การต่อสู้ของ”มด” คือทิศทางของพลังสามประสาน นักศึกษา กรรมกร ชาวนา..เพื่อคนจน และประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
ตลอดเส้นทางการต่อสู้จนวาระสุดท้ายของชีวิต ..”มด” วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ …ไม่อาจแยกจากประวัติศาสตร์การต่อสู้ของขบวนนักเรียนนักศึกษาประชาชน ที่มีอุดมการณ์ ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม และเพื่อ คนจน
วัยเยาว์แห่งนักเรียนของมดก่อน ๑๔ ตุลา ๑๖ เป็นช่วงกระแสของนักเรียนนักศึกษาที่เริ่มตระหนักถึงอุดมการณ์ที่จะต้อง“รับใช้ประชาชน” และหลัง ๑๔ ตุลาก็ยิ่งโถมตัวเข้าร่วมการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของกรรมกร ชาวนา เพราะการมีรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งยังไม่สามารถแก้ปัญหาโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม และการกดขี่ที่หนักหน่วง จึงเกิดการประสานกับนักเรียนนักศึกษาปัญญาชนเป็นพลัง“สามประสาน”อย่างกว้างขวาง
มดเข้าร่วมการต่อสู้ทั้งของชาวนา กรรมกร และเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้หญิงธรรมศาสตร์ ปี ๒๕๑๗ และในที่สุดได้ทุ่มเทกับการต่อสู้ของกรรมกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อสู้ของกรรมกรฮาร่า ที่เป็นตำนานหนึ่งที่สำคัญของขบวนกรรมกรไทย จากการกดขี่ ขูดรีดแรงงาน หญิงและเด็กอย่างหนัก เมื่อลุกขึ้นสู้ขอความเป็นธรรมกลับถูกคุกคามทำร้ายอย่างป่าเถื่อนทั้งจากกลุ่มอิทธิพลของทุนเอง และจากเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจรัฐ มีการต่อสู้ที่เด็ดเดี่ยวจนถึงขั้นยึดโรงงานทำการผลิต และมีการหนุนช่วยจากขบวนแรงงาน นักศึกษา ศิลปินเพื่อชีวิต ถือว่ามีการรณรงค์ต่อสังคมและสื่อให้เข้าใจการต่อสู้อย่างแข็งขัน…
แน่นอนว่ากรรมกรฮาร่าถูกปราบ และเมื่อเกิดกรณีการปราบปรามขบวนนักศึกษาประชาชนอย่างโหดเหี้ยมในเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ มดและกรรมกรฮาร่าจำนวนหนึ่งก็เข้าร่วมการต่อสู้ในเขตป่าเขากับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เช่นเดียวกับนักเรียน นักศึกษาปัญญาชน และกรรมกรชาวนาทั่วประเทศ และเมื่อกลับจากป่าก็ยังโถมตัวเข้าร่วมการต่อสู้กับคนจน ชาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัชชาคนจน รวมทั้งการไปเข้าร่วม และให้กำลังใจ ถ่ายทอดบทเรียนแก่ ขบวนคนจน ชาวนา และการปกป้องสิ่งแวดล้อม ทั่วประเทศ…จนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
เรื่องราวของกรรมกรฮาร่าได้ถูกบันทึกในพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ที่มีนักศึกษาประชาชน ทุกระดับไปเยี่ยมชมต่อเนื่อง พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยก่อตั้งและบริหารงานโดยขบวนกรรมกร ในห้องการจัดแสดงยุคร่วมสมัยที่เริ่มต้นจาก ๑๔ ตุลา ๑๖ มีทั้งรูปภาพ โปสเตอร์เก่าๆ กางเกงยีนส์ เรื่องราวของฮาร่า รวมทั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้เชิญ”มด” และกรรมกรฮาร่า มาเล่าเรื่องราวย้อนอดีต เพื่อเติมเต็มบันทึกประวัติศาสตร์การต่อสู้ของกรรมกรฮาร่า และบทบาทของนักศึกษากับขบวนกรรมกร นอกจากนี้มดเองก็มีส่วนประสานนำพาขบวน สมัชชาคนจนมาร่วมงานกับขบวนการกรรมกรในหลายการเคลื่อนไหว จึงเป็นภาพตัวแทน ของพลังสามประสานรูปแบบหนึ่งและเป็นที่รู้จักของผู้นำแรงงาน
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยมีการจัดงานรำลึกถึงผู้นำกรรมกรที่เสียชีวิตแล้วตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบันต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปีนี้ เมื่อวันที่ ๒๑ ตค.๕๕ มีแนวคิด ขยายวงถึงนักสู้เพื่อกรรมกรที่มาจากกลุ่มปัญญาชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะการต่อสู้ของ ขบวนการกรรมกรไม่อาจแยกจากกันกับขบวนการต่อสู้ทางการเมืองของสังคมไทย โดยเฉพาะขบวนปัญญาชน รวมทั้งการต่อสู้ของชาวนาในงานรำลึกจึงมีเรื่องราวของปัญญาชนรุ่นเก่าๆ มาจนถึงจิตร ภูมิศักดิ์ พี่ทองใบ ทองเปาด์ อ.ธีรนาถ กาญจนอักษร และ”มด ..วนิดา” ฯลฯ รวมทั้งนิยม ขันโท ผู้นำฮาร่า ที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็มาร่วมกล่าวรำลึกด้วย
ขบวนแรงงานมีความพยายามเรียนรู้และประสานการทำงานกับนักวิชาการ สถาบัน วิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน แม้จะยังไม่สามารถก่อรูปพลังสามประสาน ชัดเจนเช่นในอดีต แต่ก็เริ่มต้นมาพอสมควร โดยเฉพาะการยอมรับแนวคิดสามประสาน การทำงานกับชุมชน ที่ปกป้องสิ่งแวดล้อม การร่วมมือกับกลุ่มเกษตรพันธสัญญาและแรงงานนอกระบบในชนบท มีการประสานร่วมมือกับเยาวชนนักศึกษา รวมทั้งผู้ที่จบแล้วเข้ามาร่วมทำงานกับขบวนแรงงานมากขึ้น เช่น มีอาสาสมัครนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ไปร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์กร แรงงานหลายรุ่น และพัฒนาต่อมาเป็นทนายความแรงงานรุ่นใหม่ หรือตอนน้ำท่วมวิกฤติหนักปี ๒๕๕๔ มีทีมเยาวชนนักศึกษามาร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยตั้งค่ายช่วยเหลือแรงงานทั้งไทยและแรงงานข้ามชาติ
มดเข้าธรรมศาสตร์ รุ่นปี ๒๕๑๗และเข้าร่วมกลุ่มผู้หญิงธรรมศาสตร์ ซึ่งมีแนวคิดร่วมกันว่า ความเสมอภาคหญิงชายและทุกกลุ่มจะเกิดขึ้นไม่ได้แท้จริงและยั่งยืน ถ้าสังคมไทยไม่มีประชาธิปไตยทางการเมือง และต้องเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่เคารพสิทธิชุมชน สิทธิในการตัดสินใจและจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของตน และการมีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ที่คนจนต้องมีที่ดินทำกิน มีที่อยู่อาศัย และมีเสรีภาพในการต่อสู้รวมตัว...ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางก้าวเดินของมดเอง..ของเพื่อนๆสมาชิก
กลุ่มผู้หญิง และยังเป็นทิศทางที่ขบวนต่อสู้เพื่อความเสมอภาคก้าวเดินอยู่ถึงปัจจุบัน
บทบาทในสมัชชาคนจนที่กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และเสียสละของมด เป็นที่กล่าวขวัญและโดดเด่น เป็นที่ยอมรับของหลากหลายกลุ่ม หลายระดับ และมีผลให้มดต้องเดินทางทั่วประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนและให้กำลังใจการต่อสู้ของชุมชน ในการต่อสู้เพื่อปกป้องชุมชนของตนเองจากโครงการการพัฒนาของรัฐ จากการใช้อำนาจรัฐไม่เป็นธรรม ทั้งพี่น้องสลัม พี่น้องชนเผ่า การถูกฟ้องคดีของมด และความเข้มแข็ง การทำงานอย่างมีเครือข่าย ที่ไม่โดดเดี่ยว…ซึ่งช่วยให้หลายกลุ่ม หลายผู้นำการต่อสู้ มีกำลังใจก้าวเดินต่อสู้ต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ ด้วยความกล้าหาญ เสียสละ แม้จะถูกจับกุมคุมขัง หรือหลายคนรอบข้างเสียชีวิตไปก็ตาม
๖ ธค.๕๕ ครบรอบการจากไปของมด ๕ ปีแล้ว เวลาดูผ่านเร็วมากท่ามกลางปัญหาที่ รุมเร้าคนจนยังดำรงอยู่ แต่ขบวนการต่อสู้ของเยาวชนนักศึกษา กรรมกร ชาวนา ยังคงขับเคลื่อนต่อไป บนทิศทางพลังสามประสานที่แม้รูปแบบอาจต่างจากเดิม แต่เจตนารมณ์แและจิตวิญญาณแห่งการเชื่อมั่นในประชาชน และจิตใจต้องกล้าหาญ เสียสละ ยังคงได้รับการยึดมั่นต่อไป
รำลึกถึงมด น้องรัก ..มดได้พิสูจน์เส้นทางชีวิตของเธอแล้วว่า ..”อยู่อย่างยิ่งใหญ่ ตายอย่างมีเกียรติ”นั้นเป็นเช่นใด
สุนี ไชยรส ๑ธันวา ๒๕๕๕
วัยเยาว์แห่งนักเรียนของมดก่อน ๑๔ ตุลา ๑๖ เป็นช่วงกระแสของนักเรียนนักศึกษาที่เริ่มตระหนักถึงอุดมการณ์ที่จะต้อง“รับใช้ประชาชน” และหลัง ๑๔ ตุลาก็ยิ่งโถมตัวเข้าร่วมการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของกรรมกร ชาวนา เพราะการมีรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งยังไม่สามารถแก้ปัญหาโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม และการกดขี่ที่หนักหน่วง จึงเกิดการประสานกับนักเรียนนักศึกษาปัญญาชนเป็นพลัง“สามประสาน”อย่างกว้างขวาง
มดเข้าร่วมการต่อสู้ทั้งของชาวนา กรรมกร และเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้หญิงธรรมศาสตร์ ปี ๒๕๑๗ และในที่สุดได้ทุ่มเทกับการต่อสู้ของกรรมกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อสู้ของกรรมกรฮาร่า ที่เป็นตำนานหนึ่งที่สำคัญของขบวนกรรมกรไทย จากการกดขี่ ขูดรีดแรงงาน หญิงและเด็กอย่างหนัก เมื่อลุกขึ้นสู้ขอความเป็นธรรมกลับถูกคุกคามทำร้ายอย่างป่าเถื่อนทั้งจากกลุ่มอิทธิพลของทุนเอง และจากเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจรัฐ มีการต่อสู้ที่เด็ดเดี่ยวจนถึงขั้นยึดโรงงานทำการผลิต และมีการหนุนช่วยจากขบวนแรงงาน นักศึกษา ศิลปินเพื่อชีวิต ถือว่ามีการรณรงค์ต่อสังคมและสื่อให้เข้าใจการต่อสู้อย่างแข็งขัน…
แน่นอนว่ากรรมกรฮาร่าถูกปราบ และเมื่อเกิดกรณีการปราบปรามขบวนนักศึกษาประชาชนอย่างโหดเหี้ยมในเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ มดและกรรมกรฮาร่าจำนวนหนึ่งก็เข้าร่วมการต่อสู้ในเขตป่าเขากับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เช่นเดียวกับนักเรียน นักศึกษาปัญญาชน และกรรมกรชาวนาทั่วประเทศ และเมื่อกลับจากป่าก็ยังโถมตัวเข้าร่วมการต่อสู้กับคนจน ชาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัชชาคนจน รวมทั้งการไปเข้าร่วม และให้กำลังใจ ถ่ายทอดบทเรียนแก่ ขบวนคนจน ชาวนา และการปกป้องสิ่งแวดล้อม ทั่วประเทศ…จนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
เรื่องราวของกรรมกรฮาร่าได้ถูกบันทึกในพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ที่มีนักศึกษาประชาชน ทุกระดับไปเยี่ยมชมต่อเนื่อง พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยก่อตั้งและบริหารงานโดยขบวนกรรมกร ในห้องการจัดแสดงยุคร่วมสมัยที่เริ่มต้นจาก ๑๔ ตุลา ๑๖ มีทั้งรูปภาพ โปสเตอร์เก่าๆ กางเกงยีนส์ เรื่องราวของฮาร่า รวมทั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้เชิญ”มด” และกรรมกรฮาร่า มาเล่าเรื่องราวย้อนอดีต เพื่อเติมเต็มบันทึกประวัติศาสตร์การต่อสู้ของกรรมกรฮาร่า และบทบาทของนักศึกษากับขบวนกรรมกร นอกจากนี้มดเองก็มีส่วนประสานนำพาขบวน สมัชชาคนจนมาร่วมงานกับขบวนการกรรมกรในหลายการเคลื่อนไหว จึงเป็นภาพตัวแทน ของพลังสามประสานรูปแบบหนึ่งและเป็นที่รู้จักของผู้นำแรงงาน
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยมีการจัดงานรำลึกถึงผู้นำกรรมกรที่เสียชีวิตแล้วตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบันต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปีนี้ เมื่อวันที่ ๒๑ ตค.๕๕ มีแนวคิด ขยายวงถึงนักสู้เพื่อกรรมกรที่มาจากกลุ่มปัญญาชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะการต่อสู้ของ ขบวนการกรรมกรไม่อาจแยกจากกันกับขบวนการต่อสู้ทางการเมืองของสังคมไทย โดยเฉพาะขบวนปัญญาชน รวมทั้งการต่อสู้ของชาวนาในงานรำลึกจึงมีเรื่องราวของปัญญาชนรุ่นเก่าๆ มาจนถึงจิตร ภูมิศักดิ์ พี่ทองใบ ทองเปาด์ อ.ธีรนาถ กาญจนอักษร และ”มด ..วนิดา” ฯลฯ รวมทั้งนิยม ขันโท ผู้นำฮาร่า ที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็มาร่วมกล่าวรำลึกด้วย
ขบวนแรงงานมีความพยายามเรียนรู้และประสานการทำงานกับนักวิชาการ สถาบัน วิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน แม้จะยังไม่สามารถก่อรูปพลังสามประสาน ชัดเจนเช่นในอดีต แต่ก็เริ่มต้นมาพอสมควร โดยเฉพาะการยอมรับแนวคิดสามประสาน การทำงานกับชุมชน ที่ปกป้องสิ่งแวดล้อม การร่วมมือกับกลุ่มเกษตรพันธสัญญาและแรงงานนอกระบบในชนบท มีการประสานร่วมมือกับเยาวชนนักศึกษา รวมทั้งผู้ที่จบแล้วเข้ามาร่วมทำงานกับขบวนแรงงานมากขึ้น เช่น มีอาสาสมัครนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ไปร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์กร แรงงานหลายรุ่น และพัฒนาต่อมาเป็นทนายความแรงงานรุ่นใหม่ หรือตอนน้ำท่วมวิกฤติหนักปี ๒๕๕๔ มีทีมเยาวชนนักศึกษามาร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยตั้งค่ายช่วยเหลือแรงงานทั้งไทยและแรงงานข้ามชาติ
มดเข้าธรรมศาสตร์ รุ่นปี ๒๕๑๗และเข้าร่วมกลุ่มผู้หญิงธรรมศาสตร์ ซึ่งมีแนวคิดร่วมกันว่า ความเสมอภาคหญิงชายและทุกกลุ่มจะเกิดขึ้นไม่ได้แท้จริงและยั่งยืน ถ้าสังคมไทยไม่มีประชาธิปไตยทางการเมือง และต้องเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่เคารพสิทธิชุมชน สิทธิในการตัดสินใจและจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของตน และการมีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ที่คนจนต้องมีที่ดินทำกิน มีที่อยู่อาศัย และมีเสรีภาพในการต่อสู้รวมตัว...ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางก้าวเดินของมดเอง..ของเพื่อนๆสมาชิก
กลุ่มผู้หญิง และยังเป็นทิศทางที่ขบวนต่อสู้เพื่อความเสมอภาคก้าวเดินอยู่ถึงปัจจุบัน
บทบาทในสมัชชาคนจนที่กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และเสียสละของมด เป็นที่กล่าวขวัญและโดดเด่น เป็นที่ยอมรับของหลากหลายกลุ่ม หลายระดับ และมีผลให้มดต้องเดินทางทั่วประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนและให้กำลังใจการต่อสู้ของชุมชน ในการต่อสู้เพื่อปกป้องชุมชนของตนเองจากโครงการการพัฒนาของรัฐ จากการใช้อำนาจรัฐไม่เป็นธรรม ทั้งพี่น้องสลัม พี่น้องชนเผ่า การถูกฟ้องคดีของมด และความเข้มแข็ง การทำงานอย่างมีเครือข่าย ที่ไม่โดดเดี่ยว…ซึ่งช่วยให้หลายกลุ่ม หลายผู้นำการต่อสู้ มีกำลังใจก้าวเดินต่อสู้ต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ ด้วยความกล้าหาญ เสียสละ แม้จะถูกจับกุมคุมขัง หรือหลายคนรอบข้างเสียชีวิตไปก็ตาม
๖ ธค.๕๕ ครบรอบการจากไปของมด ๕ ปีแล้ว เวลาดูผ่านเร็วมากท่ามกลางปัญหาที่ รุมเร้าคนจนยังดำรงอยู่ แต่ขบวนการต่อสู้ของเยาวชนนักศึกษา กรรมกร ชาวนา ยังคงขับเคลื่อนต่อไป บนทิศทางพลังสามประสานที่แม้รูปแบบอาจต่างจากเดิม แต่เจตนารมณ์แและจิตวิญญาณแห่งการเชื่อมั่นในประชาชน และจิตใจต้องกล้าหาญ เสียสละ ยังคงได้รับการยึดมั่นต่อไป
รำลึกถึงมด น้องรัก ..มดได้พิสูจน์เส้นทางชีวิตของเธอแล้วว่า ..”อยู่อย่างยิ่งใหญ่ ตายอย่างมีเกียรติ”นั้นเป็นเช่นใด
สุนี ไชยรส ๑ธันวา ๒๕๕๕
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น