วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บทความโดย สุนี ไชยรส เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญ กับมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ

สุนี  ไชยรส

ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
ผู้ประสานงานร่วมขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย WeMove

ร่างรัฐธรรมนูญ กับมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ
ขบวนผู้หญิงในหลากชื่อ หลายองค์กร ขับเคลื่อนเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศในรัฐธรรมนูญ หลายฉบับมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีบทเรียนที่ชัดเจนว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ส่งผลต่อการรื้อ ปรับปรุง กฎหมายเก่า กฎ ระเบียบ กระทั่งนโยบายของรัฐ รวมทั้งการออกกฎหมายใหม่ที่เอื้อต่อสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนและความเสมอภาคระหว่างเพศยิ่งขึ้น โดยมีความเชื่อมโยงควบคู่และส่งผลต่อกันระหว่าง ความเสมอภาคระหว่างเพศ ประชาธิปไตย กับสิทธิมนุษยชน
หลังจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๑๗ ได้ปรากฎข้อความสำคัญที่ปูพื้นฐานเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศในรัฐธรรมนูญไทยคือ “หญิงและชาย มีสิทธิเท่าเทียมกัน” และมีบทเฉพาะกาลให้มีการแก้ไขกฎหมายที่ขัดต่อมาตรานี้ภายใน ๒ ปี ซึ่งส่งผลให้ผู้หญิง สามารถดำรงตำแหน่งที่ผู้หญิงเคยถูกปิดกั้น เช่น เป็นอัยการ และผู้พิพากษา รวมทั้งความเสมอภาคของหญิงมีสามีหลายประเด็น
การแก้ไขกฎหมายไม่ได้จบลงภายในสองปีตามที่กำหนด เมื่อมีการล้อมปราบในเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ฉีกรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๑๗ ทำให้ประเด็นนี้หยุดชะงักลงไปช่วงหนึ่ง ต่อมามีประชาธิปไตยสลับกับ เผด็จการ แต่ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดที่บัญญัติว่า “หญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกัน”อีก จนมาถึงหลังเหตุการณ์ พฤษภา ปี ๒๕๓๕ ที่มีกระแสการปฏิรูปการเมืองอย่างเข้มแข็งจนเกิดรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ที่ได้รับการกล่าว ขวัญ ว่าเป็นฉบับประชาชนในด้านสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค
รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ นำข้อความนี้กลับมาอีกในมาตรา ๓๐ และขยายความให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมกับ ห้ามการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่าง ๑๑ ประการ ี่มีคำว่า”เพศ สถานะของบุคคล” ..รวมอยู่ด้วย ดยมีวรรค ๔ เป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ : “มาตรการพิเศษเพื่อส่งเสริมให้บุคคลสามารถ ใช้สิทธิได้เสมอบุคคลอื่น ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ” และรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ได้เพิ่ม “ความพิการ”ในเหตุแห่ง ความแตกต่าง
ในสถานการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อของสังคมไทยในการก้าวผ่านไปสู่ประชาธิปไตย และต้องการรัฐธรรมนูญอัน เป็นกฎหมายสูงสุด เป็นหลักประกันในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน องค์กรผู้หญิง จำนวนมากได้รวมตัวกันเป็นขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove) ขับเคลื่อนร่วมกับองค์กรภาคประชา สังคมวิเคราะห์ และเกาะติดการร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับนายบวรศักดิ์ฯ และฉบับปัจจุบันของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ และรับฟังความคิดเห็นจัดทำข้อเสนอแนะในสิทมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ ซึ่งยืนยันว่า ต้องให้ดีกว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับ ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐
ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove) ได้จัดเวทีระดับชาติจากทั่วประเทศในวันที่ ๓๐ และ ๓๑ มกราคม ๕๙ ที่รัฐสภา หลังการแถลงร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ต่อมาจัดเวทีภาค เหนือและภาคอีสานในเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้มีข้อเสนอเบื้องต้นต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และสาธารณะ ในประเด็นหลักดังนี้
๑) ในบททั่วไป มาตรา ๔ :“ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน”นั้น เสนอให้ใช้ : “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง” ตามรธน.ฯ๔๐ และ ๕๐ ซึ่งประชาชนและสถาบันต่างๆในสังคมไทยได้มีกระบวนการเรียนรู้ความหมายของการเคารพศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ จนมีพัฒนาการที่หยั่งรากลึกเป็นจิตวิญญาณ เป็นวัฒนธรรม และได้ดูแลบุคคลทุกกลุ่ม ที่อยู่ในประเทศไทยโดยไม่จำกัดเฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทย
๒) การมีบทบัญญัติถึงความผูกพันของประเทศไทยต่อกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทย เป็นภาคี แต่ในร่างฉบับนี้ไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว
๓) ต้องมีหลักประกันในการคุ้มครองการใช้สิทธิและเสรีภาพ รวมทั้งในการตรากฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพ
ในมาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖ ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังมีความไม่ชัดเจน ควรนำมาตรา ๒๘ เดิมมาบัญญัติเพิ่มเติม
มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศิลธรรมอันดีของประชาชน
บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้โดยตรง หากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรอไว้แล้ว ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธิตามหมวดนี้”
๓.๒) ร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้นำเรื่องสิทธิเสรีภาพของบุคคล และ ชุมชน ไปบัญญัติไว้ในหมวด ๕ “หน้าที่ของรัฐ” แต่ประชาชนต้องการให้บัญญัติเป็นสิทธิเสรีภาพ เพื่อให้เกิดความคุ้มครองและมีผลผูกพันโดยตรง ต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมถึงองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ในการตรากฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง และเป็นหลักประกันให้ประชาชนสามารถ อ้างสิทธิต่างๆ นี้ให้เกิดการปฏิบัติตามสิทธิ
ดังนั้น จึงควรที่จะนำบทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ มาอยู่ใน หมวดสิทธิเสรีภาพ และปรับปรุงเนื้อหาให้ดีกว่าเดิม โดยอาจบัญญัติควบคู่เป็นหน้าที่ของรัฐ หรือแนวนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐด้วย
๓.๓) ในหมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา ๖๐ ที่บัญญัติว่า... “เป็นแนวทางให้รัฐดำเนินการ ตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฟ้องรัฐ” มีผลให้หมวดแนว นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐไม่มีนัยสำคัญใดๆที่ผูกพันรัฐ จึงขอเสนอให้ใช้ตามรัฐธรรมนูญเดิม :
มาตรา ๘๕...ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องชี้แจง ต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่า จะดำเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐาน แห่งรัฐ และต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค เสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้ง”
๔) ประเด็นห่วงใยในมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ และความเสมอภาคด้านอื่น ซึ่งเป็นหลักการที่ปรากฏ อยู่ในรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ และปี ๒๕๕๐ และได้ขาดหายไป เช่น ๔.๑)ความเสมอภาคและการไม่ถูกเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในมาตรา ๒๗ ซึ่งตัดทอนเหตุแห่งความแตกต่าง ๑๒ ประการในมาตรา ๓๐ เดิม ซึ่งเป็นมาตราหลักที่สำคัญเรื่องความเสมอภาคของคนหลากหลายกลุ่ม จึงควรที่จะ บัญญัติตามเดิม และควรเพิ่ม“การคุ้มครองสิทธิของบุคคลทุกเพศสภาพ” นอกจากนี้ มาตรการที่รัฐกำหนด ขึ้นเพื่อ ขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น จะมีความหมายกว้างไปถึง ทุกกลุ่มมากกว่าการกำหนดเฉพาะเจาะจง “...ให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้ด้อยโอกาส ...” จึงขอเสนอดังนี้:
“บุคคลย่อมเสมอกันตามกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน หญิง ชาย และบุคคลทุกเพศสภาพ มีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ภาษา เพศ เพศสภาพ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม”

๔.๘) หลักความเสมอภาคระหว่างเพศซึ่งเป็นการจัดสรรปันส่วนอำนาจเพื่อความเสมอภาค ต่อ เจ้าของอำนาจอธิปไตย ในฐานะที่ผู้หญิงมีจำนวนมากกว่าผู้ชายถึง ๒ ล้านคน ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) ได้เสนอให้มีสัดส่วนการมีส่วนร่วมของผู้หญิงอย่างเท่าเทียมกันในการตัดสินใจในทุกมิติทุกระดับมาอย่าง ต่อเนื่อง และให้บัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งในการส่งผู้สมัครบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง การกำหนด ผู้บริหารในองค์กรปกครองท้องถิ่น การสรรหากรรมการองค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรต่างๆ คณะกรรมการระดับต่างๆของรัฐ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามมาตรา ๘๗(เดิม)ในรัฐธรรมนูญ๒๕๕๐ ี่ให้มีส่วนร่วมตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นการตัดสินใจทางการเมือง การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ฯลฯ โดยบัญญัติว่า “การมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรานี้ต้องคำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน”

นอกจากนี้ การจัดสรรงบประมาณที่เป็นเครื่องมือสำคัญนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรและบริหารงานภาครัฐ อย่างเสมอภาคและเป็นธรรมในสังคม ต้องคำนึงถึงหลักความเสมอภาคระหว่างเพศ( Gender Budgeting )และความ เสมอภาคด้านอื่น อันเป็นหลักการสากลที่มีการดำเนินการในหลายประเทศ เพื่อสร้างความสมดุลและเป็นการป้องกัน ปัญหาความไม่เท่าเทียม
บทสรุป ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) มุ่งหวังให้เกิดตระหนักร่วมกันในสังคมไทย ถึงความสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคระหว่างเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกมิติทุกระดับ และการขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็น ธรรมในสังคม เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ และทิศทางการปฏิรูปประเทศเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชนต่อไป
นสพ.ไทยโพสต์ ๑๗ กุมภาพันธ์๒๕๕๙



วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Wisdom Forum :“ รัฐธรรมนูญการปฏิรูปประเทศ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ” ต...

Wisdom Forum :“ รัฐธรรมนูญการปฏิรูปประเทศ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ” ต...

Wisdom Forum :“ รัฐธรรมนูญการปฏิรูปประเทศ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ” ต...

รายการ Wisdom Forum :“ รัฐธรรมนูญการปฏิรูปประเทศ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ” ตอนที่ 1

ชื่อ/ตำแหน่งวิทยากร : 
1. มีชัย ฤชุพันธุ์ 
ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
2. ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์
3. รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ
กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
4. สุนี ไชยรส
ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธร­รม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
5. คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
นายกสมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย
6. ไรรัตน์ รังสิตพล

ออกอากาศวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 20.00 - 21.00 น.

รับชมผ่านดาวเทียมระบบ C-Band ความถี่ 3840 V, Symbol Rate 30000 กล่องรับสัญญาณ PSI ช่อง 209, GMM Z ช่อง 252, BIG4 ช่อง 182 , Dynasat ช่อง 124, HiSattel ช่อง 186 , DTV ช่อง 183 และ LeoTech ช่อง 182 และ ชมออนไลน์ที่ www.rsutv.tv

ต่อด้วยคลิปตอนที่ ๒
https://www.youtube.com/watch?v=cmBAwh1TUws






รายการ Wisdom Forum :“ รัฐธรรมนูญการปฏิรูปประเทศ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ” ตอนที่ 1

ชื่อ/ตำแหน่งวิทยากร : 
1. มีชัย ฤชุพันธุ์ 
ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
2. ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์
3. รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ
กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
4. สุนี ไชยรส
ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธร­รม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
5. คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
นายกสมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย
6. ไรรัตน์ รังสิตพล

ออกอากาศวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 20.00 - 21.00 น.

รับชมผ่านดาวเทียมระบบ C-Band ความถี่ 3840 V, Symbol Rate 30000 กล่องรับสัญญาณ PSI ช่อง 209, GMM Z ช่อง 252, BIG4 ช่อง 182 , Dynasat ช่อง 124, HiSattel ช่อง 186 , DTV ช่อง 183 และ LeoTech ช่อง 182 และ ชมออนไลน์ที่ www.rsutv.tv

https://www.youtube.com/watch?v=cmBAwh1TUws
https://www.youtube.com/watch?v=cmBAwh1TUws




Wisdom Forum :“ รัฐธรรมนูญการปฏิรูปประเทศ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ” ต...

รายการ Wisdom Forum :“ รัฐธรรมนูญการปฏิรูปประเทศ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ” ตอนที่ 1

ชื่อ/ตำแหน่งวิทยากร : 
1. มีชัย ฤชุพันธุ์ 
ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
2. ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์
3. รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ
กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
4. สุนี ไชยรส
ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธร­รม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
5. คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
นายกสมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย
6. ไรรัตน์ รังสิตพล

ออกอากาศวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 20.00 - 21.00 น.

รับชมผ่านดาวเทียมระบบ C-Band ความถี่ 3840 V, Symbol Rate 30000 กล่องรับสัญญาณ PSI ช่อง 209, GMM Z ช่อง 252, BIG4 ช่อง 182 , Dynasat ช่อง 124, HiSattel ช่อง 186 , DTV ช่อง 183 และ LeoTech ช่อง 182 และ ชมออนไลน์ที่ www.rsutv.tv



รายการ Wisdom Forum :“ รัฐธรรมนูญการปฏิรูปประเทศ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ” ตอนที่ 1

ชื่อ/ตำแหน่งวิทยากร : 
1. มีชัย ฤชุพันธุ์ 
ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
2. ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์
3. รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ
กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
4. สุนี ไชยรส
ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธร­รม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
5. คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
นายกสมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย
6. ไรรัตน์ รังสิตพล

ออกอากาศวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 20.00 - 21.00 น.

รับชมผ่านดาวเทียมระบบ C-Band ความถี่ 3840 V, Symbol Rate 30000 กล่องรับสัญญาณ PSI ช่อง 209, GMM Z ช่อง 252, BIG4 ช่อง 182 , Dynasat ช่อง 124, HiSattel ช่อง 186 , DTV ช่อง 183 และ LeoTech ช่อง 182 และ ชมออนไลน์ที่ www.rsutv.tv






Wisdom Forum :“ รัฐธรรมนูญการปฏิรูปประเทศ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ” ต...

รายการ Wisdom Forum :“ รัฐธรรมนูญการปฏิรูปประเทศ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ” ตอนที่ 1

ชื่อ/ตำแหน่งวิทยากร : 
1. มีชัย ฤชุพันธุ์ 
ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
2. ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์
3. รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ
กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
4. สุนี ไชยรส
ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธร­รม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
5. คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
นายกสมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย
6. ไรรัตน์ รังสิตพล

ออกอากาศวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 20.00 - 21.00 น.

รับชมผ่านดาวเทียมระบบ C-Band ความถี่ 3840 V, Symbol Rate 30000 กล่องรับสัญญาณ PSI ช่อง 209, GMM Z ช่อง 252, BIG4 ช่อง 182 , Dynasat ช่อง 124, HiSattel ช่อง 186 , DTV ช่อง 183 และ LeoTech ช่อง 182 และ ชมออนไลน์ที่ www.rsutv.tv



รายการ Wisdom Forum :“ รัฐธรรมนูญการปฏิรูปประเทศ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ” ตอนที่ 1

ชื่อ/ตำแหน่งวิทยากร : 
1. มีชัย ฤชุพันธุ์ 
ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
2. ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์
3. รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ
กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
4. สุนี ไชยรส
ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธร­รม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
5. คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
นายกสมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย
6. ไรรัตน์ รังสิตพล

ออกอากาศวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 20.00 - 21.00 น.

รับชมผ่านดาวเทียมระบบ C-Band ความถี่ 3840 V, Symbol Rate 30000 กล่องรับสัญญาณ PSI ช่อง 209, GMM Z ช่อง 252, BIG4 ช่อง 182 , Dynasat ช่อง 124, HiSattel ช่อง 186 , DTV ช่อง 183 และ LeoTech ช่อง 182 และ ชมออนไลน์ที่ www.rsutv.tv






วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ข้อเสนอเบื้องต้นของขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) ต่อร่างรัฐธรรมนูญ

ข้อเสนอเบื้องต้นของขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) :

                  “ สิทธิเสรีภาพของบุคคล ชุมชน  ความเสมอภาคในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์       การไม่ถูกเลือกปฏิบัติ            และการมีส่วนร่วมตัดสินใจของประชาชนทุกเพศในทุกมิติทุกระดับ                                          ต้องเป็นหลักพื้นฐานสำคัญที่สุดของรัฐธรรมนูญ”
                                                            ..................................................
                        ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove) สมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย (ตพส.ไทย) โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จัดเวที“เสียงประชาชนต่อการร่างรัฐธรรมนูญ” ซึ่งมาจาก ทุกภาคทั่วประเทศในวันเสาร์ที่ ๓๐ และวันอาทิตย์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๙ ที่รัฐสภา สนับสนุนโดย UN Women และ องค์กรอื่นๆ      ด้วยเจตนารมณ์ที่มุ่งหวังให้สังคมไทยมีการเปลี่ยนผ่านช่วงแห่งความขัดแย้งและสถานการณ์การเมือง ที่ชะงักงัน  เพื่อก้าวต่อไปสู่ระบอบประชาธิปไตยและการปฏิรูปประเทศที่มีประชาชนทุกเพศทุกวัยเป็นศูนย์กลาง  โดยมีรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดเป็นที่ยอมรับของประชาชน ประชาชนมีความมุ่งมั่นที่ชัดเจนว่า  ต้องการ รัฐธรรมนูญที่พัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม ควรต้องให้ดีกว่ารัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐             หลังจากการรับฟังและวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว  ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove)   สมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย (ตพส.ไทย) โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มีข้อเสนอเบื้องต้นต่อร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้
            ๑) ในบททั่วไปซึ่งเป็นเจตนารมณ์ชี้นำต่อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ มาตรา ๔ :“ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน”นั้น  ได้เปลี่ยนแปลงหลักการสำคัญอย่างยิ่งจากรัฐธรรมนูญปี ​๒๕๔๐ และ๒๕๕๐ : ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง”   ซึ่งประชาชนและ สถาบันต่างๆในสังคมไทยได้มีกระบวนการเรียนรู้ความหมายของการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  จนมีพัฒนาการ ที่หยั่งรากลึกเป็นจิตวิญญาณ  เป็นวัฒนธรรม  และได้ดูแลบุคคลทุกกลุ่ม ที่อยู่ในประเทศไทยโดยไม่จำกัดเฉพาะผู้ที่มี สัญชาติไทย  ดังนั้นจึงมีความหมายและความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องนำ มาตรา ๔ เดิมคืนมา รวมทั้งเพิ่มมาตรา ๕ (เดิม) ประชาชนชาวไทย ไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน”
            
๒) การบัญญัติถึงความผูกพันของประเทศไทยต่อกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี ซึ่งรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐  และ ๒๕๕๐ ได้บัญญัติไว้ เช่น ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ “...ในการตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่เป็นไป ตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี...”  รวมถึงรัฐธรรมนูญ ชั่วคราวแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ​๒๕๕๗ ได้มีการบัญญัติไว้ในมาตรา ๔  แต่ในร่างฉบับนี้ไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว        ๓) ต้องมีหลักประกันในการคุ้มครองการใช้สิทธิและเสรีภาพ รวมทั้งในการตรากฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพ  
                        ๓.๑) ในมาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖  ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังมีความไม่ชัดเจนในหลักทั่วไปนี้    ขอเสนอให้บัญญัติข้อความที่ชัดเจน โดยพิจารณาจากมาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ และมาตรา ๒๙ ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ อาทิ
            มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศิลธรรมอันดีของประชาชน
            บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยก้เป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
            บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้โดยตรง หากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรอไว้แล้ว  ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
            บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธิตามหมวดนี้”
                        ๓.๒)  ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้นำบทบัญญัติส่วนใหญ่เรื่องสิทธิเสรีภาพของบุคคล และ ชุมชน  ไปบัญญัติไว้ในหมวด ๕ “หน้าที่ของรัฐ”  ซึ่งเป็นฐานคิดที่ขัดแย้งกับความมุ่งหวังของประชาชนที่ต้องการให้บัญญัติ เป็นสิทธิเสรีภาพ อันจะก่อให้เกิดความคุ้มครองและมีผลผูกพันโดยตรงต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล  รวมถึงองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ในการตรากฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง  และเป็นหลักประกันให้ประชาชนสามารถอ้างสิทธิต่างๆนี้ในการผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามสิทธิ  ทั้งนี้ การตระหนัก และปกป้องสิทธิของประชาชนเป็นหลักประกันพื้นฐานของการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในทุกมิติและทุกระดับ รวมถึงการมีจิตสำนึกที่จะเคารพและไม่ละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นด้วย
                        ดังนั้น  จึงควรที่จะนำบทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ​๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐  มาอยู่ใน หมวดสิทธิเสรีภาพ และปรับปรุงเนื้อหาให้ดีกว่าเดิม  โดยอาจบัญญัติควบคู่เป็นหน้าที่ของรัฐ หรือแนวนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐด้วย
                        ๓.๓) ในหมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ  มาตรา ๖๐ ที่บัญญัติว่า... “เป็นแนวทางให้รัฐดำเนินการ ตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน  ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฟ้องรัฐ”  มีผลให้หมวดแนว นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐไม่มีนัยสำคัญใดๆที่ผูกพันรัฐ  จึงขอเสนอให้ใช้ตามรัฐธรรมนูญเดิม :
                        “มาตรา ๘๕...ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องชี้แจง ต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่า จะดำเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐาน แห่งรัฐ และต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค เสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้ง”
            ๔) ประเด็นห่วงใยในมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ และความเสมอภาคด้านอื่น ซึ่งเป็นหลักการที่ปรากฏ อยู่ในรัฐธรรมนูญปี ​๒๕๔๐ และปี ๒๕๕๐ และได้ขาดหายไป เช่น                         ๔.๑)ความเสมอภาคและการไม่ถูกเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในมาตรา ๒๗  ซึ่งตัดทอนเหตุแห่งความแตกต่าง ๑๒ ประการในมาตรา ๓๐ เดิม ซึ่งเป็นมาตราหลักที่สำคัญเรื่องความเสมอภาคของคนหลากหลายกลุ่ม   จึงควรที่จะ บัญญัติตามเดิม และควรเพิ่ม“การคุ้มครองสิทธิของบุคคลทุกเพศสภาพ” นอกจากนี้ มาตรการที่รัฐกำหนด ขึ้นเพื่อ ขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น จะมีความหมายกว้างไปถึง ทุกกลุ่มมากกว่าการกำหนดเฉพาะเจาะจง “...ให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้ด้อยโอกาส  ...”  จึงขอเสนอดังนี้:
                        บุคคลย่อมเสมอกันตามกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน                                                         หญิง ชาย และบุคคลทุกเพศสภาพ  มีสิทธิเท่าเทียมกัน                                                                                     การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ภาษา เพศ  เพศสภาพ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล  ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม  ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้                                มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม”                                                                                                                       
                        ๔.๒) สิทธิในกระบวนการยุติธรรม  ซึ่งประชาชนต้องการสิทธิพื้นฐานนี้อย่างยิ่ง   เพราะประกัน ความยุติธรรมต่อคนทุกกลุ่มทั้งที่มีสัญชาติไทย และไม่มีสัญชาติไทย    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐธรรมนูญ ​๒๕๕๐ มาตรา ๔๐(๖)  ได้บัญญัติชัดเจนว่า “ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับ ความรุนแรงทางเพศ”
                        ข้อเสนอเพิ่มเติมคือ...  “ในคดีที่เกี่ยวกับการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ความรุนแรงเพราะเหตุแห่งเพศ ตลอดจนป้องกันแก้ไขเยียวยาปัญหาความรุนแรงในครอบครัว  โดยกระบวนการพิจารณาคดีต้องให้ผู้กระทำผิด หรือจำเลยมีหน้าที่พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง...”
                        ๔.๓) สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในการ ปกป้องคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชนและมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อผู้หญิงในชุมชน   ขอให้นำมาตรา ๕๗ มาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ ในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐และปี ๒๕๕๐ ที่ต้องมีองค์กรอิสระสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 
                        ๔.๔) หลักการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและชุมชนซึ่งมีทิศทางการปฏิรูปในภาพรวมชัดเจนว่า  “ต้องลดอำนาจรัฐส่วนกลาง เพิ่มอำนาจประชาชนและท้องถิ่น”  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นอิสระ  รัฐกำกับดูแล เท่าที่จำเป็น และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ  และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งรัฐต้องสนับสนุนจังหวัดที่ประชาชนมีเจตนารมณ์ต้องการ เป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัดตามความพร้อมและตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นนั้น  ขอให้ยึดหลักที่ผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง  โดยคณะผู้บริหารท้องถิ่นต้องมีสัดส่วนหญิงชายที่เท่าเทียมกัน
                        ๔.๕) สิทธิในสวัสดิการสังคมที่เคยบัญญัติในหมวดสิทธิเสรีภาพ  เช่น  การศึกษา สาธารณสุข  เด็ก เยาวชน  สตรี ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ ฯลฯ  แต่ร่างใหม่นี้บัญญัติในหมวด “หน้าที่ของรัฐ” และไม่ครบถ้วน ขอให้นำไป บัญญัติในหมวดสิทธิเสรีภาพเช่นเดิม  โดยบางสิทธิจำเป็นต้องดูแลทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย  และต้องมีทิศทางการบริหารจัดการการคลังเพื่อสังคม
                        ๔.๖) สิทธิแรงงาน  ไม่มีบทบัญญัติใดๆในหมวดสิทธิและเสรีภาพ  รวมทั้งการไม่บัญญัติถึงการผูกพัน และปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี   เพียงแต่มีในแนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา ๗๐ : รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการทำงานโดยเหมาะสมกับศักยภาพและวัย และพึงคุ้มครองผู้ใช้ แรงงานให้ได้รับความปลอดภัยในการทำงาน โดยได้รับสวัสดิการ รายได้ และสิทธิประโยชน์อื่นที่เหมาะสมแก่การ ดำรงชีพ และพึงจัดให้มีหรือส่งเสริมการออมเพื่อการดำรงชีพเมื่อพ้นวัยทำงาน”                                                              ขอให้เพิ่มเติมทั้งในหมวดสิทธิและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม อาทิ “มาตรา ๔๔(เดิม)บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงาน รวมทั้งหลักประกัน ในการ ดำรงชีพทั้งในระหว่างการทำงาน และเมื่อพ้นภาวะการทำงาน..”
                        และ มาตรา ๘๔(๗)(เดิม) “ส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี จัดระบบ แรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ผู้ทำงานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน  รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทำงาน ที่มีคุณค่าอย่าง เดียวกันได้รับค่าตอบแทนสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ”
                        ๔.๗) สถาบันการเมืองและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ  มีข้อสังเกตว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มุ่ง ปราบปรามและป้องกันการทุจริตโดยเน้นที่นักการเมืองเป็นสำคัญ  ขณะที่การทุจริตในสังคมไทยมีความเชื่อมโยง และสลับซับซ้อน ทั้งนักการเมือง ข้าราชการ และกลุ่มทุนขนาดใหญ่   ที่สำคัญคือการปราบปรามและป้องกันการ ทุจริตที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือการส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มมีความเข้มแข็งและมีบทบาทในการตรวจสอบ การทุจริตทุกมิติทุกระดับ         
                        กรณีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ซึ่วเป็นองค์กรสำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพ  ขอเสนอให้ยืนยันองค์ประกอบของกรรมการที่ต้องคำนึงถึงผู้แทนจากองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน และให้สำนักงานเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น
                        ประเด็นที่สำคัญคือการขาดหายไปในอำนาจหน้าที่  เช่น ในการตรวจสอบที่ไม่เป็นไปตามพันธกรณี ระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี  การเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และการฟ้อง คดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย การส่งเสริมความร่วมมือและประสานงานกับองค์กรของรัฐและเอกชน  และในกรณี ที่ไม่มีการดำเนินงานตามที่เสนอ  ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป
                        ๔.๘) หลักความเสมอภาคระหว่างเพศซึ่งเป็นการจัดสรรปันส่วนอำนาจเพื่อความเสมอภาค ต่อ เจ้าของอำนาจอธิปไตย ในฐานะที่ผู้หญิงมีจำนวนมากกว่าผู้ชายถึง ๒ ล้านคน   ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) ได้เสนอให้มีสัดส่วนการมีส่วนร่วมของผู้หญิงอย่างเท่าเทียมกันในการตัดสินใจในทุกมิติทุกระดับมาอย่าง ต่อเนื่อง  และให้บัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ  ทั้งในการส่งผู้สมัครบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง  การกำหนด ผู้บริหารในองค์กรปกครองท้องถิ่น  การสรรหากรรมการองค์กรอิสระ  องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรต่างๆ คณะกรรมการระดับต่างๆของรัฐ  รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามมาตรา ๘๗(เดิม)ในรัฐธรรมนูญ​๒๕๕๐  ที่ให้มีส่วนร่วมตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
การตัดสินใจทางการเมือง การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ฯลฯ  โดยบัญญัติว่า “การมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรานี้ต้องคำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน”
            นอกจากนี้ การจัดสรรงบประมาณที่เป็นเครื่องมือสำคัญนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรและบริหารงานภาครัฐ อย่างเสมอภาคและเป็นธรรมในสังคม ต้องคำนึงถึงหลักความเสมอภาคระหว่างเพศ( Gender Budgeting )และความ เสมอภาคด้านอื่น อันเป็นหลักการสากลที่มีการดำเนินการในหลายประเทศ  เพื่อสร้างความสมดุลและเป็นการป้องกัน ปัญหาความไม่เท่าเทียม
            บทสรุป  ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove)   ขอเสนอหลักการสำคัญต่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ใน เบื้องต้น  และกำลังมีการจัดเวทีระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง  ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้   รวมทั้งเวที ระดับชาติ ครั้งที่ ๒ เพื่อให้เรียนรู้และวิเคราะห์ร่วมกันถึงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  และเกิดความ ตระหนักร่วมกันในสังคมไทย  ถึงความสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคระหว่าง เพศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกมิติทุกระดับ และการขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็น ธรรมในสังคม   เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ  และทิศทางการปฏิรูปประเทศเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชนต่อไป