วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558






ประกาศเจตนารมณ์ต่อรัฐธรรมนูญ   การปฏิรูป  และนโยบายแห่งรัฐ เนื่องในวาระ วันสตรีสากล ๘ มีนาคม ๒๕๕๘
ผู้หญิงทำงาน  สู้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของทุกคน”
โดย...กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย  และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย    องค์กรทำงานประเด็นผู้หญิง   ผู้แทนจากหลากหลายสาขาอาชีพ และกลุ่มสตรีพิการ 
                                        ................................................................
         ๘ มีนา” เป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ของแรงงานหญิงเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศ  ซึ่งหมายรวมถึงการต่อสู้เพื่อสิทธิประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน ระบบสวัสดิการสังคมที่คำนึงถึงทุกคน ผู้หญิงเป็นกำลังครึ่งหนึ่งของโลก และเป็นคนทำงานที่สร้างสรรค์คุณค่าของทุกสังคม อุดมการณ์ของผู้หญิง จึงเป็นสิ่งดีงาม เพื่อทุกคนในสังคม และควรได้รับการสนับสนุนจากผู้ชาย และทุกภาคส่วน ในสังคม โดยเฉพาะนโยบาย กฎหมายของรัฐ             
         สังคมไทยแม้จะยอมรับว่า“ผู้หญิง” มีบทบาทสร้างสรรค์สังคม ในทุกระดับ  แต่วันนี้ ในสังคมไทยที่เชิดชูคุณค่า ”แม่”  ชีวิตจริงของผู้หญิงทำงานส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถทำงานได้อย่างมั่นคง เพื่อมีคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง  แม้กระทั่งคนท้อง ค่าตอบแทนการทำงาน ที่ไม่เป็นธรรม ไม่มีหลักประกันด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐานที่เพียงพอ ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยชรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมบทบาทในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน ในการมีสิทธิตัดสินใจในทางการเมืองทุกระดับ การมีส่วนร่วมในกรรมการไตรภาคีด้านแรงงานทุกคณะ  องค์กรบริหารรัฐวิสาหกิจ   รวมถึงบทบาทการมีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย  การกำหนดนโยบายและแผนงานใดๆของรัฐ และ สิทธิชุมชนในการ จัดการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม         
         กระแสเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยมที่รัฐบาลทุกยุคสมัยเน้นให้ ความสำคัญต่อการพัฒนาทุน ทั้งในและจากต่างประเทศ  แต่ใช้นโยบาย แรงงานราคาถูก และรูปแบบการจ้างงานหลากหลายที่ไร้หลักประกันเพียงพอ  จึงมีผลคุกคามความเป็นมนุษย์ของเพศหญิง  จนผู้หญิงต้องตกอยู่ในสถานภาพที่เสี่ยงต่อการถูกเอาเปรียบ กดขี่ขูดรีด ผู้หญิงทำงานทุกคนในการจ้างงานที่หลากหลายสร้างคุณค่า และเป็นพลังฐานเศรษฐกิจที่สร้างความมั่งคั่งแก่สังคมไทยตลอดมา  ในขณะเดียวกันก็ยังคงทำหน้าที่ของแม่ ของลูกสาว และภรรยา เป็นผู้ดูแลความอยู่ดีมีสุขของ ทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วย   นอกจากนี้ผู้หญิงจำนวนมากยังถูกกระทำจากความรุนแรง ตั้งแต่ในครอบครัว จนถึงการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน  และในพื้นที่สาธารณะ ต้องประสบอันตราย และความเจ็บป่วยในการทำงานโดยไม่มีการ คุ้มครองและเยียวยาที่พอเพียง
         ในโอกาสที่สังคมไทยจะต้องมีการปฏิรูป  ต้องลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม   จะต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อันเป็นกฎหมาย สูงสุดที่จำเป็นจะต้องมีหลักประกันของสิทธิประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และสิทธิความเสมอภาคระหว่างเพศ   แต่ขณะนี้ยังละเลยไม่ได้ตระหนัก ถึงความสำคัญในปัญหาของแรงงาน และ ความเสมอภาคของผู้หญิง  กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี  สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย  และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย องค์กรทำงานประเด็นผู้หญิง  ผู้แทนจากหลากสาขาอาชีพ และกลุ่มสตรีพิการ
จึงขอร่วมกันประกาศเจตนารมณ์  เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ๘ มีนาที่กำลังจะมาถึงในปีนี้ พร้อมกับขบวนผู้หญิงทั่วประเทศ เพื่อแสดงพลังการต่อสู้ของขบวนผู้หญิงที่ไม่เคยท้อถอยหรือหยุดนิ่ง และพร้อมจะเกาะติดผลักดันและตรวจสอบทั้งรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูป  รวมทั้งนโยบายของรัฐ เพื่อสิทธิความเสมอภาคระหว่างเพศ  ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน
       ข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนร่วมกันต่อสังคม  ต่อคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ  สภาปฏิรูปแห่งชาติและรัฐบาล ในโอกาสนี้ คือ  “ผู้หญิงทำงาน ต้องการคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนเพื่อผู้หญิง และทุกคน”
           (๑) ต้องบรรจุเรื่องสัดส่วนหญิงชายไว้ในรัฐธรรมนูญ  และกฎหมายต่างๆ  โดยผู้หญิงต้องมีส่วนร่วมใน
                  การตัดสินใจและวางแผน  มีสัดส่วนหญิง ชาย ​​๕๐=๕๐  ทั้งในโครงสร้างทางการเมืองทุกระดับ  กรรมการ         ไตรภาคีด้านแรงงานทุกคณะ   กรรมการรัฐวิสาหกิจ  การพิจารณาออกกฎหมาย  และกรรมการองค์กรต่างๆของ        รัฐ ฯลฯ
         (๒) ต้องบรรจุในรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ให้แรงงานทั้งหญิงชาย ที่มาทำงานต่างถิ่น  ต้องได้
         สิทธิเลือกตั้งผู้แทนทางการเมืองในพื้นที่ที่ทำงานอยู่
       (๓) ต้องมีมาตรการเด็ดขาดห้ามการเลิกจ้างคนท้อง และส่งเสริมนโยบายให้เงิน อุดหนุนเลี้ยงดูเด็ก เล็กแบบถ้วนหน้า  สนับสนุนให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพ ราคาถูก กระจายทั่วถึงในชุมชน โรงงาน          หน่วยงานของรัฐและบริษัทเอกชน และจัดเสริมเจ้าหน้าที่บริการดูแลให้สอดคล้อง กับเวลาทำงานที่เป็นจริงของ      ผู้หญิงทำงานอย่างจริงจัง
       (๔) รัฐต้องรับรองอนุสัญญา องค์การแรงงานระหว่างประเทศ  ..
ILO ฉบับที่ 183 ว่าด้วยสิทธิการ       คุ้มครองความเป็นมารดาในการได้รับสวัสดิการค่าจ้างในช่วง ที่ไม่ได้ทำงานเพราะการคลอดบุตร  การ         คุ้มครองสุขภาพแม่และเด็ก ตั้งแต่ช่วงเริ่มตั้งครรภ์ โดยให้พ่อมีสิทธิลางานดูแลลูกและแม่หลังคลอดบุตร
       (๕) ส่งเสริมหลักประกันในการเข้าถึงสิทธิสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะสำหรับผู้หญิง     อย่างมีคุณภาพ   เพราะวันนี้ยังคงมีผู้หญิงที่ เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตเพราะมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกใน   อัตราสูง ทั้งที่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ถ้ามีระบบการตรวจสุขภาพที่ครบถ้วน มีคุณภาพ บริการฟรีหรือราคา   ถูก และเข้าใจผู้หญิง รวมทั้งส่งเสริมการแพทย์ ที่ป้องกันความปลอดภัย และดูแลรักษาโรคภัยที่เกิดจากการ ทำงาน ในหลายรูปแบบ ให้ทั่วถึงและมีคุณภาพ เพื่อคุ้มครองดูแลโรคภัยทั้งจากงานอุตสาหกรรม  งานบริการ    รวมทั้งจากสารเคมีภาคเกษตร
         (๖) ผู้หญิงต้องมีความมั่นคงในการทำงาน   ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ   ไม่ถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน  และมี         มาตรการคุ้มครอง ฟื้นฟูและเยียวยา ผู้หญิงจากความรุนแรงในครอบครัว  และความรุนแรงทางเพศในพื้นที่       สาธารณะ 
         (๗) คัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ  ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและพนักงาน  โดยเฉพาะ      พนักงาน         หญิง สัญญาจ้างที่ไม่มั่นคงในการทำงาน
         (๘) คัดค้านการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กับผู้ตรวจการแผ่นดิน  เพราะ         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบทั้งรัฐและเอกชน  ซึ่งหมายถึงการกระทำที่ละเมิด          สิทธิมนุษยชนและการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อคนทำงานทั้งหญิงและชาย บนฐานการเคารพศักดิ์ศรีความเป็น   มนุษย์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องให้เป็น องค์กรอิสระต่อไป โดยเปลี่ยนแปลงการสรรหาให้ยึดโยงกับประชาชนและ         ส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
        
         ในโอกาสวันสตรีสากล ๘ มีนา ๒๕๕๘   ที่เป็นวันรำลึกถึงการรวมพลังต่อสู้ แรงงานหญิงคือผู้สร้างสรรค์โลก  สิทธิผู้หญิงคือสิทธิมนุษยชน พวกเราเรียกร้อง สิทธิประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม  ความเสมอภาคระหว่างเพศ  และคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของคนทำงานหญิง   ซึ่งหมายถึงคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของทุกคน
                                                                                                                                                ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
















วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คลิปสัมมนาวิชาการ จัดโดย คปก.ชุดปฏิรูปการศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบกฎหมายของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการรับผิดชอบต่อสังคม



คลิปสัมมนาวิชาการ จัดโดย คปก.ชุดปฏิรูปการศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบกฎหมายของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการรับผิดชอบต่อสังคม วันอังคารที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น.ณ ห้องกิ่งเพชร โรงแรมเอเชียกรุงเทพ

1.สัมมนาวิชาการ เรื่อง การพัฒนาระบบกฎหมายของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการรับผิดชอบต่อสังคม_1/5
https://www.youtube.com/watch?v=2cWpC6F_03s&feature=youtu.be

2.สัมมนาวิชาการ เรื่อง การพัฒนาระบบกฎหมายของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการรับผิดชอบต่อสังคม_2/5 
https://www.youtube.com/watch?v=Ebq5SWmcztE&feature=youtu.be

3.สัมมนาวิชาการ เรื่อง การพัฒนาระบบกฎหมายของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการรับผิดชอบต่อสังคม_3/5
https://www.youtube.com/watch?v=wVHNWi1rIyc&feature=youtu.be

4.สัมมนาวิชาการ เรื่อง การพัฒนาระบบกฎหมายของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการรับผิดชอบต่อสังคม_4/5
https://www.youtube.com/watch?v=S9c5FfraLw4&feature=youtu.be

5.วิชาการ เรื่อง การพัฒนาระบบกฎหมายของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการรับผิดชอบต่อสังคม_5/5
https://www.youtube.com/watch?v=_BzAIyrLvpk&feature=youtu.be

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สุขสันต์วันวาเลนไทน์


คลิปเสวนา “ข้อท้าทายที่คาดหวังต่อการพัฒนามาตรฐานและกลไกอาเซียนว่าด้วยสิทธิคนทำงาน”ครั้งที่ ๒



http://youtu.be/v64vQkwPMnY 
ช่วงแรกเปิดการสัมมนาระดับภูมิภาคในอาเซียนเรื่อง
“ข้อท้าทายที่คาดหวังต่อการพัฒนามาตรฐานและกลไกอาเซียนว่าด้วยสิทธิคนทำงาน”ครั้งที่ ๒ วันจันทร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ โรงแรมฮอลิเดย์อิน สีลม กรุงเทพฯ 
โดยความร่วมมือคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านประชาคมอาเซียน ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ AICHR : ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights




http://youtu.be/Y5moJgtk_eYการเสวนาประเด็น “ทิศทางความร่วมมือ เพื่อปกป้องและส่งเสริมสิทธิคนทำงาน”



http://youtu.be/NiBaK-I1_gQ
นำเสนองานวิจัย “ร่างข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงาน”




http://youtu.be/uX3v_61GUGQhttp://youtu.be/uX3v_61GUGQ 



ผู้แทนกลุ่มย่อยนำเสนอความคิดเห็นต่อ "ร่างข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงาน"

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คลิป ๔ ตอนเสวนา..ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข โดย คปก

เวทีเสวนา เรื่องร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... 
จัดโดยคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๗
เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.  
ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ชั้น ๑๖  ห้อง ๓ อาคารซอฟแวร์ ปาร์ค ถนนแจ้งวัฒนะ
อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี แบ่งเป็น 4 ช่วง  ตาม link แนบ

1. เวทีเสวนา ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....1/4





2.เวทีเสวนา ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....2/4




3.เวทีเสวนา ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....3/4


4.เวทีเสวนา ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....4/4

งานสัมมนาระดับภูมิภาคเรื่อง “ความท้าทายในการพัฒนากลไกมาตรฐานแรงงานอาเซียน ครั้งที่ ๒”


คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โดยคณะอนุกรรมการด้านประชาคมอาเซียน  และองค์กรร่วมจัด คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ในงานสัมมนาระดับภูมิภาคเรื่อง “ความท้าทายในการพัฒนากลไกมาตรฐานแรงงานอาเซียน ครั้งที่ ๒” วันจันทร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๐๘.๓๐ -๑๗.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องสีลม ๑ โรงแรมฮอลิเดย์อินสีลม กรุงเทพ
Opening Remarks : The 2nd Regional Consultation On Prospects Challenges To Developing ASEAN Standard And Mechanism On The Rights Of Workers

โดยมีผู้เข้าร่วมจากอาเซียน  ทั้งผู้แทนองค์การระดับชาติของคนทำงาน ผู้แทนสหภาพแรงงานและองค์การภาคประชาสังคม นักวิชาการ ผู้แทนองค์การภาคประชาสังคม และผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานด้านแรงงาน แรงงานข้ามชาติและสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ 
http://www.lrct.go.th/th/?p=15369

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คม-ชัด-ลึก ควบรวม...ควบรวน?..ปัญหาการควบรวมคณะกรรมการสิทธิฯกับผู้ตรวจการแผ่นดิน









รายการคมชัดลึก วันที่ ๑๒ กพ.๕๘  ...สุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กับ ไพบูลย์ นิติตะวััน  กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ...ว่าด้วยปัญหาการคัดค้านการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กับผู้ตรวจการแผ่นดิน












วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คปก.แถลงข่าวไม่เห็นด้วยการควบรวม กสม.กับผู้ตรวจการแผ่นดิน



..คลิปถ่ายทอดสดการแถลงข่าว..http://new.livestream.com/lrct/events/2713312


"คปก.จึงเห็นว่าไม่ควรควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับผู้ตรวจการแผ่นดิน 

และให้คงไว้ซึ่งความเป็นอิสระและอำนาจการฟ้องคดีของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง

ชาติในการฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครอง และให้คงไว้ซึ่งอำนาจในการฟ้องคดี

ต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหายในเรื่องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม และ

รัฐธรรมนูญจะต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกับองค์กร

อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบจริยธรรม นอกจากนี้จะต้อง

กำหนดการสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและผู้ตรวจการแผ่นดินให้ยึดโยงกับ

ภาคประชาสังคมและมีที่มาจากความหลากหลาย โดยคำนึงถึงความเสมอภาคระหว่างเพศ..."


รายละเอียดคำแถลงข่าว...

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กับผู้ตรวจการแผ่นดิน ทางVoice TV (๙ กพ.๕๘)



เป็นรายการที่ให้เวลาแลกเปลี่ยนเต็มที่ แต่หัวข้ออาจสับสนไปนิดนะคะ...ยุบรวมกรรมการสิทธิ...จากมติคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญค่ะ (ไม่ใช่ คสช.???


http://news.voicetv.co.th/thailand/165051.html

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

รายการขยายข่าว..ทาง    TNN24 ในประเด็นการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กับ ผู้ตรวจการแผ่นดิน...เสียงคัดค้านจาก สุนี ไชยรส อดึต ส.ส.ร.ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ และอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดแรก กับ คุณหมอนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ  กรรมกาสิทธิชุดปัจจุบัน https://www.youtube.com/watch?v=wX9McIME2HY&feature=youtu.be

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


ชมคลิป ประชุมรับฟังความคิดเห็น เรื่อง “กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานในระบบศาลคู่­” วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๘ ตอนที่ ๑
ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เสนอแนวคิดเรื่อง การแยกศาลแรงงานออกจากศาลยุติธรรมอย่างไร ?
ส่วน นางสาวฉันทนา เจริญศักดิ์ ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการแผนกคดีแรงงานในศาลฎีกา ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม ชี้แจงสาระสำคัญการจัดตั้งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษอย่างไร ?
https://www.youtube.com/watch?v=MvLs9tEz9Dk



ชมคลิป ประชุมรับฟังความคิดเห็น เรื่อง “กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานในระบบศาลคู่” ตอนที่ ๒ 
ดร.ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอผลการศึกษา เรื่อง “การพัฒนากระบวนวิธีพิจารณาคดีแรงงานในระบบไต่สวน” มีข้อเสนอว่าจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในศาลแรงงานปัจจุบันนั้นจะต้องปรับปรุงกระบวนวิธีพิจารณาคดีแรงงาน อย่างไร ? 
นายสมชัย วัฒนการุณ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด เสนอประเด็นการแก้ไขกฎหมายคดีแรงงาน ต้องพิจารณาว่าเมื่อแก้ไขแล้วจะทำให้เกิดความยุติธรรมในสังคมได้หรือไม่ ? และสิ่งที่ศาลยุติธรรมเสนอตั้งศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษนั้นจะตอบโจทย์กระบวนยุติธรรมทางด้านแรงงานได้อย่างไร ?
https://www.youtube.com/watch?v=OoNRVolYy_Q


ชมคลิป ประชุมรับฟังความคิดเห็น เรื่อง “กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานในระบบศาลคู่” ตอนที่ ๓
ศาสตราจารย์ ดร.ไพศิษฎ์ พิพัฒนกุล ประธานคณะกรรมการกฤษฎีการคณะที่ 9 มีความเห็นว่า ยกร่างกฎหมายจัดตั้งของศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ประเด็นทำอย่างให้ลูกจ้างได้รับความเป็นธรรม รวมถึงความรู้ความเชี่ยวชาญด้านแรงงานของผู้พิพากษา อย่างไร ?
ศาสตราจารย์เกษมสันต์ วิลาวรรณ กรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 9 และอดีตผู้พิพากษาอาวุโส ศาลแรงงานกลาง เสนอแนวคิดแบบศาลคู่ อย่างไร ?
https://www.youtube.com/watch?v=irMajIJtVZI

ชมคลิป ประชุมรับฟังความคิดเห็น เรื่อง “กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานในระบบศาลคู่” ตอนที่ ๔
ช่วงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทางภาคเอกชนนั้น นายชัยปิติ ม่วงกูล กรรมการกฎหมายสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เสนอว่า หากจะมีการปฏิรูปกระบวนการแรงงานนั้น ควรทำอย่างไร ?
นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ ผู้อำนวยการมูลนิธิ อารมณ์ พงศ์พงัน มีความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายทั้งสองฉบับที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอนี้อย่างไร ? 
https://www.youtube.com/watch?v=mFc9gHd9Bsk

ชมคลิป ประชุมรับฟังความคิดเห็น เรื่อง “กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานในระบบศาลคู่” ตอนที่ ๕
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบข้อซักถาม
ศาสตราจารย์ เกษมสันต์ วิลาวรรณ กรรมการกฤษฎีกาคณะที่ ๙ 
นางสาวฉันทนา เจริญศักดิ์ ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม
https://www.youtube.com/watch?v=Z_hRSJUoyxQ









ร่างประมวลกฎหมายแรงงาน และ ร่างพ.ร.บ.การบริหารแรงงาน โดย คปก

3 กุมภาพันธ์ 2558- คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดยคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านแรงงาน จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิต่อการจัดทำ “ร่างประมวลกฎหมายแรงงาน และร่างพระราชบัญญัติการบริหารแรงงาน” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายภาคส่วนเข้าร่วมอภิปราย อาทิ ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 9 ศ.ดร.ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล ศ.เกษมสันต์ วิลาวรรณ อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลแรงงานกลาง ผู้แทนจากกระทรวงแรงงาน รวมทั้งสภาองค์การนายจ้างฯ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาองค์การลูกจ้างฯ ผู้แทนแรงงานทั้งในและนอกระบบ
           นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านแรงงาน กล่าวว่า สถานการณ์ปัญหาด้านกฎหมายแรงงานที่ทำให้กำหนดแผนงานยุทธศาสตร์เรื่องการจัดทำร่างประมวลกฎหมายแรงงาน และ ร่างพ.ร.บ.บริหารแรงงาน เนื่องจากมีกฎหมายแรงงานหลายฉบับ นิยาม”ลูกจ้าง” “นายจ้าง”ไม่ตรงกัน และแคบ ทำให้ตีความไม่ตรงกัน อีกทั้งกฎหมายไม่ทันสถานการณ์การจ้างงานปัจจุบันที่ซับซ้อน ไม่มีแนวคิดดูแลแรงงานทั้งระบบ ทั้งการคุ้มครองดูแลสวัสดิการ และต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องให้มีกระบวนการมีส่วนร่วม และให้กฎหมายสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศ รวมถึงระบบแรงงานสัมพันธ์ที่มีอยู่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาแก้ไขความขัดแย้งและพัฒนาทั้งเศรษฐกิจและสังคมร่วมกัน ระหว่างผู้จ้างงาน ผู้ทำงานและการบริหารภาครัฐไม่บูรณาการ ดังนั้น จึงได้จัดทำร่างประมวลกฎหมายแรงงานและร่างพระราชบัญญัติการบริหารแรงงานทั้งสองฉบับนี้ โดยคณะอนุกรรมการด้านแรงงาน คปก.ได้ศึกษาวิจัยและมีการรับฟังจากทุกภาคส่วนมาเป็นเวลานาน และในวันนี้เป็นการรับฟังร่างกฎหมายที่ร่างเป็นรายมาตราแล้วทั้งสองฉบับเป็นครั้งแรก โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ องค์การนายจ้างและองค์การลูกจ้าง สิ่งที่เห็นตรงกันชัดเจนในเชิงหลักการว่ากฎหมายนี้เป็นความจำเป็นต้องมีประมวลกฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่มีประโยชน์ และมีทิศทางที่ถูกต้อง ทุกฝ่ายเห็นความจำเป็นต้องเปลี่ยนนิยามมาเป็นผู้จ้างงานกับคนทำงาน และมีการจัดวางบทบาทของรัฐและผู้ประกอบการ กับคนทำงานที่ชัดเจน ให้คุ้มครองดูแล ส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดูแลฐานสวัสดิการสังคม และการพัฒนาฝีมือแรงงาน

               ศาสตราจารย์ ดร.ไพศิษฎ์ พิพัฒนกุล ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 9 กล่าวว่า การยกร่างประมวลกฎหมายแรงงานของคปก.เป็นเจตนารมณ์ที่ดี และสนับสนุน อย่างไรก็ตาม เห็นว่าหากร่างกฎหมายมีรายละเอียดข้อกำหนดในเรื่องต่างๆมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย อันจะนำไปสู่การเกิดข้อพิพาทเป็นคดีขึ้นสู่ศาล จึงควรกำหนดบทบัญญัติต่างๆ โดยมุ่งให้นายจ้างและลูกจ้างทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับข้อเสนอการตั้ง ”คณะกรรมการบริหารภาครัฐด้านแรงงาน หรือ คณะกรรมการ บ.ร.ร.” เห็นว่าคณะกรรมการชุดนี้จะมีภารกิจหน้าที่ที่หนักมากและจะถูกฟ้องคดี จึงเสนอให้กำหนดเฉพาะเรื่องนโยบาย และให้มีคณะกรรมการหลายชุด ในการบังคับใช้ ส่วนองค์ประกอบของคณะกรรมการไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี เกรงจะเกิดปัญหาความต่อเนื่องของการทำงานได้
         
                 ศาสตราจารย์เกษมสันต์ วิลาวรรณ กรรมการกฤษฎีกาคณะที่ ๙ และอตีตผู้พิพากษาอาวุโส ศาลแรงงานกลาง  กล่าวว่า กฎหมายแรงงานที่บังคับใช้อยู่ในประเทศไทยปัจจุบันมีอยู่เป็นจำนวนมาก การที่คปก.มีความพยายามในการยกร่างกฎหมายแรงงานนั้นนับเป็นเจตนารมณ์ที่ดีและนับเป็นความอุตสาหะอย่างยิ่ง เห็นด้วยกับนิยาม”ผู้จ้างงาน” กับ”ผู้ทำงาน” เช่น ในปัจจุบันเรื่องการเลิกจ้าง มีนิยามอยู่ในกฎหมายถึง 6 ฉบับแต่นิยามวิธีการคุ้มครองลูกจ้างตามกฎหมายเหล่านั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก ส่งผลให้นายจ้างปฏิบัติไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ เรื่องการใช้สิทธิเรียกร้อง บางเรื่องลูกจ้างต้องไปยื่นต่อภาคส่วนที่ต่างกัน จึงควรจะมีองค์กรเดียวให้ลูกจ้างยื่นการใช้สิทธิเรียกร้องได้ นอกจากนี้ กฎหมายไม่มีการกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกจ้างไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม กฎหมายแรงงานที่มีอยู่ในประเทศไทยนั้นมีความซับซ้อนและขัดแย้งกันเองค่อนข้างมาก ประมวลกฎหมายแรงงานที่เกิดขึ้นควรมีลักษณะเป็นการแก้ไขกฎหมายและปรับปรุงปัญหาที่มีอยู่ โดยกล้าๆตัดกฎหมายเดิมที่มีปัญหา และควรเพิ่มเติมเรื่องใหม่ๆให้ทันสมัยไปเสียเลย ทั้งนี้เห็นว่ากฎหมายแรงงานที่ดีควรจะเกิดจากความเข้าใจและความรับรู้ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตบางประการว่า การร่างประมวลกฎหมายแรงงานที่ดีนั้นต้องคำนึงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับการบังคับใช้กฎหมายฉบับก่อนๆ ด้วย รวมถึงบทบัญญัติต่างๆ จะต้องไม่เป็นการสร้างภาระให้แก่นายจ้างมากเกินไป เพราะจะทำให้นายจ้างใช้วิธีหลีกเลี่ยงกฎหมายในรูปแบบอื่นๆ
นอกจากนี้ เห็นว่าควรมีการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาข้อพิพาทหรือคดี รวมถึงควรกำหนดอายุความการเรียกร้องฟ้องร้องสิทธิเรียกร้องหรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของลูกจ้างให้มีอายุความ 2 ปี โดยเห็นว่าเป็นอายุความที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานเดิม อีกทั้งมีความใกล้เคียงกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศอีกด้วย
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ควรมีการให้ความคุ้มครองลูกจ้างกรณีที่นายจ้างมักจะกำหนดในสัญญาจ้างว่า เมื่อสิ้นสุดการจ้างงานแล้วห้ามไม่ให้ลูกจ้างไปทำงานในที่ทำงานอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับงานของนายจ้าง ซึ่งไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว ทำให้ลูกจ้างเสียเปรียบ จึงเห็นว่าจะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขมาตรฐานในการบังคับใช้สัญญาเช่น 1. เงื่อนไขเฉพาะกรณีที่ลูกจ้างได้รับประโยชน์เป็นพิเศษ หรือรู้ความลับทางการค้าของนายจ้าง 2. เงื่อนไขด้านระยะทาง ถ้าลูกจ้างทำงานคนละพื้นที่กับนายจ้างเดิมไม่ควรนำข้อสัญญาลักษณะดังกล่าวมาบังคับใช้ 3. ควรกำหนดไว้ให้เป็นระยะเวลาที่แน่นอน
                         ด้านดร.เอกพร รักความสุข อดีตประธานยกร่างประมวลกฎหมายแรงงาน ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในการยกร่างประมวลกฎหมายแรงงานในปี พ.ศ.2548 กล่าวว่า ปรัชญาในการยกร่างประมวลกฎหมายแรงงานในครั้งนั้น เน้นปรับกระบวนทัศน์ สร้างทัศนคติระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นลักษณะหุ้นส่วนกัน แต่เมื่อมาถึงคปก.ถือเป็นยุคที่เปลี่ยนกระบวนทัศน์และความเข้าใจไปในทิศทางที่ดีขึ้น นับตั้งแต่คำนิยาม ซึ่งเปลี่ยนนิยามจาก “นายจ้าง” และ “ลูกจ้าง” เป็น “ผู้จ้างงาน” และ “คนทำงาน” เพื่อให้เกิดทัศนคติการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างคนทำงานอย่างแท้จริง นอกจากนี้ มีการแยกส่วนการบริหารแรงงานไว้รวมกัน เป็นร่างพรบ.การบริหารแรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องทางกฎหมายมหาชน และจะเป็นการช่วยลดภาระของศาลแรงงานและลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลได้เป็นอย่างมาก โดยกำหนดให้คณะกรรมการบริหารภาครัฐด้านแรงงาน หรือ คณะกรรมการ บ.ร.ร. เป็นผู้ดำเนินการ
                 นายวาทิน หนูเกื้อ กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การกำหนดบทลงโทษทางอาญาจะกระทบกับนายจ้างหรือผู้ประกอบการเป็นต่างชาติ ทำให้มีความผิดที่ไม่สามารถประกอบกิจการในประเทศได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลูกจ้าง ดังนั้นควรมีมาตรการเสริมทางอาญาแทนการลงโทษทางอาญา และมีกฎหมายอาญาสามารถลงโทษกรณีทำผิดทางอาญาได้อยู่แล้ว
                  นางสิริวัน ร่มฉัตรทอง เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่ากฎหมายบริหารแรงงาน บูรณาการหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน กรมสรรพากร กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม การเขียนบทบาทรัฐในร่างกฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้ได้เพียงใด หลักการต้องสร้างสำนึกทางเศรษฐกิจคือฐาน และการคุ้มครองคือหลังคา การคุ้มครองแรงงาน สวัสดิการสังคม ชีวอนามัย ยังมีการบังคับใช้กฎหมายน้อย ค่าตอบแทนการทำงานควรเป็นไปตามสัญญาจ้างงาน มาตรฐานค่าแรงขั้นต่ำมีไว้อ้างอิง ส่วนค่าชดเชยไม่ควรมากเกินไป จะเป็นปัญหากับลูกจ้างเอง ในกรณีเกิดภัยธรรมชาติ หลายประเทศมีการเสนอให้เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลกลางมากกว่านายจ้าง ไม่ควรให้เป็นภาระนายจ้างที่ได้รับความเสียหาย
                     ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นต่อร่างประมวลกฎหมายแรงงานและร่างพรบ.การบริหารภาครัฐด้านแรงงานในรายละเอียด โดย นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวสรุปว่า กระบวนการจัดทำร่างประมวลกฎหมายแรงงานเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของคปก. ที่จะสร้างประมวลกฎหมายแรงงาน ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ข้อพิพาทระหว่างผู้จ้างงานและคนทำงานสามารถยุติลงได้โดยเร็วและลดปริมาณคดีที่จะไปสู่ศาลได้เป็นอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอกรอบการยกร่างรัฐธรรมนูญของคปก.ด้านกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานที่คปก.เสนอให้มีการแยกศาลแรงงานออกจากศาลยุติธรรม ทั้งนี้ คปก.จะรวบรวมข้อเสนอและปรับปรุงแก้ไขในรายละเอียดแต่ละมาตรา รวามทั้งรับฟังเพิ่มเติมอีก ก่อนนำเสนอ คปก.เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอส่งให้คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาต่อไป