลอดทาง   ไม่อยากจากไป...      เมื่อสหายในเมืองจัดผ้าป่าจากกรุงเทพฯมาทอดร่วมกับสหายชนบทครั้งแรกที่รร.บ้านโนนทัน    และปีต่อมาที่รร.บ้านต่างแคน อ.สุวรรณคูหา  เชิงภูซาง  ที่พ่อใหญ่พาลูกสาวที่กรุงเทพฯกลับมาทำไร่อยู่ที่นี่อีก       พ่อใหญ่ไม่ค่อยสบายเช่นเคย      แต่เขียนจดหมายถึงฉันด้วยความดีใจที่สหายยังกลับมารวมกันและผูกพันต่อกัน          ฉันยังคงเก็บจดหมายพ่อไว้จนทุกวันนี้   เพื่อรำลึกถึงจิตใจปฏิวัติของพ่อใหญ่คนหนึ่ง    ที่วันนี้เสียสละไปแล้ว    และเราเก็บอัฐิของพ่อไว้ที่สถูปภูซางด้วย 

            ความผูกพันระหว่างกรรมกรชาวนา   นักเรียนนักศึกษาปัญญาชน     ยังคงสืบสานต่อเนื่องในขอบเขตทั่วประเทศ   ในบรรยากาศแห่งการทำบุญทุกปีตามเขตงานต่างๆและการร่วมมือกัน    จิตสำนึกที่ตระหนักถึงปัญหาการกดขี่ขูดรีดทางชนชั้นต่อคนจน   และการใช้อำนาจเผด็จการอย่างโหดร้าย    ยังเตือนย้ำให้มีจิตสำนึกที่จะต้องต่อสู้เพื่อพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยมั่นคงยิ่งขึ้น
           จิตใจ ๗ สิงหา จงเจริญ

พระรูปที่สองคือ พระสหายปรับ จากทับ ๒๒ เดิม มาร่วมงานทุกปีจากนครพนม
สหายหลายเขตงานขึ้นไปทักทายพี่หงา และถ่ายรูปร่วมกัน หลังเลิกดนตรี ๒๔ น.
พี่หงา หน้าสถูปภูซาง
สหายเขตภูซาง ไปร่วมงานสหายเขตงานอีสานใต้
ส.อำไพ ในเขตจรยุทธ์ภูซาง เมื่อปี ๒๕๒๑
สหายเขตภูซางไปร่วมฉลองวันพรรคกับสหายเขตงานอุ้มผาง(ตาก)
สหายเขตงานภูซางไปร่วมรำลึกที่อนุสรณ์สหายเขต ๑๙๖ ที่จ.ชัยภูมิ
บรรดาลุงๆผู้อาวุโส จัดตั้งของสหายปฏิวัติเขตงานอุ้มผาง ที่หน้าอนุสรณ์สถานเขตงานตาก วัดบ้านหม่องกั๊วะร่วมกับเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร องค์กรทำงานโครงการจอมป่าในพื้นที่อย่างจริงจังในการศึกษาเรียนรู้และประสานงานกับสหายและมวลชน และ ส.อำไพ จากเขตงานภูซางที่ไปร่วมจัดงานวันพรรคในปีนั้น
สถูปภูซางยามค่ำ
หนังสือ ตำนานนักปฏิวัติเขตงานภูซาง และเทปเพลงของวงภูซาง๖๐ ประกอบด้วยคาราวาน โคมฉาย คุรุชน พงษ์เทพ และนักร้องสหายชาวนา ชุดนี้เป็นต้นฉบับอัดในป่าภูซาง เป็นการหาทุนสร้างสถูปภซาง หนังสือพิมพ์ครั้งที่ ๒ เพลงก็อัดเป็นซีดี ครั้งที่ ๒
พิธัวางพวงมาลาจากสหายเขตงานต่างๆ ในภาพ ส.นพและส.ฝ้าย จากแนวหลัง
เยาวชนเดินแถวธงก่อนเริ่มพิธีรำลึก
สหายหลายเขตงานถ่ายรูปร่วมกันที่สถูปอีสานใต้

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แม่ฉัน..แม่ประชาชน


แม่รักและอดทน เพื่อลูกเสมอ ไม่ว่ายากลำบากเพียงใด
แม่บันทึกปี ๔๕  ทิ้งท้ายว่า
"ป.ล.อยากจะฝากบอกผู้หญิงทั้งหลายที่มีอันต้องเลิกกับสามี  เห็นบางคนคิดฆ่าตัวตาย
ขอให้เลิกเสีย  หันมาต่อสู้ชีวิตใหม่เพื่อลูกต่อไป  


แม่กับฉัน ตอนจบธรรมศาสตร์ปี ๒๕๑๗ แม่กับแม่ปฏิวัติหลายคนไปร่วมเดินขบวน รวมทั้งวันระเบิดลงใกล้ๆ ที่ประท้วงฐานทัพอเมริกัน

แม่ไปรับหน้าคุกลาดยาว จูงมือฉันและ เหน่ง นศ.เกษตร ที่ถูก จับข้อหาคอมมิวนิสต์ ๙ นศ.กรรมกรอ้อมน้อย ๓๐ มีค.๑๙ ไม่ได้ประกันตัว แม่คอยไปเยี่ยม และเมื่อถูกซ้อมในคุก มีขบวนชุมนุมประท้วงช่วยเราหน้าคุก แม่ไปพูดด้วย จน"สมหญิง"สื่อขวาจัด สมัยนั้นเอาแม่ไปด่าทางวิทยุ โจมตีว่าแม่เลี้ยงลูกเป็น"คอม"

แม่ลำบากมากตอนฉันกับพี่ ส.ฝ้ายเข้าป่าหลัง ๖ ตุลา แม่เก็บรูปนี้ที่ฉันส่งมาจากป่ารูปเล็กๆไว้ จนฉันกลับมา ไม่เคยต่อว่าลูกที่"ทิ้ง"ไป
เมื่อฉันติดคุกพร้อมสามีและลูกอ่อนสองเดือนครึ่ง แม่ทำกับข้าวให้ ส.ฝ้ายไปส่ง ทุกอาทิตย์ เมื่อลูกชายหกเดือนและป่วย แม่กับพี่สาวรับจากคุกเอามาเลี่้ยงให้
แม่กับฉันและครอบครัวสามพี่น้อง ป.โทสตรีศึกษา มธ.
แม่ ฉัน ป้าน้อย-แตงอ่อน ผู้นำกรรมกรอ้อมน้อยรุ่น ๑๔ ตุลา๑๖ ในงานรำลึก ๒๐ ปีทนง โพธิ์อ่าน ที่อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา ๑๙กค.๕๔
แม่กับป้านอยร่วมอุทิศส่วนกุศลให้ ทนง โพธิ์อ่าน และผู้นำกรรมกรนักต่อสู้ในปวศ.ทุกท่าน
แม่กับคุณอังคณา นีละไพจิตร