วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดยคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านแรงงาน จัดเวทีสาธารณะเรื่อง ร่างประมวลกฎหมายแรงงานและร่างพระราชบัญญัติการบริหารแรงงาน พ.ศ.... ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย 



นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า "ร่างประมวลกฎหมายแรงงาน รัฐบาล

ควรต้องยอมรับในหลักการก่อน ที่ผ่านมาเป็นความพยายามแก้ไขทีละมาตรา ทีละกฎหมายแรงงาน ใน

ลักษณะการปะผุ คปก.อยากขอให้ทุกท่านพิจารณาในเชิงหลักการ ว่ามีความจำเป็นต้องปฏิรูปกฎหมาย

แรงงานทั้งระบบ ด้วยการออกเป็นประมวลกฎหมาย ส่วนกระบวนการออกกฎหมายยังมีหลายขั้นตอน

โดยต้องผ่านพิจารณาของรัฐมนตรีจากกระทรวงแรงงาน กว่าจะผ่านคณะรัฐมนตรี กว่าจะผ่านสภา.. ซึ่ง

แนวคิดการพัฒนากฎหมายแรงงาน เสนอให้แก้ไขนัยยะการปฏิรูปโดยไม่ยึดติดหน่วยงานใด"

"สาระสำคัญของร่างประมวลกฎหมายแรงงานนี้ กฎหมายอาญายังดำรงอยู่ แต่โทษทางอาญาใน


ประมวลกฎหมายแรงงานและ ร่างพ.ร.บ.บริหารแรงงาน ฯ มีการเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนเป็นมาตรา

การลงโทษทางสังคม แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ยังต้องใช้โทษทางอาญา และมีข้อเสนอของคปก.ต่อท้ายที่

ต้องปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา ที่มีความเห็นว่า กฎหมายอาญายังไม่เข้าใจเรื่องแรงงานเพียงพอ

 ในอนาคตต้องมีการปรับปรุงกฎหมายอาญาเพื่อให้มีผลจัดการต่อความขัดแย้งทางแรงงานมีความ

ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยประมวลกฎหมายแรงงานเป็นการคุ้มครองคนทำงานที่เน้นกระบวนการยุติธรรมเชิง
บริหารให้มีประสิทธิภาพ มีการมีส่วนร่วมหลากหลายขึ้น

แต่ในกระบวนการยุติธรรมด้านศาล คปก.เสนอต้องแยกศาลแรงงานออกมาจากศาลยุติธรรม เป็นระบบให้สร้างความเช่ี่ยวชาญและพัฒนาระบบไต่สวนหาความจริง 

         
            การที่มีคณะกรรมการร่วมบริหารแรงงาน(ร.บ.ร.)พิเศษ เพื่อการบริหารโดยตรง เพราะเกี่ยวพัน

กับหลายกระทรวง หลายกรมหลายชุมชนและเรื่องอื่นๆ คณะกรรมการชุดนี้มาจากหลายฝ่ายเพื่อกำกับ

 ตรวจสอบ ออกระเบียบให้สอดคล้องกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ประมวลกฎหมายแรงงาน เพราะเจ้า

หน้าที่กระทรวงแรงงานไม่สามารถคุ้มครองแรงงานได้ทั้งหมด กำลังไม่มีทางเพียงพอ ต้องอาศัย

สหภาพ องค์กรนายจ้าง อาศัยชุมชน ในการตรวจสอบเพื่อคุ้มครองให้รวดเร็วและทันสถานการณ์ ภาย

ใต้การจ้างงานที่หลากหลายและซับซ้อน"
        
           "ทั้งนี้ คปก.ได้นำเสนอแนวคิดอย่างนี้ต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาปฏิรูปแห่งชาติไปแล้ว ส่วนการดำเนินการต่อไป หวังให้เกิดการขับเคลื่อน เผยแพร่และรณรงค์ ร่วมกับทุกภาคส่วน ให้เกิดการปรับปรุง สังคายนา กฎหมาย ให้ครอบคลุมพื้นที่แรงงานที่มีอยู่ 30 กว่าล้านเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากล และไทยควรเป็นแบบอย่างของอาเซียน "

 http://www.lrct.go.th/th/?p=16300

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น