วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558




           เวทีวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ ที่สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหิดลมีอ.ถวิลวดี บุรีกุลและ คุณสุภัทรา นาคะผิว สองนักขับเคลื่อนที่มีผลงานมายาวนานมานำเสนอ เปิดประเด็นอภิปรายโดย รศ.ยุทธพร อิสรชัย และสุนี ไชยรส ผู้คนร่วมอภิปรายมาก มีแยกกลุ่มตอนบ่ายด้วย จะมีกมธ ยกร่าง
มาหลายคน แต่มีภารกิจไม่ได้อยู่ร่วม 
 
           วันนี้มีเวลา ๑๐ นาที จึงได้นำเสนอบางประเด็นสำคัญ เช่น

             ๑)รธน.ก่อความสับสนและปัญหาเรื่อง"สิทธิพลเมือง" "สิทธิมนุษยชน" "สิทธิบุคคล" ทั้งที่ควรใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคล เพราะพลเมืองจำกัดเพียงผู้มีสัญชาติไทย และนำหลักสิทธิเสรีภาพไปจำกัดไว้ให้แคบลง เช่น สิทธิการศึกษา สิทธิสาธารณสุข แม้แต่สิทธิในค่าจ้างที่เป็นธรรม ความปลอดภัยในการทำงาน สิทธิมารดาก่อนและหลังคลอด.. สิทธิการร้องทุกข์ ..?ทั้งที่เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของคน รวมถึงกลุ่มชาติพันธ์และชนเผ่าพื้นเมืองที่รอการพิสูจน์สัญชาติ และควรระบุด้วยว่า สังคมไทยเป็นพหุเชื้อชาติ จนถึงการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติตามมาตรฐานแรงงาน

           ๒) ความกลัวและกังวลต่อนักการเมือง พรรคการเมือง การเลือกตั้ง..จนเอียงมากไป .และไม่มีหลักการที่ควรเป็น เช่น ..


                   (๑)ให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค แต่ให้อิสระลงมติได้ แม้พรรคให้ออก แต่ก็ยังเป็น ส.ส.ได้ ... เมื่อให้มีบัญชีรายชื่อตามภาค ก็ให้ปชช.เลือกเป็นรายคนไม่เรียงลำดับ (โอเพ่นลิสต์) ทำให้การเลือกพรรคการเมืองที่ควรต้องแข่งขันกันด้านนโยบาย บุคคลดี/ เด่น กลายเป็นความลักลั่น ไม่ควรต้องมีบัญชีรายชื่อเลยดีกว่า และควรให้ ส.ส.ไม่ต้องสังกัดพรรค
นอกจากนี้ยังให้มี"กลุ่มการเมือง"ส่งผู้สมัคร ส.ส.ได้เช่นเดียวกับพรรค ทั้งที่ควรส่งเสริมการพัฒนาพรรคการเมืองให้ดี ส่วนใคร /กลุ่มไหนอยากลงส.ส.ก็สมัครได้ กลุ่มการเมือง/กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆควรมีหน้าที่ตรวจสอบในฐานะปชช.

               (๒)การมี ส.ว.เดิม เพื่อตรวจสอบ ถ่วงดุล เลือกและถอดถอนองค์กรอิสระต่างๆ รธน.๔๐ จึงให้ยึดโยงปชช. ด้วยการมาจากการเลือกตั้ง ..ครั้งนี้เพิ่มอำนาจ และ เสนอกม.ได้ มี ๒๐๐ คน ...แต่ให้มาทางอ้อม จากกลุ่มอาชีพ แต่สัดส่วนไม่ถูกต้อง เกษตรกร แรงงาน ...ให้ ๓๐ คน แต่ปลัดกระทรวง ผบ.เหล่าทัพ..๒๐ คน สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ ๕๘ คน..และที่ร้ายที่สุดคือมีส.ว.จังหวัดละ ๑ คน แต่ให้มีกก.สรรหากลั่นกรองให้เหลือ ๑๐ คน แล้วค่อยให้ปชช.เลือก??? ไม่มี ส.ว.เลยดีไหม
ปัญหาองค์กรอิสระจากรธน.๕๐ คือที่มาของกก.สรรหา ที่คับแคบ ไม่ยึดโยงกับปชช. ต้องแก้ที่นี่ แต่ยังไม่ได้แก้ ..แถมไปยุบกรรมการสิทธิ ฯรวมกับผู้ตรวจการแผ่นดิน เสียหายต่อปชช.และหลักการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน...อีกทั้งไปเพิ่มสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ให้มาเป็นกก.สรรหา และหน้าที่มากมาย?? รวมทั้งมีอีกหลายองค์กรเพิ่มขึ้น

 

               (๓)การมีส่วนร่วมของปชช.ในรธน.๕๐ มีหลายมิติ ทุกระดับ(ม.๘๗) และกำหนดชัดเจนว่า..ต้องมีสัดส่วนหญิงชายใกล้เคียงกัน /แม้แต่ ส.ว.สรรหาและบัญชีรายชื่อของพรรคก็กำหนดความเสมอภาคระหว่างเพศ ...แต่ รธน.นี้ตัดทิ้ง มีเรื่องบัญชีรายชื่อของพรรค ที่กำหนดต้องมีเพศหนึ่งไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ แต่พรรคไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องการเรียงลำดับที่แสดงเจตจำนงทางการเมือง เพราะปชช.เลือกรายคนได้ 


 
               (๔)การปฏิรูปเป็นเรื่องระยะยาว ต้องทำบนฐานความตื่นตัวเข้มแข็งของปชช. ไม่มียุติง่ายๆ ดังนั้น สภาปฏิรูปวางทิศทางไว้ก็พอแล้ว...จึงไม่ควรต้องมีสภาปฏิรูป และกก.ขับเคลื่อนปฏิรูป ต่อเนื่อง หลังรธน.ไปอีก ๕ ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น