ผีเสื้อกระพือปีก (สยามรัฐ ๒๒ ธค๕๘)
ร่างรัฐธรรมนูญกับความกลัวกลไกอิสระตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
: กรณีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
โดย สุนี ไชยรส
น่าเศร้าใจกับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปิดลับ ไม่กล้าเปิดเนื้อหาและหลักการล่วงหน้า คงจะกลัวสังคมวิพากษ์วิจารณ์ที่ไม่สอดคล้องกับความคิดเจตนาของตนเอง และคิดว่าตนเองรู้ดี ตัดสินใจดี
จึงไม่มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน นอกจากบอก “ให้ส่งข้อมูลมาสิ เปิดกว้างให้ส่ง ได้เสมอ” โดยวันที่
๒๙ มค ๒๕๕๙ จะแถลงให้รู้ทีเดียวทั้งฉบับ โดยให้เวลาทั้งสังคมไทยตั้ง ๑๕ วัน ให้วิจารณ์ได้เต็มที่ จะเอาไปปรับปรุง แล้วจะแถลงให้รู้ ๓๐ มีนาคม เพื่อให้ประชาชนลงประชามติเลย ช่างขัดแย้งกับคำขวัญของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่เก๋มาก “ร่วมคิด ร่วมร่าง ร่วมสร้าง รัฐธรรมนูญใหม่”
ไม่คิดว่าจะสุ่มเสี่ยงเกินไปหรือ ที่ดูเหมือนจะมัดมือชกให้รอลงประชามติเลย …
จากการวิพากษ์วิจารณ์หลากหลายช่วงร่างรัฐธรรมนูญฉบับ
อ.บวรศักดิ์ ที่มีทั้งข้อดีไม่น้อย
แต่ก็มี จุดอ่อนที่ควรเก็บรับบทเรียนหลายประเด็น
เสียงที่ชัดเจนประการหนึ่งคือ ในด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิชุมชน การกระจายอำนาจ
เป็นต้น ต้องไม่ด้อยไปกว่ารัฐธรรมนูญฉบับ
ปี ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ รวมทั้งมี การโต้แย้งเรื่องบทบาทอำนาจหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม) ที่ร่างเดิมจะไปควบรวม กับผู้ตรวจการแผ่นดิน และถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนในที่สุด ต้องให้มีการแยกสององค์กรที่มี เจตนารมณ์และบทบาทภารกิจต่างกัน และให้ความสำคัญต่อการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นอิสระ และเป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่
ประเทศไทยเป็นภาคี แต่ก็ไม่
เขียนอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจนเหมือนรัฐธรรมนูญ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐
ล่าสุด“จากข้อมูล ณ วันที่ ๑๕
ธันวาคม ๒๕๕๘”ที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เปิดเผยความคืบหน้าในการดําเนินงานออกมาบ้าง ระบุจะให้มีเนื้อหาสั้นและกระชับ
และบัญญัติเฉพาะ หลักการที่สําคัญเท่านั้น ส่วนรายละเอียดจะนําไปกำหนดไว้ในกฎหมายลําดับต่างๆต่อไป
โดยคณะ กรรมการจะยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่
แทนการนํารัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งในอดีตมาปรับปรุง
สังคมไทยคงต้องช่วยกันวิพากษ์วิจารณ์หลักการที่แถลงออกมา
๑๗ หน้าในครั้งนี้ก่อน มีหลาย ประเด็นที่ควรแก่การวิพากษ์วิจารณ์อย่างยิ่ง จะไปรอถึง
๒๙ มค.๕๙ ที่จะแถลงทั้งฉบับน่าจะสายเกินไป
วันนี้ขอเปิดประเด็นเรื่องแรกว่าด้วย “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ”
จากหัวข้อ… “องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ”….
๒)
ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นควรให้ใช้แนวทางการร่างบทบัญญัติในส่วนนี้ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐…
๕)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะเน้นให้เป็นองค์กรที่มีอํานาจหน้าที่ในการ
ให้คําปรึกษา (advisory)…
กรณีผู้ตรวจการแผ่นดิน เขียนเช่นนั้นก็ยังไม่มีปัญหาอะไร
แต่กรณีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม)
ที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐธรรมนูญ๒๕๔๐ ที่ประชาชน เรียกร้องให้บัญญัติสิทธิเสรีภาพของประชาชน
สิทธิชุมชน และการกระจายอำนาจ…อย่างชัดเจน
รวมทั้งให้มี กลไกที่เป็นอิสระในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน ที่มีหน้าที่สำคัญในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิ มนุษยชนและการกระทำไม่เป็นธรรม
ทั้งจากรัฐและเอกชน นั่นคือคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งกว่าจะบัญญัติได้ในรัฐธรรมนูญก็มีการต่อสู้ทางแนวคิด
หลักการ และอคติจาก ความหวั่นเกรงที่ประชาชนจะเรียกร้องสิทธิมากเกินไป รวมทั้งความกลัวเรื่องการตรวจสอบการละเมิดสิทธิ
จากหน่วยงานของรัฐ ที่ดำเนินการได้เป็นอิสระ
ไม่อยู่ใต้การสั่งการของรัฐบาล
หลักการของคณะกรรมการร่างฯชุดนี้ได้ทำลายทั้งหลักประกันเรื่องสิทธิของประชาชน
ทำลาย ภาพพจน์ที่ประเทศไทยกำลังถูกวิจารณ์เรื่องสิทธิมนุษยชน เท่ากับทำให้ถอยหลังตกคลองไปเลย ไม่สามารถที่จะยอมรับได้ตั้งแต่แนวคิดหลักการทีเดียว และจำเป็นต้องถูกคัดค้านวิพากษ์อย่างจริงจัง
คณะกรรมการสิทธิฯในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ เกิดขึ้นได้เพราะประชาชน และภาคประชาสังคมยัง เกาะติดไปวิพากษ์คัดค้านอย่างหนักต่อความพยายามไปหมกเม็ดไว้ในการร่างกฎหมายลูกต่อมาอีกด้วย
ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากๆถ้าดำเนินการตามหลักการของคณะกรรมการร่างฯชุดนี้ เพราะเมื่อหลักการ ก็ผิดพลาดแล้ว การจะเขียนสั้นๆให้ไปรอกฎหมายลูกอีกทีก็ยิ่งจะไปกันใหญ่ ปิดฉากองค์กรอิสระนี้ไปได้เลย
บทเรียนก่อนจะมาเป็น
พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ก็คือ แม้รัฐธรรมนูญเขียนชัดเจนให้เป็นองค์กรตรวจสอบที่เป็นอิสระ ร่างแรกของกฎหมายโดยรัฐบาลยังให้ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิฯขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ภาคประชาสังคมทั่วประเทศคัดค้านจนเปลี่ยน มาให้สำนักงานกสม.มาขึ้นตรงต่อประธาน
กสม. เพื่อประกันหลักอิสระขั้นต้น และยังมีอีกหลายประเด็น ที่มีกระแสผลักดันให้เปลี่ยนแปลงร่างกฎหมายลูกนี้ให้ดีขึ้น
ที่ทำได้บ้าง เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ในหลักการที่ดี ประกอบกับร่างกฎหมายนี้เป็นฉบับเดียว ที่ให้มีการประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ
ทำให้ประชาสังคมสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างจริงจัง
ตอนนี้นึกภาพล่วงหน้าได้ชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไร เมื่อมีการร่างกฎหมายลูกที่จะดำเนินการ โดยคณะกรรมการ
ร่างฯชุดนี้ ประกอบกับกระบวนการตรากฎหมายปัจจุบันก็รวดเร็ว
ไม่มีส่วนร่วม ของประชาชนอีกเช่นกัน
ถ้าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญยืนยันหลักการให้
คณะกรรมการสิทธิฯทำหน้าที่องค์กร ให้คำปรึกษา
ก็ขอให้แถลงตรงๆออกมาเลยว่า
จะยุบคณะกรรมการสิทธิฯ และก็ควรเสนอให้รัฐบาล ไปถอนชื่อประเทศไทยจากพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆที่ไปเป็นภาคีไว้ด้วยเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น