วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

สุนี ไชยรส :ภูซางอำไพ: สามประสาน :นักศึกษา กรรมกร ชาวนา หลัง๑๔ ตุลา

สุนี ไชยรส :ภูซางอำไพ: สามประสาน :นักศึกษา กรรมกร ชาวนา หลัง๑๔  ตุลา

                       

วนิดา  ตันติวิทยาพิทักษ์  ที่ปรึกษาในการต่อสู้ของกรรมกรฮาร่า  ที่ยืดเยื้อและเจ็บปวด   สุดท้ายได้ยึดโรงงานมาทำการผลิตเองอยู่ช่วงหนึ่งเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของกรรมกรไทย  ก่อนที่จะถูกจับกุม   เธอสรุปบทเรียนว่า...

เป็นนักศึกษาปี เข้าไปก็ทำงานกับมวลชน  ครั้งแรกไปร่วมสไตร๊ค์กับกรรมกรรถเมล์    ตอนชุมนุมเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำก็ไปร่วมด้วย  ชาวนาก็มาเรื่องค่าเช่านา  จำได้ว่ามีพี่น้องกรรมกรหรือชาวนาเข้าไปอยู่ในทำเนียบ     ประท้วงกันอยู่ในทำเนียบเลย  ทำกับข้าวในนั้น    ตัวเองก็เข้าไปช่วยชาวบ้านอยู่ในนั้นนั่นแหละ... 
กรรมกรฮาร่าอายุสูงสุดประมาณ 20 ปี  เฉลี่ย 15 ปี ที่สู้เป็นผู้หญิงทั้งหมด   สมัยนั้นไม่ใช่สไตร๊ค์กันได้ง่ายๆ  บางทีนายจ้างก็ให้อันธพาลยกพวกมาเล่นงาน   ส่วนใหญ่การนัดหยุดงานก็จะใช้วิธีปิดเครื่องจักรยึดโรงงานเอาไว้    ไม่ใช่ว่ามาอยู่นอกโรงงาน... กรรมกรฮาร่าเล่าว่า   เวลามีเจ้าหน้าที่มาตรวจคนงานก็จะไปซ่อนในโอ่ง  เพราะอายุมันน้อยผิดกฎหมาย  แล้วก็ทำหน้าที่คนรับใช้ไปในตัว    ขณะที่สินค้าของฮาร่ามีชื่อเสียง   ไปซื้อลิขสิทธิ์มาแล้วก็ขยายโรงงาน...
ฮาร่าทางฝั่งตรอกจันทร์หยุดงานและยึดเครื่องจักรเอาไว้  หยุดงานวันแรก นายจ้างก็เอาอันธพาลเข้าไปตีเลย  คนงานหญิงก็สู้    สไตรค๊ยืดเยื้อ   หลังจาก 3 เดือนมันทนกันไม่ไหวลำบากไม่มีจะกินกันแล้ว เป็นลูกหลานคนจีนส่วนใหญ่   คนจีนที่ยากจนเป็นกรรมกรก็เยอะ   เถ้าแก่ก็เป็นนายทุนมาจากไต้หวัน   มีการคุกคามตลอดเวลา  คนงานผู้หญิงจะต้องถือไม้เฝ้าโรงงานนะ   พอฝ่ายโน้นมาก็ตีกัน   สมัยก่อนกระทิงแดงเห็นมีสไตร๊ค์ที่ไหนก็เอาระเบิดพลาสติกไปขว้าง  ข่มขู่คนงานให้กลัวทุกคืน  ฮาร่าก็โดน   หลังจากนั้นก็ตัดสินใจว่าคนทำงานควรจะได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต    ก็เลยยึดโรงงาน...กรรมกรเอาผ้าที่กองอยู่ในโรงงานเยอะๆเย็บเป็นเสื้อผ้ามาขายเลย  คนมาซื้อถึงโรงงานตั้งแต่ตีห้า   เพราะเราขายถูกไง  แต่ก่อนหน้านั้นเราก็ไปติดโปสเตอร์ทั่วเมือง   ประกาศว่าต้นทุนกางเกงฮาร่าไม่กี่สตางค์   ต้นทุนแรงงานยิ่งเหลือตัวหนึ่งตกไม่ถึงห้าสิบตังค์    เพราะฉะนั้นไอ้ที่ขายน่ะขูดรีดทั้งนั้น   เราก็ขายในราคาร้อยกว่าบาท    ขณะที่นายทุนขาย 400-500  บาท   ขายได้เงินมาก็มาแบ่งกันเป็นค่ากับข้าวค่าอะไร  ปรากฏว่าได้มากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ   ก็ทำอย่างนี้อยู่ประมาณสองเดือนก็ถูกสลายการชุมนุม”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น